เศรษฐกิจภาคใต้เดือนเมษายน 2548 ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืช
ผลและประมงลดลงจากปัญหาภัยแล้งและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวลดลงจากแผ่นดินไหวและเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตามวัตถุดิบและอุปสงค์จากต่างประเทศ ทางด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว จากการที่รายได้ของครัวเรือนจากภาคเกษตรและบริการที่ลดลง การสูงขึ้นของราคาสินค้า และแนวโน้มการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ การลงทุนและการส่งออกหดตัว สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ภาคเกษตร
รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากผลผลิตพืชผลหลักลดลงผลกระทบจากภัยแล้ง โดยดัชนีผลผลิตพืชผลที่สำคัญลดลงร้อยละ 3.0 ขณะเดียวกันดัชนีราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 5.0 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งลดลง ร้อยละ 3.0 และ 21.5 เป็นสำคัญ
ทางด้านการทำประมงทะเลซบเซาต่อเนื่อง โดยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และปัญหาการทำประมงในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้มงวดมาก ผู้ประกอบการประมงทะเลเริ่มทยอยหยุดทำประมง ทำให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 50.0 และ 47.4 ตามลำดับ ขณะที่การเพาะเลี้ยงกุ้งในเดือนนี้เป็นช่วงนอกฤดูการจับกุ้งประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนทำให้กุ้งเป็นโรค ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงจึงมีปริมาณน้อย เป็นปัจจัยบวกต่อราคา นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่กุ้งในประเทศบราซิลมีปัญหาการระบาดของโรคเช่นเดียวกัน โดยราคากุ้งกุลาดำขนาด 31-40 ตัวต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และขนาด 41-50 ตัวต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามวัตถุดิบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โดยอุตสาหกรรมยางพารา มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 และผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และ26.0 ตามลำดับ สำหรับอาหารบรรจุกระป๋องดีขึ้นโดยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 หลังจากลดลงติดต่อกันมา 3 เดือน ส่วนอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบและการกีดกันทางการค้าทำให้การส่งออกลดลงร้อยละ 54.5
ภาคบริการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ เดือนเมษายนนี้มีจำนวน 134,555 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 เนื่องจากนักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม และเหตุการณ์ระเบิดเวลาในจังหวัดสงขลาเมื่อต้นเดือนเมษายน ทำให้อัตราการเข้าพักลดลง โดยจังหวัดภูเก็ต มีอัตราการเข้าพักเท่ากับร้อยละ 30-50 และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เท่ากับร้อยละ 30-60 ขณะที่ ในเดือนเดียวกันปีก่อนมีอัตราการเข้าพักร้อยละ 80-90
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยด้านรายได้เกษตรกรและการบริการที่ลดลง นอกจากนี้แนวโน้มการสูงขึ้นของราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ย มีผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย โดยการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 20.0 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มและรถยนต์ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ 30.4 ตามลำดับ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุน ภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในจังหวัดสงขลา เมื่อต้นเดือนนี้ กอปรกับราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบมากขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการลงทุน โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.1 และพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างในเขตเทศบาล/เทศบาลนครลดลงร้อยละ 52.3 อย่างไรก็ดีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่และการจดทะเบียนเพิ่มทุนยังคงเพิ่มขึ้น
การจ้างงาน
เดือนเมษายนนี้ความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 69.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา (สะบ้าย้อย นาทวี เทพา จะนะ และสะเดา) ที่ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนขาดแคลนแรงงาน ขณะที่ผู้สมัครงาน และการบรรจุงานลดลงร้อยละ 20.2
และ 30.4 ทั้งนี้ แรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 4.2
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.7 ตามราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ 4.6 ตามลำดับ โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในสินค้าเกือบทุกหมวดย่อย มีเพียงหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง และหมวดเครื่องประกอบอาหารลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่ มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นตามราคาหมวดย่อยยานพาหนะ ขนส่งและสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าลดลงทั้งการส่งออกและการนำเข้า โดยเดือนเมษายนนี้มีมูลค่าการส่งออก 545.0 ล้านดอลลาร์สรอ. และการนำเข้า 220.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5 และ 7.4 ตามลำดับ ทำให้ให้ดุลการค้าเกินดุลลดลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเฉพาะการค้าผ่านด่านชายแดนไทย -- มาเลเซีย มูลค่าการส่งออกในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
การคลัง
ด้านรายได้ ในเดือนนี้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.5 เนื่องจากในเดือนก่อนเป็นเดือนสิ้นงวดจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี 2547 และหากพิจารณาตามประเภท พบว่า การจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีศุลกากรลดลงตามภาวะการค้าต่างประเทศ
ภาคการเงิน
เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายนนี้ มีจำนวนประมาณ 323,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 อย่างไรก็ตามจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำทำให้ผู้มีเงินออมส่วนหนึ่งสนใจลงทุนในแหล่งลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ส่วนสินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 214,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 66.3 จากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 64.4
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนเมษายน 2548
เม.ย.48/47
เครื่องชี้ เม.ย.47 มี.ค.48 เม.ย.48 (%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 49.13 46.19 47.65 -3.0
ปาล์มทั้งทะลาย 3.21 2.56 2.52 -21.5
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 45,019 28,629 22,514 -50.0
มูลค่า (ล้านบาท) 1,391.4 1,006.0 731.5 -47.4
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 220.00 188.0 231.0 5.0
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 71,258.60 83,264.7 81,986.0 15.1
ยางแท่ง 51,683.20 92,731.6 77,550.0 50.0
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 197,650 164,737 134,555 -31.9
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,902 3,021 2,501 31.5
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 3,604 4,426 3,796 5.3
รถจักรยานยนต์ 31,668 32,011 25,340 -20.0
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 25,107.7 24,968.7 21,517.4 -14.3
ยาง 7,841.7 9,941.1 7,595.6 -3.1
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 581.6 894.1 648.3 11.5
ถุงมือยาง 1,060.4 1,333.6 1,138.0 7.3
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,451.8 1,701.0 1,324.9 -8.7
อาหารกระป๋อง 959.7 990.1 954.2 -0.6
ดีบุก 246.2 584.8 694.2 181.9
แร่อื่น ๆ 291.1 213.6 209.0 -28.2
ก๊าซธรรมชาติ 129.8 68.8 73.3 -43.5
น้ำมันดิบ 2,932.2 0.0 0.0
มูลค่าการนำเข้า 9,385.6 12,170.7 8,711.8 -7.2
เครื่องจักรอุปกรณ์ 2,651.9 5,780.2 3,629.2 36.9
น้ำมันเชื้อเพลิง 0.0 0.0 0.0 0.0
อุปกรณ์ก่อสร้าง 736.0 263.0 224.5 -69.5
สัตว์น้ำแช่แข็ง 448.9 829.3 596.5 32.9
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2545) 104.4 108.2 109.3 4.7
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 6 1 3 -50.0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,054.1 155.0 568.2 -46.1
การจ้างงาน (คน) 1,200 46 113 -90.6 เม.ย.48/47
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 349 480 380 8.9
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 804.9 1,138.8 898.8 11.7
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล (ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 226,097.0 123,001.0 107,900.0 -52.3
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 4,244 9,406 7,179 69.2
ผู้สมัครงาน (คน) 6,453 9,121 5,152 -20.2
การบรรจุงาน (คน) 2,764 3,185 2,218 -19.8
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,395.5 9109.3 n.a.
การจัดเก็บภาษีอากร 1,628.7 2,227.7 1,816.0 11.5
สรรพากร 1,328.5 1,778.0 1,438.6 8.3
สรรพสามิต 194.7 334.7 279.8 43.7
ศุลกากร 105.6 115.1 97.5 -7.7
10. การเงิน
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 354,366 414,707 335,345 -5.4
มูลค่า (ล้านบาท) 40,582.2 49,959.8 41,353.6 1.9
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 0.9 0.9 1.0
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 431 458 n.a.
เงินฝาก (ล้านบาท) 294,430.0 323,803.0 323,000.0E 9.7E
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 189,643.0 214,352.0 214,000.0E 12.8E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 52,262.5 55,063.5 55,000.0E 5.2E
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 25,505.3 31,166.9 31,000.0E 21.5E
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,593.5 3,404.5 1,270.5 -20.3
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 44,274.5 48,527.1 48,723.6 10.0
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 2,076.9 2,253.5 1,946.9 -6.3
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
ผลและประมงลดลงจากปัญหาภัยแล้งและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวลดลงจากแผ่นดินไหวและเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตามวัตถุดิบและอุปสงค์จากต่างประเทศ ทางด้านอุปสงค์ การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว จากการที่รายได้ของครัวเรือนจากภาคเกษตรและบริการที่ลดลง การสูงขึ้นของราคาสินค้า และแนวโน้มการสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ การลงทุนและการส่งออกหดตัว สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ภาคเกษตร
รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากผลผลิตพืชผลหลักลดลงผลกระทบจากภัยแล้ง โดยดัชนีผลผลิตพืชผลที่สำคัญลดลงร้อยละ 3.0 ขณะเดียวกันดัชนีราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 5.0 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งลดลง ร้อยละ 3.0 และ 21.5 เป็นสำคัญ
ทางด้านการทำประมงทะเลซบเซาต่อเนื่อง โดยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน และปัญหาการทำประมงในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้มงวดมาก ผู้ประกอบการประมงทะเลเริ่มทยอยหยุดทำประมง ทำให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 50.0 และ 47.4 ตามลำดับ ขณะที่การเพาะเลี้ยงกุ้งในเดือนนี้เป็นช่วงนอกฤดูการจับกุ้งประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนทำให้กุ้งเป็นโรค ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงจึงมีปริมาณน้อย เป็นปัจจัยบวกต่อราคา นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากการที่กุ้งในประเทศบราซิลมีปัญหาการระบาดของโรคเช่นเดียวกัน โดยราคากุ้งกุลาดำขนาด 31-40 ตัวต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และขนาด 41-50 ตัวต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0
ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามวัตถุดิบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โดยอุตสาหกรรมยางพารา มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 และผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 และ26.0 ตามลำดับ สำหรับอาหารบรรจุกระป๋องดีขึ้นโดยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.5 หลังจากลดลงติดต่อกันมา 3 เดือน ส่วนอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบและการกีดกันทางการค้าทำให้การส่งออกลดลงร้อยละ 54.5
ภาคบริการท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ เดือนเมษายนนี้มีจำนวน 134,555 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 เนื่องจากนักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหวรอบสองเมื่อปลายเดือนมีนาคม และเหตุการณ์ระเบิดเวลาในจังหวัดสงขลาเมื่อต้นเดือนเมษายน ทำให้อัตราการเข้าพักลดลง โดยจังหวัดภูเก็ต มีอัตราการเข้าพักเท่ากับร้อยละ 30-50 และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เท่ากับร้อยละ 30-60 ขณะที่ ในเดือนเดียวกันปีก่อนมีอัตราการเข้าพักร้อยละ 80-90
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยด้านรายได้เกษตรกรและการบริการที่ลดลง นอกจากนี้แนวโน้มการสูงขึ้นของราคาสินค้าและอัตราดอกเบี้ย มีผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย โดยการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนมากถึงร้อยละ 20.0 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มและรถยนต์ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ 30.4 ตามลำดับ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุน ภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในจังหวัดสงขลา เมื่อต้นเดือนนี้ กอปรกับราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบมากขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการลงทุน โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ เงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.1 และพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างในเขตเทศบาล/เทศบาลนครลดลงร้อยละ 52.3 อย่างไรก็ดีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่และการจดทะเบียนเพิ่มทุนยังคงเพิ่มขึ้น
การจ้างงาน
เดือนเมษายนนี้ความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 69.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการสร้างงาน จ้างงานเร่งด่วนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 5 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา (สะบ้าย้อย นาทวี เทพา จะนะ และสะเดา) ที่ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนขาดแคลนแรงงาน ขณะที่ผู้สมัครงาน และการบรรจุงานลดลงร้อยละ 20.2
และ 30.4 ทั้งนี้ แรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคมเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 4.2
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.7 ตามราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ 4.6 ตามลำดับ โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในสินค้าเกือบทุกหมวดย่อย มีเพียงหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง และหมวดเครื่องประกอบอาหารลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่ มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นตามราคาหมวดย่อยยานพาหนะ ขนส่งและสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าลดลงทั้งการส่งออกและการนำเข้า โดยเดือนเมษายนนี้มีมูลค่าการส่งออก 545.0 ล้านดอลลาร์สรอ. และการนำเข้า 220.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.5 และ 7.4 ตามลำดับ ทำให้ให้ดุลการค้าเกินดุลลดลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเฉพาะการค้าผ่านด่านชายแดนไทย -- มาเลเซีย มูลค่าการส่งออกในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0
การคลัง
ด้านรายได้ ในเดือนนี้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 18.5 เนื่องจากในเดือนก่อนเป็นเดือนสิ้นงวดจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี 2547 และหากพิจารณาตามประเภท พบว่า การจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาษีศุลกากรลดลงตามภาวะการค้าต่างประเทศ
ภาคการเงิน
เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายนนี้ มีจำนวนประมาณ 323,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 อย่างไรก็ตามจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำทำให้ผู้มีเงินออมส่วนหนึ่งสนใจลงทุนในแหล่งลงทุนอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ส่วนสินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 214,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 66.3 จากเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 64.4
ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้
เดือนเมษายน 2548
เม.ย.48/47
เครื่องชี้ เม.ย.47 มี.ค.48 เม.ย.48 (%)
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 49.13 46.19 47.65 -3.0
ปาล์มทั้งทะลาย 3.21 2.56 2.52 -21.5
ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 45,019 28,629 22,514 -50.0
มูลค่า (ล้านบาท) 1,391.4 1,006.0 731.5 -47.4
กุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กก.(บาท/กก.) 220.00 188.0 231.0 5.0
2. การอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 71,258.60 83,264.7 81,986.0 15.1
ยางแท่ง 51,683.20 92,731.6 77,550.0 50.0
3. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 197,650 164,737 134,555 -31.9
4. การค้า
การจดทะเบียนรถใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,902 3,021 2,501 31.5
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 3,604 4,426 3,796 5.3
รถจักรยานยนต์ 31,668 32,011 25,340 -20.0
5. การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 25,107.7 24,968.7 21,517.4 -14.3
ยาง 7,841.7 9,941.1 7,595.6 -3.1
ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ 581.6 894.1 648.3 11.5
ถุงมือยาง 1,060.4 1,333.6 1,138.0 7.3
สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,451.8 1,701.0 1,324.9 -8.7
อาหารกระป๋อง 959.7 990.1 954.2 -0.6
ดีบุก 246.2 584.8 694.2 181.9
แร่อื่น ๆ 291.1 213.6 209.0 -28.2
ก๊าซธรรมชาติ 129.8 68.8 73.3 -43.5
น้ำมันดิบ 2,932.2 0.0 0.0
มูลค่าการนำเข้า 9,385.6 12,170.7 8,711.8 -7.2
เครื่องจักรอุปกรณ์ 2,651.9 5,780.2 3,629.2 36.9
น้ำมันเชื้อเพลิง 0.0 0.0 0.0 0.0
อุปกรณ์ก่อสร้าง 736.0 263.0 224.5 -69.5
สัตว์น้ำแช่แข็ง 448.9 829.3 596.5 32.9
6. ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ (ปีฐาน 2545) 104.4 108.2 109.3 4.7
7. การลงทุน
กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 6 1 3 -50.0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,054.1 155.0 568.2 -46.1
การจ้างงาน (คน) 1,200 46 113 -90.6 เม.ย.48/47
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 349 480 380 8.9
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 804.9 1,138.8 898.8 11.7
พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล (ตารางเมตร)
พื้นที่รวม 226,097.0 123,001.0 107,900.0 -52.3
8. ค่าจ้างและการจัดหางาน
การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 4,244 9,406 7,179 69.2
ผู้สมัครงาน (คน) 6,453 9,121 5,152 -20.2
การบรรจุงาน (คน) 2,764 3,185 2,218 -19.8
9. การคลัง (ล้านบาท)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 7,395.5 9109.3 n.a.
การจัดเก็บภาษีอากร 1,628.7 2,227.7 1,816.0 11.5
สรรพากร 1,328.5 1,778.0 1,438.6 8.3
สรรพสามิต 194.7 334.7 279.8 43.7
ศุลกากร 105.6 115.1 97.5 -7.7
10. การเงิน
การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 354,366 414,707 335,345 -5.4
มูลค่า (ล้านบาท) 40,582.2 49,959.8 41,353.6 1.9
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 0.9 0.9 1.0
ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 431 458 n.a.
เงินฝาก (ล้านบาท) 294,430.0 323,803.0 323,000.0E 9.7E
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 189,643.0 214,352.0 214,000.0E 12.8E
ธนาคารออมสิน
เงินฝาก (ล้านบาท) 52,262.5 55,063.5 55,000.0E 5.2E
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 25,505.3 31,166.9 31,000.0E 21.5E
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,593.5 3,404.5 1,270.5 -20.3
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 44,274.5 48,527.1 48,723.6 10.0
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 2,076.9 2,253.5 1,946.9 -6.3
--ส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--