1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม ภาวการณ์ผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 อยู่ในภาวะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2547 โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 3.1 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงถึงร้อยละ 9.3 อันเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับร้อยละ 58.6 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 55.4 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 นี้ พบว่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 316,603.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นจากสินค้าไฟฟ้าร้อยละ 3.4 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 3.3 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 266,395.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงไม่ฟื้นตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นยังคงทรงตัว โดยสินค้า ในกลุ่ม Electronic parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาดโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ wireless handset, personal computers และ consumer electronics 2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.1 การผลิต ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีสัญญาณของการชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2547 จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องปรับ อากาศ และเครื่องรับโทรทัศน์ซึ่งเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตบางรายใช้ไทยเป็นฐานในการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในรุ่นนี้เพื่อการส่งออก ดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดังตารางที่ 1ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548สินค้า Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 103.44 5.55 -3.05 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 256.61 54.77 23.55 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 239.99 39.21 7.65 คอมเพรสเซอร์ 147.06 1.8 11.89 พัดลม 74.38 8.45 -40.01 ตู้เย็น 202.02 5.35 3.85 กระติกนำร้อน 181.78 6.38 16.3 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 110.37 2.25 1.81 สายไฟฟ้า 135.93 -10.9 -13.04 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 64.35 -13.75 -16.38 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 192.53 -19.21 42.68 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต และร้อยละ 39.2 สำหรับ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อเตรียมขายในช่วงฤดูร้อน เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 55.3 รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD โดยลดลงร้อยละ 37.10 ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มในการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพิ่มขึ้นโดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.03 ซึ่งดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 2ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับHousehold ไตรมาส 1/2547 ไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)electrical machinary 67.2 -7.44 -8.45 เครื่องปรับอากาศ 69.2 -5.98 -6.74 ไมโครเวป 20.7 -38.02 -55.29 เครื่องซักผ้า 62.6 2.45 -12.93 หม้อหุงข้าว 81.5 1.75 2.39 ตู้เย็น 60.8 16.71 -8.57 พัดลม 86.4 4.35 1.29 เครื่องรับโทรทัศน์ N/A N/A N/A LCD 414.9 23.01 52.03 วีดีโอเทป 0 0 0 เครื่องเล่น DVD 29 -44.12 -37.09 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japanการตลาด จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าเครื่องปรับ อากาศและเครื่องรับโทรทัศน์เช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.7 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4ตารางที่ 3 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548 สินค้า Shipment Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 104.15 8.62 0.46เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 248.44 61.1 26.26เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 235.24 44.11 11.07คอมเพรสเซอร์ 162.23 1.99 23.69พัดลม 86.24 27.63 -28.85ตู้เย็น 210.02 8.42 6.08กระติกนำร้อน 172.33 -1.5 12.86หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 109.2 -4.4 1.16สายไฟฟ้า 149.14 15.71 10.37โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 64.72 -13.72 -17.2โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 195.43 -17.13 42.92 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)Household 90.5 -6.9 1.7 electrical machinary เครื่องปรับอากาศ 78.3 -19.44 3.57ไมโครเวป 98.7 -3.89 5.67เครื่องซักผ้า 100.7 -1.56 3.18หม้อหุงข้าว 101.4 1.1 1ตู้เย็น 86 -10.42 0.58พัดลม 98.3 3.58 -3.25เครื่องรับโทรทัศน์ 58.6 -2.5 -19.17LCD 412 -2.11 60.19วีดีโอเทป - - - เครื่องเล่น DVD 243.9 -27.06 11.22 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japanตลาดในประเทศ ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ชะลอตัวลงอย่างมากโดยเมื่อพิจารณาจากปริมาณการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายในตลาดภายในประเทศของกลุ่มอุตสาห กรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวลดลงเกือบทุกสินค้า โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าสินค้าที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงมากที่สุด คือ ตู้เย็น ลดลงร้อยละ 29.9 ตารางที่ 5 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการจำหน่ายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 สินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547 (ร้อยละ)เครื่องรับโทรทัศน์ -15.4 -7.2 ตู้เย็น -6.6 -29.9 พัดลม 8.8 -25.1 เครื่องซักผ้า -36.4 -18.9 หม้อหุงข้าว -39.2 -14.9 ที่มา : กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 127,201.3 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่ายังขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 3.4 สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบและสินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 36,916.5 ล้านบาท และ 31,384.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 .0 และ 25.0 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนและส่วนประกอบ และเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 และ 12.7 ด้วยมูลค่าการส่งออก 6,307.0 และ 36,916.5 ล้านบาทตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยมีมูลค่าการส่งออก 22,478.47 ล้านบาท รองลงมาคือ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์, ปลั๊ก, socket) โดยมีมูลค่าการส่งออก 12,984.6 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 6ตารางที่ 6 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาส ที่ 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 1/2547(ร้อยละ) (ล้านบาท)1. เครื่องปรับอากาศสำหรับ ที่พักอาศัยและโรงงาน 22,478.47 40.7 77.4 2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 12,984.60 -20.9 4.2 3. เครื่องรับโทรทัศน์ 12,522.28 -27.6 8.7 4. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้าน 56,17.10 5.6 14.8 5. มอเตอร์ไฟฟ้าชนาดเล็ก (ไม่เกิน 750 W) 58,93.69 -5.8 2.9 ที่มา: กรมศุลกากร รวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 การนำเข้า การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 91,104.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่มีการนำเข้ามาก ได้แก่ กลุ่มเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์, สวิตช์, ปลั๊ก, socket) และกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง ด้วยมูลค่า 18,344.56 และ 11,907.84 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสินค้าที่มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์, ปลั๊ก, socket) ด้วยมูลค่า 18,344.56 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก, แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง , ภาพ มูลค่า 11,907.84 ล้านบาท โดยขยาย ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และ 285.0 ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 7ตารางที่ 7 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาส ที่ 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 1/2547(ร้อยละ) (ล้านบาท)1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ ป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้น และแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์, ปลั๊ก,socket) 18,344.56 6.4 12. เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก, แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 11,907.84 187.9 285 3. หลอดภาพโทรทัศน์สี 5,815.96 -16.8 -14.5 4. สายไฟ ชุดสายไฟ 5,715.90 24.1 32.4 5. เครื่องคอมเพรสเซอร์ของ เครื่องทำความเย็น 3,453.10 46.5 16 ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 การผลิต ภาวการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9.3 โดยเป็นการลดลงเกือบทุกสินค้าเป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเริ่มมีสัญญานของการชะลอตัวลงเนื่องจากยังมีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่ สำหรับภาวการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2548 โดยรวมพบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการประมาณสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2548 ขยายตัวเพิ่มทั้งในกลุ่ม Electronic computers และ Electronic Parts and devices โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 และร้อยละ 0.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.78 โดย Electronic computers ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 แต่ Electronic parts and device ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.00 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)ตารางที่ 8 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และญี่ปุ่น ไตรมาส 1 ปี 2548 ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส1 /2548 กับไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)ประเทศไทย1 314.53 -1.49 -9.33ประเทศญี่ปุ่น2 - Electronic computers 82 3.8 0.24- Electronic parts and device 111.3 0.82 -6 ที่มา : 1) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 2) Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan 3.2 การตลาด ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลง โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.75 และเมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 10.76 เมื่อพิจารณาจากดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาส 1 ปี 2548 ของประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานสถิติดัชนีการส่งสินค้าของ METI เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า สินค้าในกลุ่มของ Electronic computers ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.90 และเมื่อเทียบกับปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 9 )ตารางที่ 9 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย และญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส1 /2548 กับไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)ประเทศไทย1 289.17 -24.6 -27.6ประเทศญี่ปุ่น2 - Electronic computers 82.50 3.90 0.86- Electronic parts and device 121.6 1.76 -2.49 ที่มา : 1) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 2) Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan เมื่อพิจารณาจากสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 1 ปี 2548 ของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ายังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ wireless handset , personal computers และ consumer electronics ตารางที่ 10 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาส 1 ปี 2005 (2548) หน่วย : $ Billion Q1’2004 Q4’2004 Q1’2005 CPQ CPY Worldwide 48.9 55.1 55.3 0.40% 13.20% Semiconductor Sales ที่มา : SIAตลาดส่งออก จากสถิติการส่งออกของกรมศุลกากรซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีมูลค่า 189,405.0 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวมากในไตรมาส 1 ปี 2548 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 12.6 รองลงมา ได้แก่ วงจรพิมพ์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) และไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ลดลงร้อยละ 10.7 8.2 และ 8.1 ตามลำดับ สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องส่ง- เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 11) ตารางที่ 11 แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาส 1 ปี 2548 หน่วย : ล้านบาท รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 4 ปี 2547 ไตรมาสก่อน(ร้อยละ) เมื่อเทียบกับปีก่อน(ร้อยละ)1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 96,701.9 82,154.8 110,700.6 -12.6 17.72. วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี้ (ยังมีต่อ)