กรุงเทพ--28 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พบหารือกับนาย Wu Dawei รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนที่กระทรวงการต่างประเทศจีน โอกาสนี้บุคคลทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นไปอย่างใกล้ชิดแนบแน่นและจะครบรอบ 30 ปีในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าตนให้ความสำคัญการส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจกับจีนอย่างมาก และการเดินทางเยือนจีนครั้งนี้ก็เป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศของตนอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างไทย-จีน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีการเก็บภาษีการค้าสินค้าประเภทผักและผลไม้ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่ม
มูลค่าการค้าสินค้าดังกล่าว โดยในส่วนของไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร 5 ประเภท คือ ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง มังคุด และทุเรียนมายังจีน ซึ่งในกรณีของลำไยซึ่งส่วนใหญ่จีนนำเข้าจากไทยในลัษณะอบแห้งนั้น โดยที่ผลผลิตลำไยของไทยในปีนี้มีจำนวนมาก ดังนั้น จึงอยากให้จีนพิจารณารับซื้อลำไยสดจากไทยด้วย ขณะที่นาย Wu กล่าวว่าผลไม้ไทยมีรสชาติดี และเห็นว่าโอกาสที่ไทยจะส่งผลไม้มาขายในจีนเพิ่มขึ้นยังมีอีกมาก โดยได้ยกตัวอย่างลองกองว่าน่าจะได้รับความนิยมจากชาวจีน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงความตกลง FTA ระหว่างอาเซียน-จีน
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2553 ว่า เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะให้ความสำคัญกับปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกันให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งนอกจากประโยชน์ด้านการค้าแล้วยังจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งกันและกันด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวจีนที่ประสงค์จะทำการค้าขายหรือเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ในปีนี้กระทรวงการต่างประเทศจะเปิดสถานกงสุลใหญ่ในจีนที่เมืองเฉิงตูและเซียะเหมิน และในอนาคตไทยยังสนใจที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่เพิ่มเติมในเมืองสำคัญของจีน อาทิ ซีอาน ไหหลำ และฮาร์บิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Wu ได้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด การตรวจสอบ DNA ศพผู้เสียชีวิตจากเหตุกาณ์ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) และความร่วมมือในกรอบอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ด้วย
ต่อมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือกับนาย An Ming รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยได้หารือถึงการส่งเสริมการค้าระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้ซึ่งไทยต้องการเพิ่มการส่งออกมายังจีน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอให้ทั้งสองฝ่ายหารือกันเพื่อให้ขนส่งและการตรวจปล่อยสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในช่วงบ่ายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพบหารือกับ Lu Yongxiang ประธานสภาวิทยาศาสตร์จีน เพื่อหารือถึงการนำวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในเรื่อง Biomass ซึ่งเป็นการนำของเหลือจากสินค้าเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้จีนช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีในเรื่องนี้แก่ไทย
นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้ร่วมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบหารือกับนาย Li Changjiang รัฐมนตรีสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบ และกักกันโรคของจีน และเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกการหารือเพื่อขยายความร่วมมือสองฝ่ายด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พบหารือกับนาย Wu Dawei รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนที่กระทรวงการต่างประเทศจีน โอกาสนี้บุคคลทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นไปอย่างใกล้ชิดแนบแน่นและจะครบรอบ 30 ปีในเดือนกรกฎาคม ศกนี้ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าตนให้ความสำคัญการส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจกับจีนอย่างมาก และการเดินทางเยือนจีนครั้งนี้ก็เป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศของตนอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี(FTA) ระหว่างไทย-จีน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีการเก็บภาษีการค้าสินค้าประเภทผักและผลไม้ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่ม
มูลค่าการค้าสินค้าดังกล่าว โดยในส่วนของไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร 5 ประเภท คือ ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง มังคุด และทุเรียนมายังจีน ซึ่งในกรณีของลำไยซึ่งส่วนใหญ่จีนนำเข้าจากไทยในลัษณะอบแห้งนั้น โดยที่ผลผลิตลำไยของไทยในปีนี้มีจำนวนมาก ดังนั้น จึงอยากให้จีนพิจารณารับซื้อลำไยสดจากไทยด้วย ขณะที่นาย Wu กล่าวว่าผลไม้ไทยมีรสชาติดี และเห็นว่าโอกาสที่ไทยจะส่งผลไม้มาขายในจีนเพิ่มขึ้นยังมีอีกมาก โดยได้ยกตัวอย่างลองกองว่าน่าจะได้รับความนิยมจากชาวจีน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงความตกลง FTA ระหว่างอาเซียน-จีน
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2553 ว่า เพื่อให้ความตกลงดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะให้ความสำคัญกับปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกันให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งนอกจากประโยชน์ด้านการค้าแล้วยังจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งกันและกันด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวจีนที่ประสงค์จะทำการค้าขายหรือเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย ในปีนี้กระทรวงการต่างประเทศจะเปิดสถานกงสุลใหญ่ในจีนที่เมืองเฉิงตูและเซียะเหมิน และในอนาคตไทยยังสนใจที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่เพิ่มเติมในเมืองสำคัญของจีน อาทิ ซีอาน ไหหลำ และฮาร์บิน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Wu ได้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในเรื่องการปราบปรามยาเสพติด การตรวจสอบ DNA ศพผู้เสียชีวิตจากเหตุกาณ์ธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) และความร่วมมือในกรอบอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community) ด้วย
ต่อมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือกับนาย An Ming รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยได้หารือถึงการส่งเสริมการค้าระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้ซึ่งไทยต้องการเพิ่มการส่งออกมายังจีน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอให้ทั้งสองฝ่ายหารือกันเพื่อให้ขนส่งและการตรวจปล่อยสินค้าเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในช่วงบ่ายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพบหารือกับ Lu Yongxiang ประธานสภาวิทยาศาสตร์จีน เพื่อหารือถึงการนำวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในเรื่อง Biomass ซึ่งเป็นการนำของเหลือจากสินค้าเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงและปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้จีนช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีในเรื่องนี้แก่ไทย
นอกจากนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้ร่วมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบหารือกับนาย Li Changjiang รัฐมนตรีสำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบ และกักกันโรคของจีน และเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกการหารือเพื่อขยายความร่วมมือสองฝ่ายด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-