อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.79 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าไฟฟ้าร้อยละ 8.64 และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 2.31 และเมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย พบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตรวมที่ระดับร้อยละ 52.13 โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 44.12 ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 64.26 เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 นี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 381,702.46 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.67 โดยส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะฮาร์ตดิสไดร์ฟ ส่วนสินค้าไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 144,060.98 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.71 ในขณะที่การนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.79 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 23.05 โดยเฉพาะจากสินค้าประเภทเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็กและแผ่น CD ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 323.19 เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ Tumb Drive และแผ่น CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหลักๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า เป็นต้น ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 56.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ Personal Computer และ Cellular Phone แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 โดยรวมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะจากสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของตลาดในประเทศและการส่งออก โดยตลาดในประเทศนั้นคาดว่าเนื่องจากผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปี และหลายบริษัทคงจะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากการที่ปัจจุบันบริษัทต่างๆย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทยมากขึ้น ส่วนอุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะทรงตัวเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาบริษัทต่างๆได้เพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีไว้แล้ว และผลของภัยธรรมชาติที่เกิดกับประเทศอเมริกาอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคของตลาดอเมริกาส่วนหนึ่ง 2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.1 การผลิต ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.64 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิตมีการผลิตลดลงร้อยละ 16.3 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตลดลงร้อยละ 29.4 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดยุโรปเนื่องจากได้หันไปนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากประเทศจีนมากขึ้น ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์มีการผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ถึงร้อยละ 25.9 เนื่องจากผู้ผลิตทีวีรายสำคัญเช่น โซนี่ได้เลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์สำหรับภูมิภาคคเอเชีย เป็นผลมาจากการที่ไทยมีการปรับลดภาษีชิ้นส่วนสำหรับผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ลดลงเหลือ 0 ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดังตารางที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 3.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 10.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวป โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 44.81 รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD ลดลงร้อยละ 38.91 เนื่องจากมีการนำเข้าจากฐานการผลิตในต่างประเทศและนำเข้าจากประเทศจีนแทนเนื่องจากมีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น จอภาพ LCD และกล้องวีดีโอ Digital เป็นต้น โดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.75 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548 สินค้า Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 74 -3.77 -10.95 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 164.3 -49 -16.31 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 146.54 -51.16 -29.39 คอมเพรสเซอร์ 139.88 -1.08 -1.24 พัดลม 27.27 -30.17 -37.81 ตู้เย็น 217.46 9.67 6.78 กระติกน้ำร้อน 116.94 -8 -2.16 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 102.78 3.17 -4.61 สายไฟฟ้า 144.09 16.67 -9.08 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 65.32 2.21 -8.52 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 259.33 34.22 25.92 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละHousehold electrical machinary 74 -3.77 -10.95 เครื่องปรับอากาศ 79.2 -1.86 -19.1 ไมโครเวป 28.2 -16.07 -44.81 เครื่องซักผ้า 58.3 -14.77 -10.86 หม้อหุงข้าว 93.1 1.09 2.76 ตู้เย็น 69.2 1.91 -9.54 พัดลม 85.1 2.28 -3.3 เครื่องรับโทรทัศน์สี N/A N/A N/A LCD 572.2 13.15 67.75 ครื่องเล่น DVD 29 -29.1 -34.98 กล้องวีดีโอ Digital 102.5 6.44 21.73 กล้องถ่ายรูป Digital 282 -3.95 -5.11 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan 2.1 การตลาด จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัว โดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงมากจากสินค้าเครื่องปรับอากาศ และพัดลม เช่นกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3 เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.13 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 2.02 โดยเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวเพิ่มขั้นได้ในระดับร้อยละ 1 ถึง 10 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD และกล้องวีดีโอ Digital เช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.00 และ 19.65 ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 3 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2548 สินค้า Shipment Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 90.94 -16.1 -9.55 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 159.54 -51.55 -20.83 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 153.42 -51.45 -27.92 คอมเพรสเซอร์ 155.75 -9 0.97 พัดลม 29.83 -31.93 -44.24 ตู้เย็น 220.75 9.97 4.69 กระติกน้ำร้อน 116.99 -2.07 1.51 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 95.92 -2.38 -3.51 สายไฟฟ้า 131.96 9.95 -8.29 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 66.07 3.28 -9.07 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 262.46 37.34 32.06 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 Shipment การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547(ร้อยละ) Index Household electrical machinary 96 -1.13 2.02 เครื่องปรับอากาศ 98 2.94 9.87 ไมโครเวป 95.9 -11.61 8.36 เครื่องซักผ้า 99.4 -1.39 0.71 หม้อหุงข้าว 103.1 -3.91 3.41 ตู้เย็น 88.8 -2.09 0.11 พัดลม 91.7 1.55 -11.14 เครื่องรับโทรทัศน์ 45.7 -8.42 -29.26 LCD 537.4 10.64 55 ครื่องเล่น DVD 223.6 -14.82 -19.42 กล้องวีดีโอ Digital 121.8 11.03 19.65 กล้องถ่ายรูป Digital 351.2 -0.93 -10.75 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่า 144,060.98 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.71 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.72 เช่นเดียวกัน โดยสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 44,128.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี โดยมีมูลค่าการส่งออก 17,828.7 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.2 รองลงมาคือ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 15,718.1 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 41.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว และลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าการลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปี 2547 ไทยมีการส่งออกเครื่องปรับอากาศสูงมาก (โดยเพิ่มจากปี 2546 กว่าร้อยละ 60) และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากผู้นำเข้าในตลาดยุโรปหันไปสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากจีนมากขึ้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 6 ตารางที่ 6 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548 รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส ที่ 2/2548 การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3/2548 (ล้านบาท) (ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 3/2547 (ร้อยละ) 1. เครื่องรับโทรทัศน์สี 17,828.70 19.5 -8.2 2. เครื่องปรับอากาศ 15,718.10 -41.5 -8.1 3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 13,482.00 0.2 -15.4 4. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้าน 7,085.30 17.6 21.8 5. มอเตอร์ไฟฟ้าชนาดเล็ก (ไม่เกิน 750 W) 7,110.00 6.1 12.4 ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 การนำเข้า การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 108,476.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่มีการนำเข้ามาก ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) มูลค่า 21,217.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 รองลงมาคือเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ มูลค่า 17,198.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 323.19 และหลอดภาพโทรทัศน์สี มูลค่า 6862.66 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.85 ซึ่งการที่สินค้าเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ มีมูลค่านำเข้าขยายตัวอย่างมากดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้แผ่น CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก 1 เครื่องเล่นภาพและเสียงและส่วนประกอบ 2 อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนและส่วนประกอบ 3 เครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ 4 เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง 5 อุปกรณ์ที่ใช้มอร์เตอร์และส่วนประกอบ 6 สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล 7 หลอดไฟฟ้า 8 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 9 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 10 หม้อแปลงไฟฟ้า 11 เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตารางที่ 7 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3/2548 (ล้านบาท) ไตรมาสที่ 2/2548(ร้อยละ) ไตรมาสที่ 3/2547 (ร้อยละ) 1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 22,570.50 12.8 19.1 2. เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 17,198.01 16.55 323.19 3. หลอดภาพโทรทัศน์สี 6,862.66 -1.1 -29.85 4. สายไฟ ชุดสายไฟ 5,696.90 1.79 11.98 5. ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 5,588.94 11 29.8 ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 การผลิต ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ปี 2548 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ หลอดภาพคอมพิวเตอร์ และ Other IC ขยายตัวร้อยละ 26.99 และ 16.59 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล ที่จะมีการปรับเพิ่ม (ยังมีต่อ)