พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร วัน พุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 116 /2548 คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน - 4 ตุลาตม 2548 พายุดีเปรสชั่น “ดอมเรย” (Damrey) เมื่อเวลา 12.00 น. วันนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณจังหวัดเชียงราย คาดว่า จะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมบริเวณประเทศพม่าตอนบนในเย็นวันนี้ (28 ก.ย.) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ซึ่งได้แก่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย และอุดรธานี มีฝนตกหนักถึง หนักมากหลายพื้นที่ ส่วนภาคอื่น ๆ จะมีฝนกระจาย สำหรับในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 4 ต.ค. ลมตะวันออกจะพัดปกคลุม ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนลดน้อยลง ส่วนร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนจะพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนกระจาย ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ก.ย. — 1 ต.ค. บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจเกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งบริเวณที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขา และบริเวณที่น้ำไหลผ่านในพื้นที่เสี่ยงภัย เกษตรกรในพื้นที่ ดังกล่าวเตรียมการป้องกันและระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำหลากจากแนวเทือกเขาในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนคลื่นลม ในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรงในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่ม ความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่างๆในระยะ7วันข้างหน้ามีดังนี้ เหนือ ลักษณอากาศ # ในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาคส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 4 ต.ค. จะมีฝน 30-50 % ของพื้นที่ ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 75% ผลกระทบต่อการเกษตร # หลายพื้นที่ซึ่งประสบอุทกภัยโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มควรรีบระบายน้ำทิ้งอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณรากนานหลายวัน ตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะอากาศ # ในช่วงวันที่ 28 ก.ย. มีฝน 70-80 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 29 ก.ย. — 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 30-50 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70% ผลกระทบต่อการเกษตร # สำหรับบริเวณที่มีสภาวะน้ำท่วม เกษตรกรควรระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร นอกจากนี้ควรใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเพื่อดักจับหอยเชอรี่ แล้วเก็บรวบรวมไปทำลาย รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินย่ำน้ำที่สกปรก หากจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ตเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู ส่วนทางตอนล่างของภาคควรเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้สำหรับการเกษตรในระยะต่อไปด้วย กลาง ลักษณะอากาศ # ในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง 60-70 % ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70% ผลกระทบต่อการเกษตร # ในช่วงนี้มีฝนตกชุกทำให้อากาศมีความชื้นสูง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลบริเวณโรงเรือนให้สะอาดไม่ให้ อับชื้น อากาศถ่ายเทได้สะดวก ตะวันออก ลักษณะอากาศ # ในช่วงวันที่ 28-29 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง 60-70 % ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ก.ย. — 4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 40-60 %ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95 % ตอนบ่าย 70% ผลกระทบต่อการเกษตร # ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลอย่าให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและติดโรคได้ง่าย ใต้ ลักษณะอากาศ # ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง 40-60 % ของพื้นที่ เกือบตลอดช่วงและมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. # ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนอง 50-70 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตอนเช้า 95% ตอนบ่าย 65% ผลกระทบต่อการเกษตร # ในบริเวณที่มีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชจากเชื้อรา เช่น โรคราสีชมพูในลองกอง โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน สำหรับไม้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นไม่ควรกองสุมไว้ในสวนเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74-สส-