ในไตรมาส 1/2548 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก คงหนีไม่พ้นราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวิกฤติด้านราคาน้ำมัน ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศ 3 มหาอำนาจหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น มีสัญญาณการเจริญเติบโตที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนสำหรับสหรัฐอเมริกายังประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นนั้น การส่งออกเริ่มชะลอตัวลง จากการที่ 3 มหาอำนาจ หลักดังกล่าวประสบปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวเช่นเดียวกัน เนื่องจาก 3 ประเทศมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ประมาณเกือบ 3 ใน 4 ของ GDP โลก แต่ในขณะที่จีน การส่งออกได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 35 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล และเกินดุลกับสหรัฐอเมริกามากที่สุด ส่วนประเทศในแถบเอเชียส่วนใหญ่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากภาคการส่งออกชะลอตัวโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี2548อาจขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 3
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2547 ชะลอตัวลง เป็ฯผลจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลง และผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะภัยแล้ง เป็นต้น โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในปี 2547 จากการประมาณการผลิตภัณฑ์ประชาชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขยายตัวร้อยละ 5.1 และภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.4
สำหรับภาคอุตสาหกรรม จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) และอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม (ในระดับ ISIC 4 หลัก) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสสี่ของปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 4.13 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับมูลค่าการนำเข้ามีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.77 จึงส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 การค้าของไทยมีดุลการค้าขาดดุลถึง 2,963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนมูลค่าการส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2548 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่า มีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 9,576.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2548 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน และจากสถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่าการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้รับอนุมัติในช่วง 2 เดือนของปี 2548 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อน
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวการณ์ผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 อยู่ในภาวะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2547 โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 3.1 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงถึงร้อยละ 9.3 อันเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
เคมีภัณฑ์ ไตรมาส 1 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 5.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไตรมาส 1 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.28เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี การผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ผู้ผลิตบางรายลดปริมาณการผลิตลงในบางช่วง เนื่องจากราคาลดลง และบางรายมีการปิดซ่อมบำรุง สำหรับการส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 6.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 48.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 36.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 29.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยในส่วนของเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในโครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชนในช่วงนี้ตลาดค่อนข้างซบเซา แต่ในส่วนของการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปัญหาภัยแล้งที่ครอบคลุมถึง 60 จังหวัดในปีนี้ และการปรับราคาขึ้นของน้ำมันดีเซลทำให้ประชาชนจำเป็นต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในส่วนของสภาวะเหล็กทรงแบนค่อนข้างทรงตัว โดยการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศลดลง แต่ปริมาณการนำเข้าและส่งออกกลับขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ ไฟฟ้า ที่ใช้เหล็กประเภทนี้เป็นวัตถุดิบยังคงมีอยู่
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของเหล็กทรงยาวและทรงแบน เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐยังคงขยายตัวอยู่ขณะที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชนก็มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นด้วย
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งเบนซิน และดีเซล จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในภาพรวมมากนัก
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อย จากไตรมาสแรกของปี 2548 อย่างไรก็ตาม จากการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเกี่ยวกับการพิจารณาราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรมสินค้ารถยนต์ เมื่อ 11 เมษายน 2548 อาจส่งกระทบต่อการปรับราคาขายปลีกขึ้น ของรถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น
พลาสติก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 422.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 และไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.13 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ในช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2548 อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิต หนังดิบและหนังฟอกลดลงจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากมีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเก็บค้างอยู่ และการส่งสินค้า(การจำหน่าย)ภายในประเทศลดลง การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เนื่องการช่วงปลายปีการผลิตต่ำมากทำให้สินค้าคงคลังน้อยต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการจำหน่าย
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยอาจอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากภาวะการส่งออกที่ซบเซาและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และการนำเข้าของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระเป๋าที่เพิ่มขึ้นในทุกรายการในประเทศผู้นำในสินค้าแฟชั่น มี Brand name จาก อิตาลี ฝรั่งเศส และสินค้าที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทย และภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการนำเข้าเพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย
อาหาร ภาวะอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากธรณีภัยพิบัติและภาวะภัยแล้ง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับลดลงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ได้รับการชดเชยจากราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของสินค้าบางรายการ เช่น ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยแล้งเช่นกัน นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเป็นไก่แปรรูป ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของตลาดอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2548 คาดว่าจะยังคงมี ทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและปศุสัตว์ ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการลดความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตของประเทศคู่ค้า การคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่สินค้ากุ้งไทยของสหภาพยุโรป (EU) และความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อชดเชยความเสียหายจากภัยสึนามิ รวมถึงการให้การตรวจรับรองโรงงานแปรรูปไก่ของไทยเพิ่มขึ้น จากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีความชัดเจนในการดำเนินนโยบายการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ยกเว้นไก่เนื้อส่งออก โดยจะต้องควบคุมไม่ให้มีการลักลอบนำมาใช้กับไก่ส่งออกอย่างเด็ดขาด
ไม้และเครื่องเรือน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการปรับยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลง ภาวะปรับตัวลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกนั้น น่าจะเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้น โดยคาดว่าในช่างกลางปีภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะปรับตัวดีขึ้นซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของอุตสาหกรรมเอง และคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงกลางปีน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากพ้นช่วงฤดูหนาวมาแล้ว และอัตราการอุปโภคบริโภคของประชากรในตลาดโลกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มมากขึ้น แต่การส่งออกยางขั้นต้นมีมูลค่าลดลง ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อมีการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางมีการผลิตทรงตัว อันเนื่องมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบ และการสั่งซื้อที่ลดน้อยลง
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณน้อยลงตามฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนการส่งออกยางขั้นต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง เพราะประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางขั้นต้นรายใหญ่ลดปริมาณการสั่งซื้ออันเนื่องมาจากมีนโยบายในการชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อมิให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตในอัตราที่สูงอย่างรวดเร็วเกินไป
เยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ภาวะการผลิตกระดาษมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงเครื่องจักร ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เนื่องจากไตรมาสก่อนเกิดภาวะการขาดแคลนกระดาษในประเทศซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศน่าจะดีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการ เชิงรุกด้านการส่งออก ประกอบกับมีนโยบายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรม ตามกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557
ยา ด้านการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผู้ประกอบการทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร และเพิ่มกำลังการผลิต โครงการประกัน สุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังคงทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสำคัญยังคงมาจากมีการนำเข้ายาต้นตำรับ และยารักษาโรค ที่มีสิทธิบัตร เพิ่มมากขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีการส่งออก สินค้าประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงการส่งออกสมุนไพรบดเพิ่มขึ้น
สำหรับในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังคงนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการ นำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรและยาต้นตำรับ
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และการผลิตผ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลง ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด และในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
คาดว่าสถานการณ์การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งคาดว่าสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปได้นำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน
ปูนซีเมนต์ การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนใน สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงตามปัจจัยด้านลบ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอีก
การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
เซรามิก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการ ซึ่งการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิคยังอยู่ในภาวะทรงตัว และมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการผลิตการจำหน่ายและการส่งสินค้า ลดลงจากไตรมาสก่อน การส่งออก ไข่มุก เครื่องประดับแท้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในหมวดของวัตถุดิบ ทองคำ
แนวโน้มการส่งออกอาจทรงตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าตึงตัว อย่างไรก็ตามภาครัฐและภาคเอกชนก็ได้ร่วมมือกันเพื่อดำเนินโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2547 ชะลอตัวลง เป็ฯผลจากอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลง และผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะภัยแล้ง เป็นต้น โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในปี 2547 จากการประมาณการผลิตภัณฑ์ประชาชาติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขยายตัวร้อยละ 5.1 และภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.4
สำหรับภาคอุตสาหกรรม จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) และอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม (ในระดับ ISIC 4 หลัก) พบว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสสี่ของปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 4.13 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับมูลค่าการนำเข้ามีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.77 จึงส่งผลให้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 การค้าของไทยมีดุลการค้าขาดดุลถึง 2,963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนมูลค่าการส่งออกในไตรมาส 1 ปี 2548 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่า มีมูลค่าการส่งออกเกินกว่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 9,576.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2548 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน และจากสถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่าการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้รับอนุมัติในช่วง 2 เดือนของปี 2548 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีก่อน
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวการณ์ผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 อยู่ในภาวะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2547 โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 3.1 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงถึงร้อยละ 9.3 อันเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
เคมีภัณฑ์ ไตรมาส 1 ปี 2548 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 5.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไตรมาส 1 ปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.28เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี การผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ผู้ผลิตบางรายลดปริมาณการผลิตลงในบางช่วง เนื่องจากราคาลดลง และบางรายมีการปิดซ่อมบำรุง สำหรับการส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 6.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 48.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 36.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 29.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยในส่วนของเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในโครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชนในช่วงนี้ตลาดค่อนข้างซบเซา แต่ในส่วนของการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ปัญหาภัยแล้งที่ครอบคลุมถึง 60 จังหวัดในปีนี้ และการปรับราคาขึ้นของน้ำมันดีเซลทำให้ประชาชนจำเป็นต้องเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ในส่วนของสภาวะเหล็กทรงแบนค่อนข้างทรงตัว โดยการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศลดลง แต่ปริมาณการนำเข้าและส่งออกกลับขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ ไฟฟ้า ที่ใช้เหล็กประเภทนี้เป็นวัตถุดิบยังคงมีอยู่
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของเหล็กทรงยาวและทรงแบน เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐยังคงขยายตัวอยู่ขณะที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชนก็มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นด้วย
ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งเบนซิน และดีเซล จะมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในภาพรวมมากนัก
แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สองของปี 2548 คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อย จากไตรมาสแรกของปี 2548 อย่างไรก็ตาม จากการปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเกี่ยวกับการพิจารณาราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรมสินค้ารถยนต์ เมื่อ 11 เมษายน 2548 อาจส่งกระทบต่อการปรับราคาขายปลีกขึ้น ของรถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น
พลาสติก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 422.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหราชอาณาจักร กลุ่มประเทศในอาเชียน และออสเตรเลีย
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 และไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 7.13 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ในช่วงไตรมาสที่1 ของปี 2548 อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยมีภาวะการผลิต หนังดิบและหนังฟอกลดลงจากไตรมาสก่อนอาจเป็นผลมาจากมีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเก็บค้างอยู่ และการส่งสินค้า(การจำหน่าย)ภายในประเทศลดลง การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เนื่องการช่วงปลายปีการผลิตต่ำมากทำให้สินค้าคงคลังน้อยต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการจำหน่าย
แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยอาจอยู่ในภาวะทรงตัวเนื่องจากภาวะการส่งออกที่ซบเซาและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญยังไม่ฟื้นตัว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และการนำเข้าของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระเป๋าที่เพิ่มขึ้นในทุกรายการในประเทศผู้นำในสินค้าแฟชั่น มี Brand name จาก อิตาลี ฝรั่งเศส และสินค้าที่มีราคาถูกจากจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทย และภาครัฐได้ร่วมกับภาคเอกชนหามาตรการนำเข้าเพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำไหลทะลักเข้ามาในประเทศไทย
อาหาร ภาวะอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากธรณีภัยพิบัติและภาวะภัยแล้ง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับลดลงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ได้รับการชดเชยจากราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของสินค้าบางรายการ เช่น ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่สำคัญประสบปัญหาภัยแล้งเช่นกัน นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเป็นไก่แปรรูป ทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของตลาดอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2548 คาดว่าจะยังคงมี ทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประมงและปศุสัตว์ ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการลดความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตของประเทศคู่ค้า การคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) แก่สินค้ากุ้งไทยของสหภาพยุโรป (EU) และความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อชดเชยความเสียหายจากภัยสึนามิ รวมถึงการให้การตรวจรับรองโรงงานแปรรูปไก่ของไทยเพิ่มขึ้น จากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีความชัดเจนในการดำเนินนโยบายการใช้วัคซีนไข้หวัดนกในสัตว์ปีก ยกเว้นไก่เนื้อส่งออก โดยจะต้องควบคุมไม่ให้มีการลักลอบนำมาใช้กับไก่ส่งออกอย่างเด็ดขาด
ไม้และเครื่องเรือน ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการปรับยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลง ภาวะปรับตัวลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกนั้น น่าจะเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้น โดยคาดว่าในช่างกลางปีภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะปรับตัวดีขึ้นซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของอุตสาหกรรมเอง และคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงกลางปีน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากพ้นช่วงฤดูหนาวมาแล้ว และอัตราการอุปโภคบริโภคของประชากรในตลาดโลกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีการผลิตยางแท่งและยางแผ่นเพิ่มมากขึ้น แต่การส่งออกยางขั้นต้นมีมูลค่าลดลง ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางล้อมีการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางมีการผลิตทรงตัว อันเนื่องมาจากราคาต้นทุนวัตถุดิบ และการสั่งซื้อที่ลดน้อยลง
สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าราคาน้ำยางจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากน้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณน้อยลงตามฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนการส่งออกยางขั้นต้นคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง เพราะประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางขั้นต้นรายใหญ่ลดปริมาณการสั่งซื้ออันเนื่องมาจากมีนโยบายในการชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อมิให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตในอัตราที่สูงอย่างรวดเร็วเกินไป
เยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ภาวะการผลิตกระดาษมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงเครื่องจักร ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เนื่องจากไตรมาสก่อนเกิดภาวะการขาดแคลนกระดาษในประเทศซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศน่าจะดีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการ เชิงรุกด้านการส่งออก ประกอบกับมีนโยบายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรม ตามกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557
ยา ด้านการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผู้ประกอบการทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร และเพิ่มกำลังการผลิต โครงการประกัน สุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังคงทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสำคัญยังคงมาจากมีการนำเข้ายาต้นตำรับ และยารักษาโรค ที่มีสิทธิบัตร เพิ่มมากขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีการส่งออก สินค้าประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงการส่งออกสมุนไพรบดเพิ่มขึ้น
สำหรับในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังคงนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการ นำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรและยาต้นตำรับ
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และการผลิตผ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลง ขณะที่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด และในไตรมาสที่ 1 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
คาดว่าสถานการณ์การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งคาดว่าสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปได้นำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน
ปูนซีเมนต์ การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักทั้งการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐและการขยายการลงทุนใน สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงตามปัจจัยด้านลบ เช่น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดต่อการให้สินเชื่อโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอีก
การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่1 ปี 2548 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แนวโน้มการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชาและสหรัฐอเมริกา
เซรามิก ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และเป็นการขยายตัวเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูการ ซึ่งการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิคยังอยู่ในภาวะทรงตัว และมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก
อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี 2548 มีการผลิตการจำหน่ายและการส่งสินค้า ลดลงจากไตรมาสก่อน การส่งออก ไข่มุก เครื่องประดับแท้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในหมวดของวัตถุดิบ ทองคำ
แนวโน้มการส่งออกอาจทรงตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าตึงตัว อย่างไรก็ตามภาครัฐและภาคเอกชนก็ได้ร่วมมือกันเพื่อดำเนินโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-