อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
และสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
1. การผลิตในประเทศ
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาในต่างประเทศ และนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วนยาที่
ผลิตในประเทศนั้น ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีปริมาณ 6,202.7 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
1.7 โดยประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ยาผง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็น
วัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.9 สำหรับการผลิตในครึ่งปีแรกของปี 2549
มีปริมาณ 12,526.4 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 ปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องมาจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจึง
จำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้มีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่มาก ประกอบกับยามีอายุในการใช้งาน ผู้ผลิตจึงลดปริมาณการผลิตลง และทำการระบาย
สินค้าคงคลังออกไปก่อน นอกจากนี้การแข่งขันสูงด้านราคา ทำให้ราคาขายใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตมาก ผู้ผลิตจึงอาจปรับลดปริมาณการผลิตลง เมื่อ
เห็นว่าไม่คุ้มกับการผลิต (ตารางที่ 1)
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณ 5,784.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เล็กน้อยร้อยละ 0.2 สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณ 11,560.2 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 ซึ่งสาเหตุ
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยสินค้าที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากคือ ยาผง เนื่องจากสามารถหาตลาดทั้ง
ภายในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น (ตารางที่ 2)
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่า 7,946.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 12.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.7 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,670.5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 46.2 ของ
มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 15,837.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์
และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 7,616.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
ทั้งหมด (ตารางที่ 3)
การขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า ยังคงมีสาเหตุหลักจากการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิ
บัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้น
เลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องมา
จากบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ออกมา โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล
ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่า 1,578.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
7.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.7 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์
เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 847.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.7 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
ทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 3,146.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.5
สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในครึ่งปีแรกนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการส่งออกไป
ประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,643 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.2 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด (ตารางที่ 3)
การขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีสาเหตุสำคัญมาจากมีการส่งออกสินค้าประเภทแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล สำลี และอื่น
ๆ เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่ายาสำเร็จรูป ซึ่งเป็นประเภทสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม แต่กลับมีมูลค่า
การส่งออกหดตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น นอกจากนี้การส่งออกยา
ของไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพ
ยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการมาตรฐานการผลิตสูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะหยุดสั่งซื้อ
5.นโยบายรัฐ
ความคืบหน้าสำหรับการสมัครเข้าเป็นสมาชิก PIC/S หรือ Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme ซึ่งเป็นองค์กร
ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการด้าน GMP Harmonization อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ของสำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยา (อย.) นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องจากคณะผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการของ PIC/S
และในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะนำเอาหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยาของ PIC/S มาใช้เป็นแนวทางในการ
ประกันคุณภาพยา ทดแทนหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยาฉบับปัจจุบันที่ใช้ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ฉบับปี พ.ศ.2535 โดยประมาณการ
ว่าจะมีประกาศ กระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวใช้บังคับภายในปี 2551
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับ
ตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการ
นำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อมักจะสั่งซื้อมากในไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากนักใน
ไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน แต่ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตใน
ประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิ
บัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
ยาเม็ด 1,110.90 1,386.40 1,265.10 2,338.10 2,651.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.9 13.4
ยาน้ำ 3,249.90 3,201.20 3,079.70 6,965.10 6,280.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.2 -9.8
ยาแคปซูล 137.8 131.4 146.6 274.9 278
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.4 1.1
ยาฉีด 103.8 119.4 105.3 214 224.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.4 5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 31.2 26 27.8 64.7 53.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.9 -16.8
ยาครีม 554.4 416.5 474.4 1,047.60 890.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -14.4 -15
ยาผง 908.3 1,042.80 1,103.80 1,933.00 2,146.60
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.5 11.1
รวม 6,096.30 6,323.70 6,202.70 12,837.40 12,526.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 -2.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 18 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
ยาเม็ด 1,162.50 1,363.60 1,215.20 2,326.30 2,578.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5 10.9
ยาน้ำ 3,750.30 3,494.20 3,540.10 7,825.50 7,034.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.6 -10.1
ยาแคปซูล 151 162.7 182.2 309.6 344.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.7 11.4
ยาฉีด 79.9 95 85.2 170.7 180.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6 5.6
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 31.9 25.3 27.6 62.6 52.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13.5 -15.5
ยาครีม 475.5 480.6 475.5 954.1 956.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0 0.2
ยาผง 145.3 154.6 258.4 282.5 413
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 67.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 77.8 46.2
รวม 5,796.40 5,776.00 5,784.20 11,931.30 11,560.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.2 -3.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 18 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
22/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
มูลค่าการนำเข้า 7,054.90 7,891.10 7,946.80 13,129.00 15,837.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.6 20.6
มูลค่าการส่งออก 1,472.30 1,567.40 1,578.80 2,795.60 3,146.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 12.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
และสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
1. การผลิตในประเทศ
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาในต่างประเทศ และนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วนยาที่
ผลิตในประเทศนั้น ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีปริมาณ 6,202.7 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
1.7 โดยประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ยาผง เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็น
วัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.9 สำหรับการผลิตในครึ่งปีแรกของปี 2549
มีปริมาณ 12,526.4 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 ปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องมาจากตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจึง
จำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้มีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่มาก ประกอบกับยามีอายุในการใช้งาน ผู้ผลิตจึงลดปริมาณการผลิตลง และทำการระบาย
สินค้าคงคลังออกไปก่อน นอกจากนี้การแข่งขันสูงด้านราคา ทำให้ราคาขายใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตมาก ผู้ผลิตจึงอาจปรับลดปริมาณการผลิตลง เมื่อ
เห็นว่าไม่คุ้มกับการผลิต (ตารางที่ 1)
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีปริมาณ 5,784.2 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เล็กน้อยร้อยละ 0.2 สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2549 มีปริมาณ 11,560.2 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 ซึ่งสาเหตุ
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
ก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยสินค้าที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากคือ ยาผง เนื่องจากสามารถหาตลาดทั้ง
ภายในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น (ตารางที่ 2)
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่า 7,946.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 12.6 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.7 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 3,670.5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 46.2 ของ
มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2549 การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 15,837.9 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.6 โดยตลาดนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์
และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 7,616.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.1 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
ทั้งหมด (ตารางที่ 3)
การขยายตัวของมูลค่าการนำเข้า ยังคงมีสาเหตุหลักจากการนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิ
บัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้น
เลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ายามีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องมา
จากบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ออกมา โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล
ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีมูลค่า 1,578.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ
7.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.7 สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์
เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 847.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.7 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
ทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมมีมูลค่า 3,146.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.5
สำหรับตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่สำคัญในครึ่งปีแรกนี้ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ เบลเยียม และมาเลเซีย โดยการส่งออกไป
ประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,643 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.2 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมทั้งหมด (ตารางที่ 3)
การขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม มีสาเหตุสำคัญมาจากมีการส่งออกสินค้าประเภทแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผล สำลี และอื่น
ๆ เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่ายาสำเร็จรูป ซึ่งเป็นประเภทสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม แต่กลับมีมูลค่า
การส่งออกหดตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น นอกจากนี้การส่งออกยา
ของไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพ
ยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการมาตรฐานการผลิตสูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐาน ก็จะหยุดสั่งซื้อ
5.นโยบายรัฐ
ความคืบหน้าสำหรับการสมัครเข้าเป็นสมาชิก PIC/S หรือ Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme ซึ่งเป็นองค์กร
ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการด้าน GMP Harmonization อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ของสำนักงานคณะ
กรรมการอาหารและยา (อย.) นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องจากคณะผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการของ PIC/S
และในอนาคตอันใกล้นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะนำเอาหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยาของ PIC/S มาใช้เป็นแนวทางในการ
ประกันคุณภาพยา ทดแทนหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยาฉบับปัจจุบันที่ใช้ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ฉบับปี พ.ศ.2535 โดยประมาณการ
ว่าจะมีประกาศ กระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวใช้บังคับภายในปี 2551
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้นมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สำหรับปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับ
ตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้น้อยลง ด้านมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการ
นำเข้ายาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร และส่งออกวัสดุที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตร
มาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อมักจะสั่งซื้อมากในไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากนักใน
ไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน แต่ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตใน
ประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิ
บัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
ยาเม็ด 1,110.90 1,386.40 1,265.10 2,338.10 2,651.50
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.9 13.4
ยาน้ำ 3,249.90 3,201.20 3,079.70 6,965.10 6,280.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -3.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.2 -9.8
ยาแคปซูล 137.8 131.4 146.6 274.9 278
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.6
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.4 1.1
ยาฉีด 103.8 119.4 105.3 214 224.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -11.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.4 5
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 31.2 26 27.8 64.7 53.8
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.9 -16.8
ยาครีม 554.4 416.5 474.4 1,047.60 890.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 13.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -14.4 -15
ยาผง 908.3 1,042.80 1,103.80 1,933.00 2,146.60
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 5.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.5 11.1
รวม 6,096.30 6,323.70 6,202.70 12,837.40 12,526.40
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.7 -2.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 18 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท ไตรมาส 2548 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
ยาเม็ด 1,162.50 1,363.60 1,215.20 2,326.30 2,578.80
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5 10.9
ยาน้ำ 3,750.30 3,494.20 3,540.10 7,825.50 7,034.30
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 1.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.6 -10.1
ยาแคปซูล 151 162.7 182.2 309.6 344.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 12
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.7 11.4
ยาฉีด 79.9 95 85.2 170.7 180.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6 5.6
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 31.9 25.3 27.6 62.6 52.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13.5 -15.5
ยาครีม 475.5 480.6 475.5 954.1 956.1
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0 0.2
ยาผง 145.3 154.6 258.4 282.5 413
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 67.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 77.8 46.2
รวม 5,796.40 5,776.00 5,784.20 11,931.30 11,560.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.2 -3.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 18 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
มูลค่า (ล้านบาท) ไตรมาส 2548 2549
22/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.—มิ.ย.) (ม.ค.—มิ.ย.)
มูลค่าการนำเข้า 7,054.90 7,891.10 7,946.80 13,129.00 15,837.90
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.6 20.6
มูลค่าการส่งออก 1,472.30 1,567.40 1,578.80 2,795.60 3,146.20
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 0.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 12.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-