อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสแรกของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว นำรายได้เข้าประเทศโดยรวมประมาณ สามหมื่นห้าพันล้านบาท การเติบโตที่ต่อเนื่องของอุตสาหกรรมนี้ยืนยันถึงการเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่ควรส่งเสริมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาส 1 ของปี 2549 อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 28.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 2.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีส่งสินค้า เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 32.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงร้อยละ 9.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มีมูลค่ารวม 38,299.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 25.8 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือทองคำ และไข่มุก โดยลดลงคิดเป็นร้อยละ 49.6 และ 30.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากสูงสุดคือเครื่องประดับอัญมณีเทียม แพลทินัม และพลอย คิดเป็นร้อยละ 47.2, 43.3 และ 37.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ง
ประเทศคู่ค้าสำคัญในการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเข้าได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำจากสหภาพยุโรปเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
โดยสินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นจากสหภาพยุโรปได้แก่ เพชร ไข่มุก ทองคำ และอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งในส่วนของอัญมณีสังเคราะห์นั้นประเทศไทยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากทุกประเทศคู่ค้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของสินค้าประเภทนี้ อีกทั้งประเทศผู้ผลิตทั้งหลายได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของสินค้าประเภทนี้ จึงได้พัฒนาสินค้าของตนเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก
การส่งออก
ไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยส่งออกสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มีมูลค่ารวม 35,780.9 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 20.2 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากที่สุดคือทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และเครื่องประดับอัญมณีเทียม โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 720.6 และ 43.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดคือไข่มุกและเครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะมีค่า โดยลดลงคิดเป็นร้อยละ 58.1 และ 31.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ประเทศลูกค้าหลักของสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับได้แก่ สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่เป็นลูกค้าหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกามีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ในทางกลับกัน ปริมาณการส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียนกลับมีปริมาณที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน
สรุปและแนวโน้ม
ข้อสรุปจากข้อมูลโดยรวมของการค้าอัญมณีในไตรมาสแรกของปี 2549 มีดังนี้คือ
- แนวโน้มการเติบโตของตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- การเติบโตของสินค้าประเภทอัญมณีสังเคราะห์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออก และการนำเข้า แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการในตลาดและสะท้อนศักยภาพของการเติบโตของสินค้า อีกทั้งปริมาณที่เพิ่มขึ้นของการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตหลักๆ ยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตและการแข่งขันที่จะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าประเภทนี้
- ปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นไปยังประเทศในแถบอาเซียน แสดงถึงอำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพต่อไป นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในการค้า เช่นการขนส่งไปยังประเทศในอาเซียนยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าประเทศนอกภูมิภาค ผู้ผลิตจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการตลาดในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นตลาดที่ยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ตลาดหลักเพื่อการส่งออกของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสแรกของปี ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาส 1 ของปี 2549 อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 28.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 2.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีส่งสินค้า เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ลดลงร้อยละ 32.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงร้อยละ 9.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มีมูลค่ารวม 38,299.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 25.8 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือทองคำ และไข่มุก โดยลดลงคิดเป็นร้อยละ 49.6 และ 30.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากสูงสุดคือเครื่องประดับอัญมณีเทียม แพลทินัม และพลอย คิดเป็นร้อยละ 47.2, 43.3 และ 37.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ง
ประเทศคู่ค้าสำคัญในการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเข้าได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำจากสหภาพยุโรปเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.7 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
โดยสินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นจากสหภาพยุโรปได้แก่ เพชร ไข่มุก ทองคำ และอัญมณีสังเคราะห์ ซึ่งในส่วนของอัญมณีสังเคราะห์นั้นประเทศไทยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากทุกประเทศคู่ค้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของสินค้าประเภทนี้ อีกทั้งประเทศผู้ผลิตทั้งหลายได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของสินค้าประเภทนี้ จึงได้พัฒนาสินค้าของตนเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก
การส่งออก
ไตรมาสแรกของปี 2549 ประเทศไทยส่งออกสินค้าประเภทเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มีมูลค่ารวม 35,780.9 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 20.2 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากที่สุดคือทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และเครื่องประดับอัญมณีเทียม โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 720.6 และ 43.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดคือไข่มุกและเครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะมีค่า โดยลดลงคิดเป็นร้อยละ 58.1 และ 31.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ประเทศลูกค้าหลักของสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับได้แก่ สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
โดยในไตรมาสแรกของปี 2549 การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่เป็นลูกค้าหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกามีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ในทางกลับกัน ปริมาณการส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียนกลับมีปริมาณที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแสดงถึงศักยภาพและกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน
สรุปและแนวโน้ม
ข้อสรุปจากข้อมูลโดยรวมของการค้าอัญมณีในไตรมาสแรกของปี 2549 มีดังนี้คือ
- แนวโน้มการเติบโตของตลาดส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- การเติบโตของสินค้าประเภทอัญมณีสังเคราะห์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออก และการนำเข้า แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความต้องการในตลาดและสะท้อนศักยภาพของการเติบโตของสินค้า อีกทั้งปริมาณที่เพิ่มขึ้นของการนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตหลักๆ ยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตและการแข่งขันที่จะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าประเภทนี้
- ปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นไปยังประเทศในแถบอาเซียน แสดงถึงอำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจพัฒนาเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพต่อไป นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในการค้า เช่นการขนส่งไปยังประเทศในอาเซียนยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าประเทศนอกภูมิภาค ผู้ผลิตจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการตลาดในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นตลาดที่ยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-