พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2549

ข่าวทั่วไป Friday June 30, 2006 16:24 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วัน ศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 78/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2549
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงตลอดช่วง ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคตะวันออก กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝน60-70% ของพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง อนึ่ง พายุดีเปรสชั่นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 2 ก.ค. คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปมหาสมุทรแปซิฟิกตอนบน และจะไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย
ข้อควรระวัง
ในช่วง 30 มิ.ย.- 6 ก.ค. ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ สำหรับในช่วง วันที่ 2—6 ก.ค. ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังภัยที่เกิดจาก น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาของพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ # มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาคโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-6 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. # มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาคโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-6 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย สำหรับลำไยที่กำลังให้ผลผลิต ชาวสวนควร ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งหักและผลผลิตเสียหาย ขณะที่มีฝนตกและลมแรง
ตะวันออกเฉียงเหนือ # มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนัก บางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. # มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนัก บางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ในช่วงวันที่ 4-6 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. สภาพอากาศที่ชุ่มชื้น เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และไม้ดอก สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชผักในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูก
กลาง # มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. # มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60% ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน อาจเกิดน้ำท่วมขังได้ เกษตรกรควรจัดทำทางระบายน้ำรอบๆ แปลงปลูกพืช สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวนาควรป้องกันการระบาดของโรคไหม้ในข้าวไว้ด้วย
ตะวันออก # มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-40 กม./ชม. # มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-70 % ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-40 กม./ชม. เนื่องจากจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ในช่วงวันที่ 2-6 ก.ค. และอาจเกิด น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดจันทบุรีและตราด เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สิน และพื้นที่การเกษตร รวมทั้งควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงในระยะนี้ ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ใต้ # ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40% ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40% ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. # ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40% ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย 30-40% ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตก พื้นดินเปียกแฉะอาจเกิดโรครากเน่าและโคนเน่าในไม้ผล ชาวสวนควรสำรวจสวนหากพบควรถากเปลือกที่เป็นโรคออก และทาด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา สำหรับคลื่นลมทางตอนบนของทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ