กรุงเทพ--19 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วย ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา ครั้งที่ 39 และการประชุมความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (39th ASEAN Ministerial Meeting/Post Ministerial Conferences /13th ASEAN Regional Forum — AMM/PMC/ARF)
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีการประชุมสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39
2. การหารือ Ad Hoc Consultations Among East Asia Summit Foreign Ministers ในช่วงอาหารกลางวัน
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา (ASEAN+1) กับ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป
5. การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจาทั้ง 10 ราย ระหว่างอาหาร กลางวัน
6. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ARF หัวข้อของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้คือ Forging a United, Resilient and Cohesive ASEAN อันสืบเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เมือง อูบุด เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปลายเดือนเมษายน 2549 โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียนทั้งในด้านองค์กรและการดำเนินความร่วมมือกับภายนอก และจะหารือเกี่ยวกับพัฒนาการสำคัญในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะมีการหารือกันได้แก่ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาปาเลสไตน์ สถานการณ์ในติมอร์ เลสเต และพม่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและวิธีการทำงานของอาเซียน รวมทั้งข้อเสนอจัดตั้งคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนในอนาคต การวางแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาให้มีประสิทธิภาพ การติดตามข้อเสนอและข้อตัดสินใจของผู้นำในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก การพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออกอีกทั้งจะผลักดันวิธีการใหม่ๆ ที่จะระดมทรัพยากรในภูมิภาค เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียที่นายกรัฐมนตรี ได้เสนอไว้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ผ่านมา สำหรับการฉลองครบรอบ 40 ปีอาเซียนในปีหน้า (2550) นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเสนอแนวทางกิจกรรมที่มุ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ในการประชุมนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกำหนดจะร่วมลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนของประเทศสมาชิกในการไปมาหาสู่กัน และเอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกฯ
สำหรับการประชุมกับคู่เจรจาฯ ดร. กันตธีร์ฯ และ ดร. คอนโดลีซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะเป็นประธานร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ ดร.ไรซ์ เดินทางมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือคือ สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคและการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ในลักษณะหุ้นส่วน ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทย โดยทั้งสองฝ่ายกำหนดจะลงนามในเอกสารกำหนดกรอบสำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ที่จะเป็นพื้นฐานพัฒนาความร่วมมือในสาขาที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านการพัฒนา การป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติ การวิจัยและพัฒนาร่วมทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี และด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนกและโรคเอดส์ อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนไทย
ในปี 2549 เป็นปีครบรอบความสัมพันธ์ 10 ปี ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว โดยฝ่ายรัสเซียจะจัด Russian Food Festival ในช่วงการประชุม สำหรับฝ่ายอาเซียน ประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ประสานงานความร่วมมืออาเซียนกับรัสเซียมาก่อน จะผลักดันข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้ง ASEAN Centre ในมหาวิทยาลัยของรัสเซีย อีกทั้งการออก ASEAN-Russia Business Handbook ต่อไป นอกจากนี้ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2549 จะมีการลงนามร่างปฏิญญาร่วมอาเซียน-แคนาดาว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิก และเพิ่มพูนความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างกันด้วย
ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสจะเดินทางมาร่วมลงนามเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นการส่งสัญญานที่ชัดเจนว่าฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับอาเซียน โดยแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะพัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญมั่งคั่งของภูมิภาค ทั้งนี้ การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือฯ อาจช่วยส่งเสริมความสนใจของสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะพิจารณาเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ทั้งรายประเทศหรือ ในฐานะกลุ่มประเทศ
ในส่วนของการประชุม ARF ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงเวทีเดียวในภูมิภาค จะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศเช่น คาบสมุทรเกาหลี ติมอร์ฯ อิหร่าน และตะวันออกกลาง โดย ARF ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงกลไกต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพความร่วมมือด้านความมั่นคง ในการก้าวไปสู่ขั้นตอนของการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) จะได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ แนวทางในการรับประเทศสมาชิกใหม่ ข้อเสนอการจัดตั้งกลุ่มเพื่อนของประธานฯ (Friends of the Chair) การกระชับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของผู้แทนรัฐบาลกับประชาคมวิชาการ (enhanced ties between Track I and Track II) และระหว่าง ARF กับกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอื่นๆ การพิจารณาบทบาทของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ (Experts and Eminent Persons) ของ ARF นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังจะได้หารือกันเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ต่างๆ ด้วย อาทิ การบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ การต่อต้านการก่อการร้าย การแก้ไขปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์ อาวุธ และปัญหายาเสพติดตลอดจนอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ ทั้งนี้ ไทยจะแจ้งที่ประชุม ARF ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไทยกำหนดจัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และในปีหน้า ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการคลังขีปนาวุธประทับบ่าและอาวุธขนาดเล็กและขนาดเบา ซึ่งไทยจะร่วมเป็นเจ้าภาพกับออสเตรเลียจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในครึ่งหลังของปี 2549 และการสัมมนาเรื่องการควบคุมปัญหายาเสพติด ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ในช่วงปี 2550 โดยไทยกับจีนร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค โดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (สหรัฐฯ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน) มาร่วม จึงเป็นโอกาสอันดีที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยจะได้แจ้งผู้เข้าร่วมทราบถึงพัฒนาการของ การรณรงค์ให้กับ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัครของอาเซียนในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ด้วย ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา ครั้งที่ 39 และการประชุมความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 13 (39th ASEAN Ministerial Meeting/Post Ministerial Conferences /13th ASEAN Regional Forum — AMM/PMC/ARF)
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีการประชุมสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39
2. การหารือ Ad Hoc Consultations Among East Asia Summit Foreign Ministers ในช่วงอาหารกลางวัน
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา (ASEAN+1) กับ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป
5. การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคู่เจรจาทั้ง 10 ราย ระหว่างอาหาร กลางวัน
6. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ARF หัวข้อของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้คือ Forging a United, Resilient and Cohesive ASEAN อันสืบเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการที่เมือง อูบุด เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปลายเดือนเมษายน 2549 โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียนทั้งในด้านองค์กรและการดำเนินความร่วมมือกับภายนอก และจะหารือเกี่ยวกับพัฒนาการสำคัญในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่คาดว่าจะมีการหารือกันได้แก่ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ปัญหาปาเลสไตน์ สถานการณ์ในติมอร์ เลสเต และพม่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและวิธีการทำงานของอาเซียน รวมทั้งข้อเสนอจัดตั้งคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนในอนาคต การวางแนวทางดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาให้มีประสิทธิภาพ การติดตามข้อเสนอและข้อตัดสินใจของผู้นำในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก การพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออกอีกทั้งจะผลักดันวิธีการใหม่ๆ ที่จะระดมทรัพยากรในภูมิภาค เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียที่นายกรัฐมนตรี ได้เสนอไว้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ผ่านมา สำหรับการฉลองครบรอบ 40 ปีอาเซียนในปีหน้า (2550) นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเสนอแนวทางกิจกรรมที่มุ่งให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ในการประชุมนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกำหนดจะร่วมลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตรา ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนของประเทศสมาชิกในการไปมาหาสู่กัน และเอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกฯ
สำหรับการประชุมกับคู่เจรจาฯ ดร. กันตธีร์ฯ และ ดร. คอนโดลีซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะเป็นประธานร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ ดร.ไรซ์ เดินทางมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน โดยประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือคือ สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคและการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ในลักษณะหุ้นส่วน ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทย โดยทั้งสองฝ่ายกำหนดจะลงนามในเอกสารกำหนดกรอบสำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ที่จะเป็นพื้นฐานพัฒนาความร่วมมือในสาขาที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านการพัฒนา การป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติ การวิจัยและพัฒนาร่วมทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี และด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องไข้หวัดนกและโรคเอดส์ อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนไทย
ในปี 2549 เป็นปีครบรอบความสัมพันธ์ 10 ปี ระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว โดยฝ่ายรัสเซียจะจัด Russian Food Festival ในช่วงการประชุม สำหรับฝ่ายอาเซียน ประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ประสานงานความร่วมมืออาเซียนกับรัสเซียมาก่อน จะผลักดันข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้ง ASEAN Centre ในมหาวิทยาลัยของรัสเซีย อีกทั้งการออก ASEAN-Russia Business Handbook ต่อไป นอกจากนี้ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2549 จะมีการลงนามร่างปฏิญญาร่วมอาเซียน-แคนาดาว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิก และเพิ่มพูนความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างกันด้วย
ในระหว่างการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสจะเดินทางมาร่วมลงนามเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นการส่งสัญญานที่ชัดเจนว่าฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับอาเซียน โดยแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่จะพัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญมั่งคั่งของภูมิภาค ทั้งนี้ การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือฯ อาจช่วยส่งเสริมความสนใจของสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะพิจารณาเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาฯ ทั้งรายประเทศหรือ ในฐานะกลุ่มประเทศ
ในส่วนของการประชุม ARF ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงเวทีเดียวในภูมิภาค จะมีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศเช่น คาบสมุทรเกาหลี ติมอร์ฯ อิหร่าน และตะวันออกกลาง โดย ARF ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงกลไกต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพความร่วมมือด้านความมั่นคง ในการก้าวไปสู่ขั้นตอนของการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) จะได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ แนวทางในการรับประเทศสมาชิกใหม่ ข้อเสนอการจัดตั้งกลุ่มเพื่อนของประธานฯ (Friends of the Chair) การกระชับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของผู้แทนรัฐบาลกับประชาคมวิชาการ (enhanced ties between Track I and Track II) และระหว่าง ARF กับกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอื่นๆ การพิจารณาบทบาทของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ (Experts and Eminent Persons) ของ ARF นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังจะได้หารือกันเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ต่างๆ ด้วย อาทิ การบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ การต่อต้านการก่อการร้าย การแก้ไขปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์ อาวุธ และปัญหายาเสพติดตลอดจนอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ ทั้งนี้ ไทยจะแจ้งที่ประชุม ARF ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไทยกำหนดจัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และในปีหน้า ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการคลังขีปนาวุธประทับบ่าและอาวุธขนาดเล็กและขนาดเบา ซึ่งไทยจะร่วมเป็นเจ้าภาพกับออสเตรเลียจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในครึ่งหลังของปี 2549 และการสัมมนาเรื่องการควบคุมปัญหายาเสพติด ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ในช่วงปี 2550 โดยไทยกับจีนร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
ในการประชุมครั้งนี้ มีรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค โดยเฉพาะจากประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (สหรัฐฯ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน) มาร่วม จึงเป็นโอกาสอันดีที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยจะได้แจ้งผู้เข้าร่วมทราบถึงพัฒนาการของ การรณรงค์ให้กับ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้สมัครของอาเซียนในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-