กรุงเทพ--27 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ซึ่งได้มีการ หารือถึงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในพม่า ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ความร่วมมือของ ประเทศสมาชิกอาเซียน และท่าทีของอาเซียนต่อผลการหยั่งเสียง (Straw Poll) ผู้สมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ภายหลังการประชุมหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ร่วมลงนามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) สำหรับประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน หลังจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระดังนี้
1. ดร.กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับท่าทีของอาเซียนต่อสถานการณ์ในพม่าว่าอาเซียนมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า และต้องการเห็นความคืบหน้าที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยอย่างสันติ ทั้งนี้ อาเซียนได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวบุคคลที่ถูกจับกุมเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเร็ว ซึ่งพม่ารับข้อเรียกร้องดังกล่าวไปพิจารณา
นอกจากนี้ อาเซียนได้สนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติต่อพม่า เนื่องจากเป็นเป้าหมายที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติของพม่าเช่นเดียวกับความต้องการของอาเซียน รวมทั้งเน้นบทบาทของประธานอาเซียนในฐานะผู้สังเกตการณ์พัฒนาการด้านประชาธิปไตย ในพม่า โดยประธานอาเซียนจะเยือนพม่าอีกครั้งในอนาคต ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงการใช้ช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารกับพม่าเพื่อสนับสนุนให้เกิดกระบวนการปรองดองแห่งชาติ อาทิ การเจรจา ในระดับทวิภาคี
2. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าน่าจะมีการสนับสนุนให้ 6 ฝ่ายใช้ประโยชน์จากการประชุม ARF ซึ่งจะจัดขึ้นต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39 รื้อฟื้นการเจรจาปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี โดยไทยมีความพร้อมที่จะสนับสนุนการหารือ ซึ่งจะนำไปสู่การยุติปัญหาดังกล่าว
3. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงการหยั่งเสียง (Straw Poll) สำหรับผู้ชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ว่าการหยั่งเสียงดังกล่าวเป็นเพียงการหยั่งเสียงครั้งแรก ซึ่งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม จึงทำให้ยังมีเวลาในการเตรียมการ ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายประเทศ โดยอาเซียนยังยืนยันการสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในฐานะผู้สมัครของอาเซียนสำหรับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติและเห็นตรงกันให้เดินหน้าสำหรับการรณรงค์หาเสียงต่อไป
4. เกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางในปัจจุบันนั้น ดร.กันตธีร์ฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนว่า เนื่องจากสมาชิกอาเซียนบางประเทศไม่มีสถานทูตในประเทศที่กำลังเกิดวิกฤต ทำให้ประสบปัญหาในการให้ความช่วยเหลือประชาชนของประเทศตน ดังนั้นจึงเสนอให้สมาชิกอาเซียนที่มีสถานทูตในประเทศดังกล่าวให้ความช่วยเหลือประเทศที่ไม่มีสถานทูตด้วย ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ซึ่งมีสถานทูตในเลบานอนได้ตอบรับให้ความช่วยเหลือคนไทยที่พักอาศัยในเลบานอนด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ซึ่งได้มีการ หารือถึงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในพม่า ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ความร่วมมือของ ประเทศสมาชิกอาเซียน และท่าทีของอาเซียนต่อผลการหยั่งเสียง (Straw Poll) ผู้สมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ภายหลังการประชุมหารือ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ร่วมลงนามความตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา (Visa Exemption) สำหรับประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน หลังจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระดังนี้
1. ดร.กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับท่าทีของอาเซียนต่อสถานการณ์ในพม่าว่าอาเซียนมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า และต้องการเห็นความคืบหน้าที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยอย่างสันติ ทั้งนี้ อาเซียนได้เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวบุคคลที่ถูกจับกุมเนื่องจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเร็ว ซึ่งพม่ารับข้อเรียกร้องดังกล่าวไปพิจารณา
นอกจากนี้ อาเซียนได้สนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติต่อพม่า เนื่องจากเป็นเป้าหมายที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติของพม่าเช่นเดียวกับความต้องการของอาเซียน รวมทั้งเน้นบทบาทของประธานอาเซียนในฐานะผู้สังเกตการณ์พัฒนาการด้านประชาธิปไตย ในพม่า โดยประธานอาเซียนจะเยือนพม่าอีกครั้งในอนาคต ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงการใช้ช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารกับพม่าเพื่อสนับสนุนให้เกิดกระบวนการปรองดองแห่งชาติ อาทิ การเจรจา ในระดับทวิภาคี
2. ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับปัญหาคาบสมุทรเกาหลี ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่าน่าจะมีการสนับสนุนให้ 6 ฝ่ายใช้ประโยชน์จากการประชุม ARF ซึ่งจะจัดขึ้นต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 39 รื้อฟื้นการเจรจาปัญหาความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี โดยไทยมีความพร้อมที่จะสนับสนุนการหารือ ซึ่งจะนำไปสู่การยุติปัญหาดังกล่าว
3. ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวถึงการหยั่งเสียง (Straw Poll) สำหรับผู้ชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ว่าการหยั่งเสียงดังกล่าวเป็นเพียงการหยั่งเสียงครั้งแรก ซึ่งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม จึงทำให้ยังมีเวลาในการเตรียมการ ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครชิงตำแหน่งดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายประเทศ โดยอาเซียนยังยืนยันการสนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในฐานะผู้สมัครของอาเซียนสำหรับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติและเห็นตรงกันให้เดินหน้าสำหรับการรณรงค์หาเสียงต่อไป
4. เกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางในปัจจุบันนั้น ดร.กันตธีร์ฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนว่า เนื่องจากสมาชิกอาเซียนบางประเทศไม่มีสถานทูตในประเทศที่กำลังเกิดวิกฤต ทำให้ประสบปัญหาในการให้ความช่วยเหลือประชาชนของประเทศตน ดังนั้นจึงเสนอให้สมาชิกอาเซียนที่มีสถานทูตในประเทศดังกล่าวให้ความช่วยเหลือประเทศที่ไม่มีสถานทูตด้วย ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ซึ่งมีสถานทูตในเลบานอนได้ตอบรับให้ความช่วยเหลือคนไทยที่พักอาศัยในเลบานอนด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-