เมื่อวันที่ 27 ตุลาคมนี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากนโยบาย 5 ด้านของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จะแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นที่น่ายินดีที่ให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนด้วยการบรรจุนโยบายด้านนี้ไว้ใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ การจะจัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน โดยผลักดันกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเชื่อว่าจากนโยบายนี้น่าจะเป็นหลักประกันเบื้องต้นไปสู่การปฏิรูปสื่อทั้งระบบในอนาคต
นายอภิชาต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าขณะนี้รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้สื่อมวลชนของรัฐตกอยู่ภายใต้การครอบงำของอิทธิพลกลุ่มอำนาจเก่า และใช้สื่อเหล่านั้นเป็นเครื่องมือเผยแพร่ผลงานรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่ตลอดเวลา เช่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่เผยแพร่เทปการสัมภาษณ์พิเศษอดีตรัฐมนตรีอวดผลงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือการนำเทปกิจกรรมเปิดงานกีฬาของอดีตรัฐมนตรีมาออกอากาศซ้ำ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่า สื่อของรัฐหน่วยนี้มีวาระซ่อนเร้น และไม่ยอมปลดปล่อยตัวเอง รัฐบาลเองก็ไม่ได้ใส่ใจในการกำกับดูแลเท่าที่ควร ทั้งๆที่ทราบกันทั่วไปว่า หลายปีที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ภายใต้การกำกับของรัฐบาลเก่าถูกใช้ประโยชน์ในทางการเมืองอย่างลึกซึ้งยาวนานแค่ไหน และผู้บริหารระดับสูงหลายคนในหน่วยงานแห่งนี้ทอดตัวรับใช้ผู้มีอำนาจทางการเมืองในอดีตมาอย่างไร แต่คนเหล่านี้ยังคงมีตำแหน่งเหนียวแน่นเหมือนเดิม
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นสื่อของรัฐอย่าง บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ก็มีกระแสเรียกร้องให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กลับมาเป็นกรรมการผู้จัดการอีกครั้งหนึ่ง โดยมุ่งหวังจะให้มาสร้างผลกำไร และความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรเป็นสำคัญ โดยไม่ได้สนใจว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้สนองนโยบายรัฐบาลเก่าในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนและประชาชนอย่างไรมาบ้าง กรณีการยกเลิกผังรายการที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือบรรจุรายการใหม่ตามใบสั่งรัฐบาลทักษิณ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอยู่แล้ว ถามว่ารัฐบาลจะมีแนวทางอย่างไรกับเรื่องนี้ หรือจะลอยตัวให้เป็นเรื่องของบอร์ดและผู้ถือหุ้นฝ่ายเดียว
“รัฐบาลต้องสนใจใช้สื่อมวลชนของรัฐให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศ ต้องเป็นธงนำในการให้ความรู้ ให้การศึกษากับประชาชนผ่านทางสื่อมวลชนอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อปูพื้นฐานใหม่ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะปัญหาความสมานฉันท์ในสังคม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาการแทรกแซงครอบงำองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ ความเสียหายของประเทศจากระอบบทักษิณ ฯลฯ ซึ่งเป็นปมเงื่อนในการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จะต้องใช้สื่อของรัฐเข้ามาอธิบายกับประชาชนอย่างละเอียดและต่อเนื่อง น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่เห็นความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้” นายอภิชาต กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ต.ค. 2549--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าขณะนี้รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้สื่อมวลชนของรัฐตกอยู่ภายใต้การครอบงำของอิทธิพลกลุ่มอำนาจเก่า และใช้สื่อเหล่านั้นเป็นเครื่องมือเผยแพร่ผลงานรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อยู่ตลอดเวลา เช่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่เผยแพร่เทปการสัมภาษณ์พิเศษอดีตรัฐมนตรีอวดผลงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือการนำเทปกิจกรรมเปิดงานกีฬาของอดีตรัฐมนตรีมาออกอากาศซ้ำ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่า สื่อของรัฐหน่วยนี้มีวาระซ่อนเร้น และไม่ยอมปลดปล่อยตัวเอง รัฐบาลเองก็ไม่ได้ใส่ใจในการกำกับดูแลเท่าที่ควร ทั้งๆที่ทราบกันทั่วไปว่า หลายปีที่ผ่านมากรมประชาสัมพันธ์ภายใต้การกำกับของรัฐบาลเก่าถูกใช้ประโยชน์ในทางการเมืองอย่างลึกซึ้งยาวนานแค่ไหน และผู้บริหารระดับสูงหลายคนในหน่วยงานแห่งนี้ทอดตัวรับใช้ผู้มีอำนาจทางการเมืองในอดีตมาอย่างไร แต่คนเหล่านี้ยังคงมีตำแหน่งเหนียวแน่นเหมือนเดิม
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นสื่อของรัฐอย่าง บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) ก็มีกระแสเรียกร้องให้นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กลับมาเป็นกรรมการผู้จัดการอีกครั้งหนึ่ง โดยมุ่งหวังจะให้มาสร้างผลกำไร และความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรเป็นสำคัญ โดยไม่ได้สนใจว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้สนองนโยบายรัฐบาลเก่าในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนและประชาชนอย่างไรมาบ้าง กรณีการยกเลิกผังรายการที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หรือบรรจุรายการใหม่ตามใบสั่งรัฐบาลทักษิณ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอยู่แล้ว ถามว่ารัฐบาลจะมีแนวทางอย่างไรกับเรื่องนี้ หรือจะลอยตัวให้เป็นเรื่องของบอร์ดและผู้ถือหุ้นฝ่ายเดียว
“รัฐบาลต้องสนใจใช้สื่อมวลชนของรัฐให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเมืองการปกครองของประเทศ ต้องเป็นธงนำในการให้ความรู้ ให้การศึกษากับประชาชนผ่านทางสื่อมวลชนอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อปูพื้นฐานใหม่ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะปัญหาความสมานฉันท์ในสังคม ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ปัญหาการแทรกแซงครอบงำองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ ความเสียหายของประเทศจากระอบบทักษิณ ฯลฯ ซึ่งเป็นปมเงื่อนในการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา จะต้องใช้สื่อของรัฐเข้ามาอธิบายกับประชาชนอย่างละเอียดและต่อเนื่อง น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่เห็นความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้” นายอภิชาต กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ต.ค. 2549--จบ--