ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมกราคม 2549 อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว โดยทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน การส่งออกและการนำเข้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ด้านอุปทาน ภาคบริการขยายตัวดีจากทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศและชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มประชุมสัมมนา รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดีจากปัจจัยด้านราคา ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไ
ป
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามการเร่งตัวของราคาพืชผลหลักซึ่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 โดยราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ตามราคาอ้อยขั้นต้น ราคาข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 จากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ และราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชสำคัญ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 โดยเฉพาะจากอ้อยโรงงานซึ่งลดลงร้อยละ 13.6 เนื่องจากกระทบแล้งในช่วงเพาะปลูก ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตามแรงจูงใจด้านราคา และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกและผลผลิตต่อไร่
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 เป็น 139.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ในเดือนก่อน สินค้าที่ส่งออกมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เลนส์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า และเครื่องประดับ ผลผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ดีผลผลิตน้ำตาล ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 เหลือ 502.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลง
3. ภาคบริการ ขยายตัวดี เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุธรณีพิบัติภัยเช่นปีก่อน ประกอบกับมีกลุ่มประชุมสัมมนาต่างประเทศจากประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง และการจัดประชุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และการจัดกิจกรรมในเทศกาลตรุษจีน ทำให้เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนทั้งจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 72.6 ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 เร่งตัวจากร้อยละ 14.2 ในเดือนก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 9.0 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากร้อยละ 7.5 เดือนก่อน โดยทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขยายตัวในบริเวณภาคเหนือตอนบน แต่ภาคเหนือตอนล่างลดลง
5. การลงทุนภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากผลกระทบของราคาที่ส่งผลต่อกำลังซื้อและต้นทุนการผลิต และทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนหรือปรับลดขนาดโครงการลง โดยเครื่องชี้การลงทุนด้านการก่อสร้าง ได้แก่ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 28.1 แต่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 สำหรับการลงทุนเพื่อการผลิต มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 เป็น 195.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็น139.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เลนส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เป็น 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าใบยาสูบเบอร์เลย์ เซรามิก และไม้แกะสลัก ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 4.5 เหลือ 45.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้
มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 เป็น 125.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ในเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เป็น117.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าแผงวงจรสำเร็จรูป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.6 เป็น 2.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรอุปกรณ์ และอัญมณี แต่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 21.3 เหลือ 5.9 ล้านดอลลาร์ ตามการนำเข้าจากพม่าและจีนตอนใต้ลดลง แต่การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 69.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเกินดุล 74.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และร้อยละ 2.5 เดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆที่ไม่ใช่อาหารซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.3 เดือนก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนธันวาคม 2548 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.7 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.7 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.3 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของแรงงานในภาคเกษตรในช่วงฤดูกาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.1 จากสาขาการผลิต และการค้า สำหรับอัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ต่ำกว่าร้อยละ 1.3 ระยะเดียวกันในปีก่อน ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ในเดือนมกราคม 2549 มีจำนวน 570,495 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 5.5 จากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 312,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดขนาดใหญ่ ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และนครสวรรค์ ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 250,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นตามสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ พ่อค้าพืชไร่และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ อีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อซื้อรถยนต์ โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก และสุโขทัย สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 80.1 สูงกว่าร้อยละ 72.2 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา เงินฝากและสินเชื่อในภาคเหนือขยายตัวร้อยละ 4.0 และร้อยละ 10.7 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ป
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามการเร่งตัวของราคาพืชผลหลักซึ่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 โดยราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ตามราคาอ้อยขั้นต้น ราคาข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 จากมาตรการรับจำนำของภาครัฐ และราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากอุปสงค์ภายในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชสำคัญ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 โดยเฉพาะจากอ้อยโรงงานซึ่งลดลงร้อยละ 13.6 เนื่องจากกระทบแล้งในช่วงเพาะปลูก ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ตามแรงจูงใจด้านราคา และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกและผลผลิตต่อไร่
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 เป็น 139.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ในเดือนก่อน สินค้าที่ส่งออกมากได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เลนส์ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า และเครื่องประดับ ผลผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ดีผลผลิตน้ำตาล ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 เหลือ 502.7 พันเมตริกตัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทำให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลง
3. ภาคบริการ ขยายตัวดี เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุธรณีพิบัติภัยเช่นปีก่อน ประกอบกับมีกลุ่มประชุมสัมมนาต่างประเทศจากประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง และการจัดประชุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ โครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และการจัดกิจกรรมในเทศกาลตรุษจีน ทำให้เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนทั้งจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 72.6 ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 เร่งตัวจากร้อยละ 14.2 ในเดือนก่อน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 9.0 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ชะลอลงจากร้อยละ 7.5 เดือนก่อน โดยทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขยายตัวในบริเวณภาคเหนือตอนบน แต่ภาคเหนือตอนล่างลดลง
5. การลงทุนภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากผลกระทบของราคาที่ส่งผลต่อกำลังซื้อและต้นทุนการผลิต และทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนหรือปรับลดขนาดโครงการลง โดยเครื่องชี้การลงทุนด้านการก่อสร้าง ได้แก่ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 28.1 แต่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 สำหรับการลงทุนเพื่อการผลิต มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 เป็น 195.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็น139.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เลนส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 เป็น 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าใบยาสูบเบอร์เลย์ เซรามิก และไม้แกะสลัก ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 4.5 เหลือ 45.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีนตอนใต้
มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 เป็น 125.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.0 ในเดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เป็น117.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าแผงวงจรสำเร็จรูป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.6 เป็น 2.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรอุปกรณ์ และอัญมณี แต่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงร้อยละ 21.3 เหลือ 5.9 ล้านดอลลาร์ ตามการนำเข้าจากพม่าและจีนตอนใต้ลดลง แต่การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 69.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเกินดุล 74.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และร้อยละ 2.5 เดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ตามการเร่งตัวของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆที่ไม่ใช่อาหารซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.3 เดือนก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนธันวาคม 2548 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.7 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.7 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.3 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของแรงงานในภาคเกษตรในช่วงฤดูกาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่แรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.1 จากสาขาการผลิต และการค้า สำหรับอัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 1.2 ต่ำกว่าร้อยละ 1.3 ระยะเดียวกันในปีก่อน ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ในเดือนมกราคม 2549 มีจำนวน 570,495 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และร้อยละ 5.5 จากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 312,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของส่วนราชการ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดขนาดใหญ่ ได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และนครสวรรค์ ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 250,244 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นตามสินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ พ่อค้าพืชไร่และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสัตว์ อีกส่วนหนึ่งเพิ่มขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อซื้อรถยนต์ โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก และสุโขทัย สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 80.1 สูงกว่าร้อยละ 72.2 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา เงินฝากและสินเชื่อในภาคเหนือขยายตัวร้อยละ 4.0 และร้อยละ 10.7 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--