กรุงเทพ--2 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เคนยาเป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกาที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ปัญหาเรื่องน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเคนยา เพราะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเคนยา
ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี จึงได้ปรึกษาหารือกับบริษัทแพทดริลแอฟริกา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจด้านการเจาะบ่อน้ำบาดาลในซูดานและประเทศในแถบ
แอฟริกา เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาคมเนตรนารีของเคนยา ซึ่งมีสถานที่ฝึกอบรมในชุมชนคิมาเลน ตั้งอยู่ในที่สูงและห่างไกลความเจริญ ไม่มีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอต่อการบริโภคอุปโภค และมีความเห็นร่วมกันว่าหากมีแหล่งน้ำสะอาดที่สามารถให้น้ำขนาด 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อค่ายฝึกอบรมและชุมชนดังกล่าว
อันที่จริงแล้วสถานทูตได้มีโครงการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ค่ายลูกเสือหญิงในชุมชนคิมาเลนมาตั้งแต่ปลายปี 2547 โดยคณะเจ้าหน้าที่สถานทูต ตัวแทนของบริษัทแพทดริล แอฟริกา และคณะสมาคมเนตรนารี ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่จริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในชุมชน กำหนดจุดขุดเจาะ และสำรวจทางกายภาพต่างๆ เพื่อหาทางขนส่งเครื่องเจาะและวัสดุอุปกรณ์เข้าพื้นที่
บริษัทแพทดริลแอฟริกาได้ทำการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์และเริ่มทำการขุดเจาะเมื่อวันที่ 20 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2548 รวมเวลาทำงาน 9 วัน การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลแม้ว่าดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ในเมืองไทยแต่ในประเทศเคนยากลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะรัฐบาลเคนยาค่อนข้างจะเคร่งครัดมากในระเบียบและวิธีการทางกฎหมาย แม้กระทั่งพื้นที่ในชนบทและขาดแคลนน้ำ การเจาะบ่อต้องดำเนินการตามขั้นตอนทุกประการ ได้แก่ การสำรวจทางธรณีวิทยา การขออนุญาตเจาะบ่อบาดาล ระหว่างการเจาะต้องมีนักธรณีวิทยาควบคุมทุกขั้นตอน ผู้เจาะบ่อต้องมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ขนาดบ่อต้องมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น การลงท่อกรุบ่อ จะต้ดงเป็นท่อเหล็กเท่านั้น ทำให้งบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วไปยอมรับการใช้ท่อพีวีซี
แม้ว่าโครงการค่อนข้างล่าช้าและประสบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ผลสำเร็จของงานที่ออกมา ทำให้ค่ายลูกเสือหญิงในชุมชนคิมาเลนซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งและยากต่อการปฏิบัติงาน สามารถมีบ่อน้ำบาดาลที่มีศักยภาพให้ปริมาณน้ำ 3 ลูกบาศก์ต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งปริมาณน้ำระดับนี้สามารถสนองตอบอย่างเพียงพอต่อความต้องการของค่ายดังกล่าว
การขุดเจาะบ่อบาดาลดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้ค่ายลูกเสือหญิงมีน้ำดื่มน้ำใช้อย่างพอเพียงเท่านั้น ยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งและความอดอยากของชุมชนคิมาเลนที่ประสบมาอย่างยาวนานให้ทุเลาเบาบางลง ซึ่งเรื่องนี้เห็นได้จากคำกล่าวในพิธีส่งมอบบ่อน้ำบาดาลเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ของประธานสมาคมเนตรนารีแห่งเคนยาที่ได้แสดงความชื่นชมและขอบคุณสถานทูตและรัฐบาลไทยที่สนับสนุนกิจกรรมของ
สมาคมฯ โดยกล่าวว่าน้ำมีความสำคัญอย่างมาก เพราะ “น้ำคือชีวิต.” การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลทำให้ประชาชนในเมืองคิมาเลน มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว อีกทั้งโรงพยาบาลและชุมชนก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้บ่อน้ำบาดาล
นอกจากนี้ ผู้นำสตรีของชุมชนคิมาเลน ยังได้กล่าวขอบคุณสถานทูตที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ประสบภัยแล้งมาเป็นเวลานาน ประชาชนในเมืองคิมาเลนต้องเดินทางกว่า 20 กม. เพื่อไปนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และโดยเฉพาะในต้นปี 2549 นี้ ทั้งเคนยาและแอฟริกาตะวันออกประสบปัญหาความแห้งแล้งอย่างมาก ทำให้คนในชุมชนได้รับความยากลำบากในการดำรงชีวิตอย่างมาก การมีบ่อน้ำบาดาลจะทำให้ชาวเมืองคิมาเลนมีน้ำดื่มและใช้เพื่อยังชีพต่อไปได้
การให้ความช่วยเหลือในการขุดเจาะน้ำบาดาลดังกล่าวมีขึ้นในช่วงระหว่างที่เคนยาและ
แอฟริกาตะวันออกกำลังประสบปัญหาภัยแล้งและความอดยาก จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือที่มีความหมายและได้รับความสนใจอย่างมากต่อสื่อมวลชนในเคนยา อีกทั้งยังเป็นการแสดงบทบาทในการให้ความช่วยเหลือของบริษัทไทยในการขุดเจาะน้ำบาดาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นการนำเอาเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทยมาในใช้ในการให้ความช่วยเหลือเคนยา นอกจากนี้ สถานทูตยังได้จัดซื้อเครื่องสูบน้ำให้แก่ชุมชนดังกล่าวด้วย
ประเทศไทยให้ความร่วมมือกับเคนยาและประเทศในอนุภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในกรอบ south-south cooperation ซึ่งในปี 2549 รัฐบาลไทยโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ได้มอบทุนฝึกอบรมนานาชาติให้เคนยารวม 12 หลักสูตร ซึ่งรวมทั้งทุนด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการโรงแรม นอกจากนี้ยังให้ทุนหลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆ อาทิ โครงการความร่วมมือด้านมาลาเรียกับประเทศในแอฟริกาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
สำหรับในปีนี้ เป็นปีครบรอบ 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสดังกล่าว สถานทูตจึงมีดำริที่จะเสนอโครงการหมู่บ้านตัวอย่างที่เคนยาเพื่อเป็นรูปแบบในการพัฒนาทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร และการพัฒนาชุมชน รวมทั้งจะมีการนำเอาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในโอกาสดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อเคนยาและประเทศในอนุภูมิภาคนี้.ในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เคนยาเป็นประเทศหนึ่งในแอฟริกาที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งเช่นเดียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ปัญหาเรื่องน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเคนยา เพราะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเคนยา
ด้วยเหตุนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี จึงได้ปรึกษาหารือกับบริษัทแพทดริลแอฟริกา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจด้านการเจาะบ่อน้ำบาดาลในซูดานและประเทศในแถบ
แอฟริกา เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาคมเนตรนารีของเคนยา ซึ่งมีสถานที่ฝึกอบรมในชุมชนคิมาเลน ตั้งอยู่ในที่สูงและห่างไกลความเจริญ ไม่มีแหล่งน้ำสะอาดเพียงพอต่อการบริโภคอุปโภค และมีความเห็นร่วมกันว่าหากมีแหล่งน้ำสะอาดที่สามารถให้น้ำขนาด 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อค่ายฝึกอบรมและชุมชนดังกล่าว
อันที่จริงแล้วสถานทูตได้มีโครงการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ค่ายลูกเสือหญิงในชุมชนคิมาเลนมาตั้งแต่ปลายปี 2547 โดยคณะเจ้าหน้าที่สถานทูต ตัวแทนของบริษัทแพทดริล แอฟริกา และคณะสมาคมเนตรนารี ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่จริงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในชุมชน กำหนดจุดขุดเจาะ และสำรวจทางกายภาพต่างๆ เพื่อหาทางขนส่งเครื่องเจาะและวัสดุอุปกรณ์เข้าพื้นที่
บริษัทแพทดริลแอฟริกาได้ทำการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์และเริ่มทำการขุดเจาะเมื่อวันที่ 20 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2548 รวมเวลาทำงาน 9 วัน การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลแม้ว่าดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ในเมืองไทยแต่ในประเทศเคนยากลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะรัฐบาลเคนยาค่อนข้างจะเคร่งครัดมากในระเบียบและวิธีการทางกฎหมาย แม้กระทั่งพื้นที่ในชนบทและขาดแคลนน้ำ การเจาะบ่อต้องดำเนินการตามขั้นตอนทุกประการ ได้แก่ การสำรวจทางธรณีวิทยา การขออนุญาตเจาะบ่อบาดาล ระหว่างการเจาะต้องมีนักธรณีวิทยาควบคุมทุกขั้นตอน ผู้เจาะบ่อต้องมีใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย ขนาดบ่อต้องมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น การลงท่อกรุบ่อ จะต้ดงเป็นท่อเหล็กเท่านั้น ทำให้งบประมาณเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วไปยอมรับการใช้ท่อพีวีซี
แม้ว่าโครงการค่อนข้างล่าช้าและประสบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ผลสำเร็จของงานที่ออกมา ทำให้ค่ายลูกเสือหญิงในชุมชนคิมาเลนซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งและยากต่อการปฏิบัติงาน สามารถมีบ่อน้ำบาดาลที่มีศักยภาพให้ปริมาณน้ำ 3 ลูกบาศก์ต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งปริมาณน้ำระดับนี้สามารถสนองตอบอย่างเพียงพอต่อความต้องการของค่ายดังกล่าว
การขุดเจาะบ่อบาดาลดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้ค่ายลูกเสือหญิงมีน้ำดื่มน้ำใช้อย่างพอเพียงเท่านั้น ยังมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้งและความอดอยากของชุมชนคิมาเลนที่ประสบมาอย่างยาวนานให้ทุเลาเบาบางลง ซึ่งเรื่องนี้เห็นได้จากคำกล่าวในพิธีส่งมอบบ่อน้ำบาดาลเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ของประธานสมาคมเนตรนารีแห่งเคนยาที่ได้แสดงความชื่นชมและขอบคุณสถานทูตและรัฐบาลไทยที่สนับสนุนกิจกรรมของ
สมาคมฯ โดยกล่าวว่าน้ำมีความสำคัญอย่างมาก เพราะ “น้ำคือชีวิต.” การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลทำให้ประชาชนในเมืองคิมาเลน มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมทั้งการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว อีกทั้งโรงพยาบาลและชุมชนก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้บ่อน้ำบาดาล
นอกจากนี้ ผู้นำสตรีของชุมชนคิมาเลน ยังได้กล่าวขอบคุณสถานทูตที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ประสบภัยแล้งมาเป็นเวลานาน ประชาชนในเมืองคิมาเลนต้องเดินทางกว่า 20 กม. เพื่อไปนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และโดยเฉพาะในต้นปี 2549 นี้ ทั้งเคนยาและแอฟริกาตะวันออกประสบปัญหาความแห้งแล้งอย่างมาก ทำให้คนในชุมชนได้รับความยากลำบากในการดำรงชีวิตอย่างมาก การมีบ่อน้ำบาดาลจะทำให้ชาวเมืองคิมาเลนมีน้ำดื่มและใช้เพื่อยังชีพต่อไปได้
การให้ความช่วยเหลือในการขุดเจาะน้ำบาดาลดังกล่าวมีขึ้นในช่วงระหว่างที่เคนยาและ
แอฟริกาตะวันออกกำลังประสบปัญหาภัยแล้งและความอดยาก จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือที่มีความหมายและได้รับความสนใจอย่างมากต่อสื่อมวลชนในเคนยา อีกทั้งยังเป็นการแสดงบทบาทในการให้ความช่วยเหลือของบริษัทไทยในการขุดเจาะน้ำบาดาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นการนำเอาเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทยมาในใช้ในการให้ความช่วยเหลือเคนยา นอกจากนี้ สถานทูตยังได้จัดซื้อเครื่องสูบน้ำให้แก่ชุมชนดังกล่าวด้วย
ประเทศไทยให้ความร่วมมือกับเคนยาและประเทศในอนุภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในกรอบ south-south cooperation ซึ่งในปี 2549 รัฐบาลไทยโดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ได้มอบทุนฝึกอบรมนานาชาติให้เคนยารวม 12 หลักสูตร ซึ่งรวมทั้งทุนด้านการท่องเที่ยวและการบริหารจัดการโรงแรม นอกจากนี้ยังให้ทุนหลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆ อาทิ โครงการความร่วมมือด้านมาลาเรียกับประเทศในแอฟริกาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก
สำหรับในปีนี้ เป็นปีครบรอบ 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสดังกล่าว สถานทูตจึงมีดำริที่จะเสนอโครงการหมู่บ้านตัวอย่างที่เคนยาเพื่อเป็นรูปแบบในการพัฒนาทั้งในเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร และการพัฒนาชุมชน รวมทั้งจะมีการนำเอาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในโอกาสดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อเคนยาและประเทศในอนุภูมิภาคนี้.ในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-