แท็ก
สหภาพยุโรป
คำถาม : สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ซึ่งสหภาพยุโรปอนุญาตให้ใช้เพิ่มเติมเมื่อไม่นานมานี้มีอะไรบ้าง
คำตอบ : สหภาพยุโรป (European Union : EU) อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ (Additives in Feedingstuffs) เพิ่มเติมอีกจำนวน 8 รายการ ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ประจำสหภาพยุโรป (The Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ได้ผ่านความเห็นชอบและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวม 3 ฉบับ ดังนี้
* Commission Regulation (EC) No. 492/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งประเภทสารช่วยย่อย (Enzymes) จุลินทรีย์ (Micro-organisms) และสารกันบูด (Preservatives) ในอาหารสัตว์ตามเงื่อนไขที่ EU กำหนด ดังนี้
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,3(4)-beta-glucanase EC 3.2.1.6 และ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 (64) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่และลูกสุกรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Saccharomyces cerevisiae MUCL 39 885 (E 1710) ในอาหารสัตว์ที่ ใช้เลี้ยงโค/กระบือ
- อนุญาตให้ใช้ Lactobacillus farciminis CNCM MA 67/4R (E 1714) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงลูกสุกร
- อนุญาตให้ใช้ Potassium diformate (237a) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทุกประเภท
* Commission Regulation (EC) No. 545/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งในกลุ่ม Coccidiostats จำนวน 1 รายการ คือ Narasin 100 g/kg (Monteban, Monteban G 100) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่ เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557
* Commission Regulation (EC) No. 773/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งประเภทจุลินทรีย์และสารช่วยย่อยเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ ดังนี้
- อนุญาตให้ใช้ Kluyveromyces marxianus-fragilis BO399 MUCL 41579 (26) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงลูกสุกรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 และ Endo-1,4-beta-glucanase EC 3.2.1.4 (7) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงเป็ดเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 และ Endo-1,4-beta-glucanase EC 3.2.1.4 (E 1609) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่ ไก่งวง และลูกสุกร
อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวได้ระบุข้อควรระวังในการใช้สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ ไว้ในภาคผนวก (Annex) อาทิ
* สารปรุงแต่งดังกล่าวสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์ตามประเภทของสัตว์ที่ระบุไว้เท่านั้น
* ห้ามใช้ในสัตว์ที่มีอายุ หรือน้ำหนัก ต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
* สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ต้องมีปริมาณไม่เกินที่ระบุไว้ และต้องใช้กับอาหารสัตว์ประเภทที่กำหนดไว้เท่านั้น
* สารปรุงแต่งในกลุ่ม Coccidiostats ต้องงดการใช้ไม่น้อยกว่า 1 วัน ก่อนส่งสัตว์เข้าโรงฆ่า และไม่ควรใช้พร้อมกับยาประเภท Tiamulin เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงต่อสัตว์ และส่งผลต่อเนื่องไปยัง ผู้บริโภคตลอดจนสิ่งแวดล้อมโดยรวมได้
กฎระเบียบทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน EU Official Journal (เช่น Commission Regulation (EC) No. 492/2006 ซึ่งประกาศ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2549 เป็นต้น) ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่า หากสินค้าอาหารสัตว์รวมถึงเนื้อสัตว์ประเภทใดไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว โดยมีกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับ สารปรุงแต่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ EU กำหนด จะไม่สามารถส่งออกไปตลาด EU ได้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรศึกษากฎระเบียบดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถขยายการส่งออกอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ของไทยไปยังตลาด EU ได้อย่างยั่งยืน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : สหภาพยุโรป (European Union : EU) อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ (Additives in Feedingstuffs) เพิ่มเติมอีกจำนวน 8 รายการ ซึ่งได้รับการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คณะกรรมการด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ประจำสหภาพยุโรป (The Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ได้ผ่านความเห็นชอบและออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวม 3 ฉบับ ดังนี้
* Commission Regulation (EC) No. 492/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งประเภทสารช่วยย่อย (Enzymes) จุลินทรีย์ (Micro-organisms) และสารกันบูด (Preservatives) ในอาหารสัตว์ตามเงื่อนไขที่ EU กำหนด ดังนี้
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,3(4)-beta-glucanase EC 3.2.1.6 และ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 (64) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่และลูกสุกรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Saccharomyces cerevisiae MUCL 39 885 (E 1710) ในอาหารสัตว์ที่ ใช้เลี้ยงโค/กระบือ
- อนุญาตให้ใช้ Lactobacillus farciminis CNCM MA 67/4R (E 1714) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงลูกสุกร
- อนุญาตให้ใช้ Potassium diformate (237a) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทุกประเภท
* Commission Regulation (EC) No. 545/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งในกลุ่ม Coccidiostats จำนวน 1 รายการ คือ Narasin 100 g/kg (Monteban, Monteban G 100) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่ เป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557
* Commission Regulation (EC) No. 773/2006 ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งประเภทจุลินทรีย์และสารช่วยย่อยเพิ่มเติมในอาหารสัตว์ ดังนี้
- อนุญาตให้ใช้ Kluyveromyces marxianus-fragilis BO399 MUCL 41579 (26) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงลูกสุกรเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 และ Endo-1,4-beta-glucanase EC 3.2.1.4 (7) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงเป็ดเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2553
- อนุญาตให้ใช้ Endo-1,4-beta-xylanase EC 3.2.1.8 และ Endo-1,4-beta-glucanase EC 3.2.1.4 (E 1609) ในอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงไก่ ไก่งวง และลูกสุกร
อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวได้ระบุข้อควรระวังในการใช้สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ ไว้ในภาคผนวก (Annex) อาทิ
* สารปรุงแต่งดังกล่าวสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์ตามประเภทของสัตว์ที่ระบุไว้เท่านั้น
* ห้ามใช้ในสัตว์ที่มีอายุ หรือน้ำหนัก ต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
* สารปรุงแต่งในอาหารสัตว์ต้องมีปริมาณไม่เกินที่ระบุไว้ และต้องใช้กับอาหารสัตว์ประเภทที่กำหนดไว้เท่านั้น
* สารปรุงแต่งในกลุ่ม Coccidiostats ต้องงดการใช้ไม่น้อยกว่า 1 วัน ก่อนส่งสัตว์เข้าโรงฆ่า และไม่ควรใช้พร้อมกับยาประเภท Tiamulin เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงต่อสัตว์ และส่งผลต่อเนื่องไปยัง ผู้บริโภคตลอดจนสิ่งแวดล้อมโดยรวมได้
กฎระเบียบทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน EU Official Journal (เช่น Commission Regulation (EC) No. 492/2006 ซึ่งประกาศ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2549 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2549 เป็นต้น) ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่า หากสินค้าอาหารสัตว์รวมถึงเนื้อสัตว์ประเภทใดไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว โดยมีกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับ สารปรุงแต่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ EU กำหนด จะไม่สามารถส่งออกไปตลาด EU ได้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรศึกษากฎระเบียบดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถขยายการส่งออกอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ของไทยไปยังตลาด EU ได้อย่างยั่งยืน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2549--
-พห-