กรุงเทพ--24 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สามารถผลักดันนโยบาย “ครัวไทยสู่โลก” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในอินเดียตลาดสำคัญทั้งในด้านประชากรและด้านเศรษฐกิจการค้าของโลกได้สำเร็จ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่นายจีระศักดิ์ ธเนศนันท์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลีได้นำคณะนักธุรกิจชาวอินเดียด้านโรงแรมและร้านอาหารไปเยือนเมืองไทย เพื่อศึกษาดูงานที่สถาบันด้านการอาหารของไทย ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2549
หลังจากที่นาย Mathew Regi Mathew และนาย B. Srikanth ผู้บริหารของบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน ซึ่งเป็นเจ้าของร้านเบญจรงค์ที่เมืองเจนไน กลับจากการศึกษาดูงานในเมืองไทย เขาได้เล็งเห็นถึงลู่ทางที่จะขยายและพัฒนาธุรกิจอาหารไทยเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวอินเดีย 3 ประเภท ได้แก่ การเปิดร้านอาหารไทยแบบแฟรนไชส์ การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพ่อครัว-แม่ครัว การนำเข้าเครื่องปรุงและผักผลไม้ไทย
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่เป็นนักนิยมบริโภคคงจะรู้สึกยินดีปรีดาเช่นเดียวกับผู้เขียน ซึ่งเวลาเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย มักจะอดคิดถึงอาหารไทยประเภทด่วนจานเดียวของเราไม่ได้ ดังนั้น เมื่อได้ข่าวว่าสองผู้บริหารของบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน มีความประสงค์จะซื้อลิขสิทธิ์จากศูนย์พัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลกเพื่อเปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ในอินเดีย จึงย่อมตื่นเต้นดีใจเป็นธรรมดาว่าไปอินเดียครั้งหน้าคงพอหาอาหารไทยรับประทานได้
ที่น่ายินดีเป็นครั้งที่สอง คือ ตั้งแต่ศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ของดร. ยุทธศักดิ์ สุภสร เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม ศกนี้ อินเดียนับเป็นประเทศแรกที่แสดงความสนใจจะขอซื้อลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง โดยจะเปิดร้านตามต้นแบบของศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ร้านรวมเส้น (อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว) ร้านข้าวแกง (อาหารจานด่วน) และร้านต้นหอม (อาหารระดับบน) โดยบริษัทฯ ได้จับจองพื้นที่ในย่านธุรกิจและศูนย์การค้าหลายแห่งของเมืองศุนย์กลางธุรกิจ 4 แห่ง คือ มุมไบ เจนไน บังกาลอร์ และไฮเดอราบัด ไว้แล้ว และบริษัทฯ ต้องการเริ่มธุรกิจร้านอาหารแฟรนไชส์โดยเร็ว เนื่องจากบริษัทฯ ได้เช่าสถานที่ล่วงหน้าไว้หลายแห่งโดยเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
สถานทูตได้ติดต่อศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ให้เร่งพิจารณาข้อเสนอของบริษัทฯ และเชิญ ดร. ยุทธศักดิ์ฯ ผอ. ศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ เดินทางไปสำรวจสถานที่ที่บริษัทฯ เตรียมไว้สำหรับเปิดร้านแฟรนไชส์ที่เมืองเจนไนก่อนเป็นเมืองแรก รวมทั้งพบกับผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือรายละเอียดในการดำเนินการ บริษัทฯ พร้อมจะเป็นผู้บุกเบิกร้านอาหารไทยแฟรนไชส์ในอินเดียให้ได้ตามเป้าหมายที่ฝ่ายไทยต้องการ โดยยินดีจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์เป็นเงิน 3 % ของผลประกอบการเป็นค่าใช้บริการแก่ศูนย์ฯ
นอกจากการเปิดร้านแฟรนไชส์ในเมืองต่างๆ แล้วบริษัทฯ ยังมีแผนงานจะเปิดร้านอาหารไทยคุณภาพ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แฟรนไชส์ทั้งหมดตามเมืองธุรกิจสำคัญของอินเดียให้ได้ครบ 25 ร้านทั่วอินเดีย
การเปิดร้านอาหารไทยเป็นจำนวนมากเช่นนี้ จำเป็นต้องมีพ่อครัว-แม่ครัวจำนวนมากเพื่อรองรับการขยายตัว ซึ่งในเรื่องนี้สถานทูตมีแผนที่จะจัดโครงการอบรมพ่อครัว-แม่ครัวอาหารไทยในอินเดีย โดยจะดำเนินการร่วมกับศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ และโรงเรียนการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนดุสิต ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ศกนี้ ที่กรุงนิวเดลี และหากได้ผลดีมีคนสนใจเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ก็จะทำต่อเนื่องทุกปี
และเพื่อส่งเสริมอาหารไทยให้ครบวงจร บริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน มีแผนที่จะเปิดร้านขายเครื่องปรุงและผักผลไม้ไทย เพื่อรองรับการเปิดร้านอาหารไทยของบริษัทฯ และจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคชาวอินเดียทั่วไป โดยจะนำเข้าโดยตรงจากบริษัทส่งออกอาหารที่มีคุณภาพของไทยซึ่งผู้บริหารของบริษัทได้มีโอกาสพบระหว่างเยือนไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานเพื่อเตรียมการนำเข้าสินค้าอาหารไทยต่อไป
ท้ายนี้ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีนแก่ท่านผู้อ่านว่า บริษัทนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2529 โดยนาย Mahadevan มีธุรกิจด้านอาหารทั้งอาหารอินเดีย จีน และไทย มีทั้งร้านเดี่ยวและร้านตั้งอยู่ในศูนย์อาหารตามศูนย์การค้าต่างๆ มากที่สุดบริษัทหนึ่งในอินเดีย สำหรับร้านอาหารไทยนั้น ปัจจุบันบริษัทฯ มีร้านอาหารเบญจรงค์ และร้านเรือนไทยที่เมืองเจนไน กำลังจะเปิดเพิ่มที่เมืองไฮเดอราบัด และบังกาลอร์นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีกิจการร้านอาหารไทยในเมืองดูไบ และมีแผนจะขยายกิจการไปยังประเทศจีนอีกด้วยในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สามารถผลักดันนโยบาย “ครัวไทยสู่โลก” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในอินเดียตลาดสำคัญทั้งในด้านประชากรและด้านเศรษฐกิจการค้าของโลกได้สำเร็จ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่นายจีระศักดิ์ ธเนศนันท์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลีได้นำคณะนักธุรกิจชาวอินเดียด้านโรงแรมและร้านอาหารไปเยือนเมืองไทย เพื่อศึกษาดูงานที่สถาบันด้านการอาหารของไทย ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2549
หลังจากที่นาย Mathew Regi Mathew และนาย B. Srikanth ผู้บริหารของบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน ซึ่งเป็นเจ้าของร้านเบญจรงค์ที่เมืองเจนไน กลับจากการศึกษาดูงานในเมืองไทย เขาได้เล็งเห็นถึงลู่ทางที่จะขยายและพัฒนาธุรกิจอาหารไทยเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวอินเดีย 3 ประเภท ได้แก่ การเปิดร้านอาหารไทยแบบแฟรนไชส์ การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพ่อครัว-แม่ครัว การนำเข้าเครื่องปรุงและผักผลไม้ไทย
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่เป็นนักนิยมบริโภคคงจะรู้สึกยินดีปรีดาเช่นเดียวกับผู้เขียน ซึ่งเวลาเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอินเดีย มักจะอดคิดถึงอาหารไทยประเภทด่วนจานเดียวของเราไม่ได้ ดังนั้น เมื่อได้ข่าวว่าสองผู้บริหารของบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน มีความประสงค์จะซื้อลิขสิทธิ์จากศูนย์พัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลกเพื่อเปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ในอินเดีย จึงย่อมตื่นเต้นดีใจเป็นธรรมดาว่าไปอินเดียครั้งหน้าคงพอหาอาหารไทยรับประทานได้
ที่น่ายินดีเป็นครั้งที่สอง คือ ตั้งแต่ศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ของดร. ยุทธศักดิ์ สุภสร เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม ศกนี้ อินเดียนับเป็นประเทศแรกที่แสดงความสนใจจะขอซื้อลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง โดยจะเปิดร้านตามต้นแบบของศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ร้านรวมเส้น (อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว) ร้านข้าวแกง (อาหารจานด่วน) และร้านต้นหอม (อาหารระดับบน) โดยบริษัทฯ ได้จับจองพื้นที่ในย่านธุรกิจและศูนย์การค้าหลายแห่งของเมืองศุนย์กลางธุรกิจ 4 แห่ง คือ มุมไบ เจนไน บังกาลอร์ และไฮเดอราบัด ไว้แล้ว และบริษัทฯ ต้องการเริ่มธุรกิจร้านอาหารแฟรนไชส์โดยเร็ว เนื่องจากบริษัทฯ ได้เช่าสถานที่ล่วงหน้าไว้หลายแห่งโดยเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
สถานทูตได้ติดต่อศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ ให้เร่งพิจารณาข้อเสนอของบริษัทฯ และเชิญ ดร. ยุทธศักดิ์ฯ ผอ. ศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ เดินทางไปสำรวจสถานที่ที่บริษัทฯ เตรียมไว้สำหรับเปิดร้านแฟรนไชส์ที่เมืองเจนไนก่อนเป็นเมืองแรก รวมทั้งพบกับผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือรายละเอียดในการดำเนินการ บริษัทฯ พร้อมจะเป็นผู้บุกเบิกร้านอาหารไทยแฟรนไชส์ในอินเดียให้ได้ตามเป้าหมายที่ฝ่ายไทยต้องการ โดยยินดีจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์เป็นเงิน 3 % ของผลประกอบการเป็นค่าใช้บริการแก่ศูนย์ฯ
นอกจากการเปิดร้านแฟรนไชส์ในเมืองต่างๆ แล้วบริษัทฯ ยังมีแผนงานจะเปิดร้านอาหารไทยคุณภาพ ซึ่งอาจจะไม่ใช่แฟรนไชส์ทั้งหมดตามเมืองธุรกิจสำคัญของอินเดียให้ได้ครบ 25 ร้านทั่วอินเดีย
การเปิดร้านอาหารไทยเป็นจำนวนมากเช่นนี้ จำเป็นต้องมีพ่อครัว-แม่ครัวจำนวนมากเพื่อรองรับการขยายตัว ซึ่งในเรื่องนี้สถานทูตมีแผนที่จะจัดโครงการอบรมพ่อครัว-แม่ครัวอาหารไทยในอินเดีย โดยจะดำเนินการร่วมกับศูนย์พัฒนาอาหารไทยฯ และโรงเรียนการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนดุสิต ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ศกนี้ ที่กรุงนิวเดลี และหากได้ผลดีมีคนสนใจเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ก็จะทำต่อเนื่องทุกปี
และเพื่อส่งเสริมอาหารไทยให้ครบวงจร บริษัทโอเรียนเต็ล คูซีน มีแผนที่จะเปิดร้านขายเครื่องปรุงและผักผลไม้ไทย เพื่อรองรับการเปิดร้านอาหารไทยของบริษัทฯ และจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคชาวอินเดียทั่วไป โดยจะนำเข้าโดยตรงจากบริษัทส่งออกอาหารที่มีคุณภาพของไทยซึ่งผู้บริหารของบริษัทได้มีโอกาสพบระหว่างเยือนไทยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานเพื่อเตรียมการนำเข้าสินค้าอาหารไทยต่อไป
ท้ายนี้ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทโอเรียนเต็ล คูซีนแก่ท่านผู้อ่านว่า บริษัทนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2529 โดยนาย Mahadevan มีธุรกิจด้านอาหารทั้งอาหารอินเดีย จีน และไทย มีทั้งร้านเดี่ยวและร้านตั้งอยู่ในศูนย์อาหารตามศูนย์การค้าต่างๆ มากที่สุดบริษัทหนึ่งในอินเดีย สำหรับร้านอาหารไทยนั้น ปัจจุบันบริษัทฯ มีร้านอาหารเบญจรงค์ และร้านเรือนไทยที่เมืองเจนไน กำลังจะเปิดเพิ่มที่เมืองไฮเดอราบัด และบังกาลอร์นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีกิจการร้านอาหารไทยในเมืองดูไบ และมีแผนจะขยายกิจการไปยังประเทศจีนอีกด้วยในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-