สรุปภาวะการค้าไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- พ.ย.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 8, 2006 16:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก  (ม.ค.-พ.ย.48) มีมูลค่าการนำเข้ารวม  1,526,994.329 
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2548 (ม.ค.-พ.ย.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.18 มูลค่า 262,325.107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.37
- จีน ร้อยละ 14.60 มูลค่า 222,947.914 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.36
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.20 มูลค่า 155,723.910 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.61
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.28 มูลค่า 126,352.297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.54
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 17 สัดส่วนร้อยละ 1.19 มูลค่า 18,179.693 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.90
3. เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 ในปี 2549 ในขณะที่ปี 2548 ขยายตัวประมาณร้อยละ 3.4
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ (ม.ค.-ธ.ค. 2548) มูลค่า
17,064.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 15.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.03 หรือคิดเป็นร้อยละ 99.97 ของเป้าหมาย
การส่งออก สำหรับปี 2549 ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกไปตลาดนี้ 19,624 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
5.การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2547 2548 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547 2548
มูลค่าการค้า 19,656.45 20,688.79 22,732.18 25,748.34 -3.45 5.25 9.79 13.35
สินค้าออก 13,509.42 13,596.19 15,516.81 17,064.43 2.35 0.64 14.07 10.03
สินค้าเข้า 6,147.03 7,092.60 7,215.37 8,683.91 -14.14 15.38 1.60 20.50
ดุลการค้า 7,362.39 6,503.59 8,301.44 8,380.53 21.89 -11.66 27.65 0.94
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-ธ.ค. 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 78.80 ของมูลค่าการ
ส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่า
เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ และสินค้าที่ มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน ร้อยละ2548
ตลาด ม.ค.-ธ.ค47 ม.ค.-ธ.ค48 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ธ.ค 2547 ม.ค.-ธ.ค
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 100 มี 1 รายการ
(1) เม็ดพลาสติก 18 123.29 254.90 131.61 106.76 0.79 1.49
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูง
มากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
(1) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 14 200.68 324.20 123.52 61.55 1.29 1.90
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง
มากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 22 348.99 238.42 -110.57 -31.68 2.25 1.40
(2) แผงสวิสซ์และแผงควบคุม-กระแสไฟฟ้า 23 247.16 193.81 -53.35 -21.59 1.59 1.14
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
เม็ดพลาสติก (HS.3901 ) ETHYLENE, PRIMARY FORM
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 36.003 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.24 เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1,143.75 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,895.720 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
24.46 นำเข้าจาก แคนาดา เยอรมนี ไทย เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ย. 2548)
ผลิตภัณฑ์พลาสติก (HS. 3924) Tableware, Kitchenware, Other Household Articles and Toilet
Articles of Plastic
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 7 มูลค่า 26.416 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.13 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,323.084 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.35 นำเข้าจาก
จีน เม็กซิโก ไต้หวัน เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ย. 2548)
ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (HS.8803 ) Parts of Aircraft, Spacecraft
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 38 มูลค่า 0.943 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 0.02 ลดลงร้อยละ
38.38 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 4,857.862 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 นำเข้าจาก
ญี่ปุ่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ย. 2548)
แผงสวิสซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า (HS. 8504) ADP Power Supplies.PT
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 8 มูลค่า 168.040 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.30 ลดลงร้อยละ
8.06 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 7,311.951 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.35 นำเข้าจาก
จีน เม็กซิโก แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-พ.ย. 2548)
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปี 2005 ขยายตัวได้ดีเกินคาด ผลการสำรวจนักลงทุนทั่วโลกของเมอร์ริล ลินซ์
พบว่านักลงทุนริ่มคลายความเป็นห่วงเกี่ยวกับราคาน้ำมัน โดยให้ความเห็นว่าหากน้ำมันราคาสูงไม่เกิน 70 ดอลลาร์ต่อ
บาร์เรลในปี 2006 เศรษฐกิจโลกก็น่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจของสหรัฐก็จะยังขยายตัวได้ในอัตราใกล้เคียง
กับปี 2005 (3-3.5%) อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ของเมอร์ริล ลินซ์ ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวเพียง
2.5% ในปี 2006 ดังนั้นการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ แถลงผลงานและนโยบายประจำปีต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา
และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 โดยเรียกร้องให้สภาฯ อนุมัติงบประมาณ 5,900 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับ
ปีงบประมาณ 2006 โดยมุ่งเน้นเรื่องการวิจัย การพัฒนารวมถึงเรื่องการศึกษา ทั้งนี้ผู้นำสหรัฐฯ ยอมรับว่ามีการแข่งขันทาง
เศรษฐกิจโลกมากขึ้น เนื่องจากการค้าของประเทศจีน และอินเดีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ
ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มเจตนารมณ์ภาครัฐในด้านการวิจัยวิทยาศาศตร์กายภาพใน
ทศวรรษหน้า เพื่อสำรวจลู่ทางในภาคที่มีศักยภาพสูง เช่น นาโนเทคโนโลยี ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และแหล่งพลังงานทางเลือก
นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนด้านนวัตกรรม และผลักดันให้เด็กอเมริกันเชี่ยวฃาญมากขึ้นด้าน
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นการสอนด้านการวิเคราะห์และทักษะในการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันประธานาธิบดีบุช
ยังประกาศนโยบายว่าสหรัฐฯ ต้องไม่พึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง โดยจะลดการนำเข้าร้อยละ 75 ภายในปี 2568
พร้อมประกาศการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับกำเนิดพลังงานและเปลี่ยนไปใช้พาหนะที่ใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น
เมื่อกลางเดือนมกราคม 2549 คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้า
แห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันจัดสัมมนา FTA ไทย-สหรัฐฯ โดย
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจากลุ่มเปิดตลาดสินค้า ได้กล่าวถึง
ประเด็นสำคัญในการทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ว่า
- สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย และมีแนวโน้มว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ใน
ขณะที่การแข่งขันในเศรษฐกิจโลกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศจีนและประเทศที่สหรัฐฯ ทำข้อตกลง FTA
ด้วยเช่นกลุ่มประเทศอเมริกากลาง (CAFTA) ในสินค้าอาหารสำเร็จรูป โทรทัศน์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ฉุดส่วนแบ่งการตลาด
ของสินค้าไทยในสหรัฐฯ ให้ลดลง อย่างต่อเนื่อง
- ประกอบกับความไม่แน่นอนของระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่สินค้า
ส่งออกของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยไทยมีการส่งออกภายใต้โครงการนี้ร้อยละ 20 ของการส่งออกทั้งหมดหรือเป็นประเทศ
ที่ใช้สิทธิ GSP สูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศอินเดีย แองโกลา และบราซิล ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าไทยที่ถูกตัดสิทธิ
ไปแล้ว 4 รายการและมีโอกาสสูงที่ไทยจะถูกตัดสิทธิการใช้ GSP เป็นการถาวร
ไทยและสหรัฐฯ ได้มีการเจรจาเรื่องการลดภาษีไปแล้ว 4 ครั้ง โดยทั้งสองฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนข้อตกลงการ
ลดภาษีเบื้องต้น ซึ่งครั้งล่าสุดสามารถตกลงลดภาษีเหลือศูนย์ทันทีไปแล้วประมาณ 70% นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเจรจาอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องรวมถึงมาตรการที่สามารถใช้บรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ
ได้จริง
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยถึงการส่งออกสินค้ากุ้งของไทยในปีที่ผ่านมาว่ามีปริมาณทั้งสิ้น 278,088
ตัน มูลค่า 70,364.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 โดยไทยส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก
ร้อยละ 54.98 ซึ่งนับว่าสินค้ากุ้งจากไทยยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันดพอควร แม้จะมิได้รับการยกเว้นการเก็บภาษี
ตอบโต้การทุ่มตลาด 5.95% (เอดี) จากสหรัฐฯ นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังคงบังคับให้ผู้นำเข้า(แต่ส่วนใหญ่ผลักภาระมาให้ผู้ส่งออก)
ต้องวางเงินค้ำประกัน (C-Bond) การนำเข้าล่วงหน้าในอัตรา 100% ของมูลค่าการนำเข้าปี 2547 คูณด้วยอัตราภาษีเอดี
ส่งผลให้ในปี 2548 ผู้ส่งออกของไทยต้องแบกรับภาระอย่างหนักในการการเสียภาษีทั้งสองดังกล่าว ซึ่งจากการเสียภาษี
C-Bond นับเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีนำเข้าและมีความไม่เป็นธรรมทางการค้าโดยในขณะนี้รัฐบาลไทย โดยกรมการค้า
ต่างประเทศอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นฟ้องต่อ WTO ให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการดังกล่าว ภายหลังจากที่อินเดียซึ่งถูก
สหรัฐฯ ใช้มาตรการเดียวกันได้ยื่นฟ้องต่อศาลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ไปแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่ง
หากอินเดียเป็นฝ่ายชนะ ไทยก็จะได้รับผลดีด้วยเช่นกัน
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ