นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศอาจชะลอตัวบ้างในไตรมาสที่ 4 แต่อุปสงค์ต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มที่จะดีต่อเนื่องในปี 2549 คณะกรรมการฯ ประเมินว่ายังคงมีแรงส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่น่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี
2. แรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ในเดือนธันวาคม แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้นจากร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ได้ปรับตัวดีขึ้นและเกินดุลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มชะลอลง แต่แรงกดดันด้านราคายังคงมีอยู่และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะต่อไปให้อยู่ในเป้าหมาย
คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 4.00 เป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี โดยมีผลทันที
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอุปสงค์ในประเทศอาจชะลอตัวบ้างในไตรมาสที่ 4 แต่อุปสงค์ต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มที่จะดีต่อเนื่องในปี 2549 คณะกรรมการฯ ประเมินว่ายังคงมีแรงส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่น่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี
2. แรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากร้อยละ 5.9 ในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ในเดือนธันวาคม แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้นจากร้อยละ 2.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ได้ปรับตัวดีขึ้นและเกินดุลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงมีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มชะลอลง แต่แรงกดดันด้านราคายังคงมีอยู่และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงติดลบ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่า ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะต่อไปให้อยู่ในเป้าหมาย
คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 4.00 เป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี โดยมีผลทันที
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--