แท็ก
อิเล็กทรอนิกส์
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่าการทำธุรกรรม e-Payment ในปี 48 อาจเพิ่มสูงถึง 100 ล้านล้านบาท นางเสาวณี สุวรรณชีพ
ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระหว่างเดินสายพบผู้ประกอบการธุรกิจ และองค์กรขนาดใหญ่
ที่ต้องใช้เช็คครั้งละมากๆ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร ซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ แม็คโคร โลตัส รวมทั้งผู้ประกอบการ
ธุรกิจการผลิต ให้หันมาทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช็ค หลังจากนั้น
จะดูกระแสตอบรับของบริษัทเหล่านี้ และนำมาตั้งเป้าหมายการใช้ e-Payment อีกครั้ง ทั้งนี้ ปี 47 การทำธุรกรรม
e-Payment มียอดสูงกว่าจีดีพีมาก โดยอยู่ที่ 52 ล้านล้านบาท คาดว่าในปี 48 ยอดการใช้ e-Payment อาจเพิ่มสูงถึง
100 ล้านล้านบาท ซึ่งสถาบันการเงินถูกกำกับดูแลโดย ธปท. แต่ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังไม่มีกฎหมายควบคุมดูแล
จึงต้องออกกฎหมายควบคุม ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4 ฉบับที่รอเสนอ ครม.เพื่อพิจารณา (เดลินิวส์, ไทยโพสต์)
2. ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในเดือน ม.ค.49 ลดลง 5% เทียบต่อปี นายเมตตา บันเทิงสุข
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในเดือน ม.ค.49
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 5% จากวันละ 844 พันบาร์เรล เหลือวันละ 802 พันบาร์เรล แต่จากวิกฤต
ราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงถึง 50% จาก 41.93 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
41.93 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และทำให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันในประเทศไทยถือว่า
ลดลงจากเดิม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปยังลดลงถึง 29.9%
เหลือเพียง 3.8 ล้านลิตร/วัน ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 50.4 ล้านลิตร/วัน ลดลง 9.4% และการใช้น้ำมัน
เบนซินออกเทน 95 และเบนซินออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 16.1 ล้านลิตร/วัน หรือลดลง 17.1% อนึ่ง นายเทียนไชย จงพีร์เพียร
นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย การนำเข้าสินค้าทุน
รวมทั้งสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ อาทิ เครื่องสำอาง และเครื่องประดับประเภททองคำ เป็นต้น (ข่าวสด)
3. คาดว่าแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 จะประกาศใช้ได้ในช่วงต้นเดือน มี.ค.นี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะเลขาสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการ
ร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 ว่า ขณะนี้ใกล้จะแล้วเสร็จ โดยได้ข้อสรุปแล้ว 5 หัวข้อจากทั้งหมด 7 หัวข้อ
และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ รายละเอียดของ 5 หัวข้อที่ได้ข้อสรุปแล้วคือ 1)
ด้านตราสารทุน โดยปรับสัดส่วนนักลงทุนสถาบันภายในระยะเวลา 5 ปีให้อยู่ในระดับ 40% 2) ตลาดตราสารหนี้ขยาย
ความพร้อมและเพิ่มนักลงทุนส่วนบุคคลให้มากขึ้น และจะให้มีการกำหนดผู้ดูแลสภาพคล่อง(มาร์เกตเมกเกอร์)ในตลาด
ตราสารหนี้ 3) จะมีการเพิ่มสถาบันตัวกลางเพื่อรองรับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชัน 4) การขยายความรู้ด้านตลาดทุน
โดยเป้าหมายเจาะกลุ่มสถาบันการศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ และ 5) เรื่องการกำกับ
ดูแลบริษัทจดทะเบียน ได้มีการแก้ไขกรอบการให้สิทธิประโยชน์นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ
ให้อยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
23 ก.พ. 49 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. เมื่อสัปดาห์
ที่แล้วลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี
15 ปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (Adjustable Rate Mortgages - ARM) เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้วลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.26 5.89 และ 5.32 ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 6.28 5.91 และ
5.36 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและ
ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.69 5.22 และ 4.16 ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี
15 ปี อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ขณะที่ค่าธรรมเนียมของ ARM อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ไม่เปลี่ยน
แปลงจากสัปดาห์ก่อน โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับต่ำรวม
ทั้งตลาดมีความเชื่อมั่นว่าธ. กลาง สรอ. จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีสำหรับเดือน มี.ค.49 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
1 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.พ. 49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีจากผลสำรวจความ
เห็นของชาวเยอรมนีประมาณ 2,000 คนโดย GfK ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทวิจัยตลาดชั้นนำของเยอรมนีสำหรับเดือน
มี.ค.49 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.8 จากระดับ 4.6 ในเดือน ก.พ.49 อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48
อย่างไรก็ดีหากมองที่องค์ประกอบย่อยของดัชนีดังกล่าวแล้วจะพบว่าลดลงทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย โดยองค์ประกอบ
ด้านแนวโน้มที่จะใช้จ่ายลดลงมากที่สุด จากระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ 20.3 ในเดือน ม.ค.49 ลงมาเหลือ 11.9
ในเดือน ก.พ.49 แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนอยู่ 24 จุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อไป
เช่นเดียวกับอีก 2 องค์ประกอบคือ ความคาดหวังเกี่ยวกับรายได้และความคาดหวังเกี่ยวกับวงจรธุรกิจที่ลดลงมา
อยู่ที่ระดับ 3.2 และ 22.3 ในเดือน ก.พ.49 จากระดับ 4.5 และ 23.5 ในเดือน ม.ค.49 ตามลำดับ
นักวิเคราะห์ชี้ว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นจากภาวะตลาดแรงงานที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
และราคาน้ำมันที่ยังแพงอยู่ในขณะนี้ ในขณะที่คาดว่าการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพและ
จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.ปีนี้และการเพิ่มอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปีหน้าจะมี
ส่วนช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะสั้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงมากที่สุดในรอบ 7 เดือน รายงานจาก
ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.49 ก.สถิติของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ม.ค.49 ของ
สิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.3 มากที่สุดในรอบ 7 เดือน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
และที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.48 รวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงและต้นทุนด้านการสื่อสาร
และขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้น และคาดว่า ธ.กลาง
สิงคโปร์อาจจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในการประชุมในเดือน เม.ย.นี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคน
เห็นว่าแม้จะมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้ออยู่บ้าง แต่คงไม่มากพอที่จะส่งผลให้ ธ.กลางสิงคโปร์ต้องเข้มงวด
นโยบายการเงินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า อาจจะ
ทำให้ ธ.กลางสิงคโปร์ปรับขึ้นค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่ทางการใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินก็ได้
ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ควบคุมนโยบายการเงินโดยใช้ช่วงความห่างของเงินดอลลาร์สิงคโปร์เปรียบเทียบกับ
เงินตราสกุลอื่นในระบบตะกร้าเงิน แทนที่จะควบคุมนโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยเหมือนกับที่ธนาคารกลาง
ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นใช้กัน โดยปัจจุบันมีนโยบายปล่อยให้ค่าเงินทยอยปรับขึ้นทีละน้อยเพื่อช่วยควบคุมภาวะ
เงินเฟ้อ ซึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและตลาดแรงงานที่ตึงตัวจะส่งผลให้ภาวะ
เงินเฟ้อในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ใน
เดือน ม.ค.49 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 เกือบถึงระดับสูงสุดที่ ธ.กลางสิงคโปร์คาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ
0.5-1.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงสูงสุดในรอบ
8 เดือนที่ร้อยละ 3.2 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 23 ก.พ.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า
ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ร้อยละ 3.2 เมื่อ
เทียบต่อเดือน หลังจากที่เดือน ธ.ค.48 ลดลงร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานมีสัดส่วนประมาณ 1
ใน 4 ของระบบเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีจำนวน 118 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม
โรงงานเคยลดลงมากที่สุดเมื่อเดือน พ.ค.48 ที่ร้อยละ 4.2 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
11.5 ซึ่งดีกว่าเดือน ธ.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.1 เนื่องจากผลผลิตสินค้าหมวดสุขภาพ วิศวกรรมขนส่ง
และหมวดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ผลผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตทั้งหมดนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เนื่องจากความต้องการสินค้าหมวด
เทคโนโลยีทั่วโลกหันกลับมาเพิ่มขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนกังวลว่าการฟื้นตัวของผลผลิตสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์จะชะลอตัว และฟื้นตัวเพียงระยะสั้นกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 15 ชะลอลงจากที่เคยเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเดือน ธ.ค.48 นอกจากนี้ การส่งออก
สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ม.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.5 เทียบต่อปี ลดลงจากเดือน ธ.ค.48
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะรายงานตัวเลขอย่างเป็นทางการ
ในวันจันทร์ที่ 27 ก.พ.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.พ. 49 23 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.484 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2961/39.5838 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.31375 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.68/ 14.93 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.31 56.24 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คาดว่าการทำธุรกรรม e-Payment ในปี 48 อาจเพิ่มสูงถึง 100 ล้านล้านบาท นางเสาวณี สุวรรณชีพ
ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระหว่างเดินสายพบผู้ประกอบการธุรกิจ และองค์กรขนาดใหญ่
ที่ต้องใช้เช็คครั้งละมากๆ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร ซูเปอร์มาร์เก็ต อาทิ แม็คโคร โลตัส รวมทั้งผู้ประกอบการ
ธุรกิจการผลิต ให้หันมาทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าเช็ค หลังจากนั้น
จะดูกระแสตอบรับของบริษัทเหล่านี้ และนำมาตั้งเป้าหมายการใช้ e-Payment อีกครั้ง ทั้งนี้ ปี 47 การทำธุรกรรม
e-Payment มียอดสูงกว่าจีดีพีมาก โดยอยู่ที่ 52 ล้านล้านบาท คาดว่าในปี 48 ยอดการใช้ e-Payment อาจเพิ่มสูงถึง
100 ล้านล้านบาท ซึ่งสถาบันการเงินถูกกำกับดูแลโดย ธปท. แต่ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังไม่มีกฎหมายควบคุมดูแล
จึงต้องออกกฎหมายควบคุม ซึ่งขณะนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4 ฉบับที่รอเสนอ ครม.เพื่อพิจารณา (เดลินิวส์, ไทยโพสต์)
2. ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในเดือน ม.ค.49 ลดลง 5% เทียบต่อปี นายเมตตา บันเทิงสุข
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยในเดือน ม.ค.49
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 5% จากวันละ 844 พันบาร์เรล เหลือวันละ 802 พันบาร์เรล แต่จากวิกฤต
ราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงถึง 50% จาก 41.93 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
41.93 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และทำให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันในประเทศไทยถือว่า
ลดลงจากเดิม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปยังลดลงถึง 29.9%
เหลือเพียง 3.8 ล้านลิตร/วัน ส่วนการใช้น้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับ 50.4 ล้านลิตร/วัน ลดลง 9.4% และการใช้น้ำมัน
เบนซินออกเทน 95 และเบนซินออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 16.1 ล้านลิตร/วัน หรือลดลง 17.1% อนึ่ง นายเทียนไชย จงพีร์เพียร
นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย การนำเข้าสินค้าทุน
รวมทั้งสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ อาทิ เครื่องสำอาง และเครื่องประดับประเภททองคำ เป็นต้น (ข่าวสด)
3. คาดว่าแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 จะประกาศใช้ได้ในช่วงต้นเดือน มี.ค.นี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะเลขาสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการ
ร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 ว่า ขณะนี้ใกล้จะแล้วเสร็จ โดยได้ข้อสรุปแล้ว 5 หัวข้อจากทั้งหมด 7 หัวข้อ
และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือน มี.ค.นี้ ทั้งนี้ รายละเอียดของ 5 หัวข้อที่ได้ข้อสรุปแล้วคือ 1)
ด้านตราสารทุน โดยปรับสัดส่วนนักลงทุนสถาบันภายในระยะเวลา 5 ปีให้อยู่ในระดับ 40% 2) ตลาดตราสารหนี้ขยาย
ความพร้อมและเพิ่มนักลงทุนส่วนบุคคลให้มากขึ้น และจะให้มีการกำหนดผู้ดูแลสภาพคล่อง(มาร์เกตเมกเกอร์)ในตลาด
ตราสารหนี้ 3) จะมีการเพิ่มสถาบันตัวกลางเพื่อรองรับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชัน 4) การขยายความรู้ด้านตลาดทุน
โดยเป้าหมายเจาะกลุ่มสถาบันการศึกษาทั้งระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนทุกแห่งทั่วประเทศ และ 5) เรื่องการกำกับ
ดูแลบริษัทจดทะเบียน ได้มีการแก้ไขกรอบการให้สิทธิประโยชน์นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ
ให้อยู่แล้ว (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่
23 ก.พ. 49 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. เมื่อสัปดาห์
ที่แล้วลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี
15 ปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (Adjustable Rate Mortgages - ARM) เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้วลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.26 5.89 และ 5.32 ตามลำดับ ลดลงจากร้อยละ 6.28 5.91 และ
5.36 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีและ
ARM อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.69 5.22 และ 4.16 ตามลำดับ ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี
15 ปี อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ขณะที่ค่าธรรมเนียมของ ARM อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ไม่เปลี่ยน
แปลงจากสัปดาห์ก่อน โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับต่ำรวม
ทั้งตลาดมีความเชื่อมั่นว่าธ. กลาง สรอ. จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
จำนองจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีสำหรับเดือน มี.ค.49 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ
1 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.พ. 49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีจากผลสำรวจความ
เห็นของชาวเยอรมนีประมาณ 2,000 คนโดย GfK ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทวิจัยตลาดชั้นนำของเยอรมนีสำหรับเดือน
มี.ค.49 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.8 จากระดับ 4.6 ในเดือน ก.พ.49 อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48
อย่างไรก็ดีหากมองที่องค์ประกอบย่อยของดัชนีดังกล่าวแล้วจะพบว่าลดลงทั้ง 3 องค์ประกอบย่อย โดยองค์ประกอบ
ด้านแนวโน้มที่จะใช้จ่ายลดลงมากที่สุด จากระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ 20.3 ในเดือน ม.ค.49 ลงมาเหลือ 11.9
ในเดือน ก.พ.49 แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนอยู่ 24 จุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อไป
เช่นเดียวกับอีก 2 องค์ประกอบคือ ความคาดหวังเกี่ยวกับรายได้และความคาดหวังเกี่ยวกับวงจรธุรกิจที่ลดลงมา
อยู่ที่ระดับ 3.2 และ 22.3 ในเดือน ก.พ.49 จากระดับ 4.5 และ 23.5 ในเดือน ม.ค.49 ตามลำดับ
นักวิเคราะห์ชี้ว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นจากภาวะตลาดแรงงานที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
และราคาน้ำมันที่ยังแพงอยู่ในขณะนี้ ในขณะที่คาดว่าการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพและ
จะเริ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.ปีนี้และการเพิ่มอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในต้นปีหน้าจะมี
ส่วนช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะสั้น (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงมากที่สุดในรอบ 7 เดือน รายงานจาก
ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ.49 ก.สถิติของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ม.ค.49 ของ
สิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.3 มากที่สุดในรอบ 7 เดือน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
และที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.48 รวมถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงและต้นทุนด้านการสื่อสาร
และขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้น และคาดว่า ธ.กลาง
สิงคโปร์อาจจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นในการประชุมในเดือน เม.ย.นี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคน
เห็นว่าแม้จะมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้ออยู่บ้าง แต่คงไม่มากพอที่จะส่งผลให้ ธ.กลางสิงคโปร์ต้องเข้มงวด
นโยบายการเงินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า อาจจะ
ทำให้ ธ.กลางสิงคโปร์ปรับขึ้นค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่ทางการใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินก็ได้
ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ควบคุมนโยบายการเงินโดยใช้ช่วงความห่างของเงินดอลลาร์สิงคโปร์เปรียบเทียบกับ
เงินตราสกุลอื่นในระบบตะกร้าเงิน แทนที่จะควบคุมนโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยเหมือนกับที่ธนาคารกลาง
ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นใช้กัน โดยปัจจุบันมีนโยบายปล่อยให้ค่าเงินทยอยปรับขึ้นทีละน้อยเพื่อช่วยควบคุมภาวะ
เงินเฟ้อ ซึ่ง ธ.กลางสิงคโปร์กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและตลาดแรงงานที่ตึงตัวจะส่งผลให้ภาวะ
เงินเฟ้อในปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ใน
เดือน ม.ค.49 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 เกือบถึงระดับสูงสุดที่ ธ.กลางสิงคโปร์คาดการณ์ไว้ที่ประมาณร้อยละ
0.5-1.5 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงสูงสุดในรอบ
8 เดือนที่ร้อยละ 3.2 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 23 ก.พ.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า
ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.49 ลดลงสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ร้อยละ 3.2 เมื่อ
เทียบต่อเดือน หลังจากที่เดือน ธ.ค.48 ลดลงร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานมีสัดส่วนประมาณ 1
ใน 4 ของระบบเศรษฐกิจสิงคโปร์ที่มีจำนวน 118 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม
โรงงานเคยลดลงมากที่สุดเมื่อเดือน พ.ค.48 ที่ร้อยละ 4.2 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
11.5 ซึ่งดีกว่าเดือน ธ.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.1 เนื่องจากผลผลิตสินค้าหมวดสุขภาพ วิศวกรรมขนส่ง
และหมวดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ผลผลิตสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของ
ผลผลิตทั้งหมดนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เนื่องจากความต้องการสินค้าหมวด
เทคโนโลยีทั่วโลกหันกลับมาเพิ่มขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนกังวลว่าการฟื้นตัวของผลผลิตสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์จะชะลอตัว และฟื้นตัวเพียงระยะสั้นกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 15 ชะลอลงจากที่เคยเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เมื่อเดือน ธ.ค.48 นอกจากนี้ การส่งออก
สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ม.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.5 เทียบต่อปี ลดลงจากเดือน ธ.ค.48
ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.2 ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะรายงานตัวเลขอย่างเป็นทางการ
ในวันจันทร์ที่ 27 ก.พ.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.พ. 49 23 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.484 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2961/39.5838 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.31375 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.68/ 14.93 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.31 56.24 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--