1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ค่อนข้างทรงตัว โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัวร้อยละ 0.88 โดยลดลงในสินค้าในรายการต่างๆ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก เป็นต้น โดยในส่วนของเครื่องปรับอากาศยังคงทรงตัวในการผลิตเพื่อส่งออกตลาดสำคัญต่างๆ เช่น ในตลาดยุโรปจากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัว เนื่องจากในปีนี้มีการบังคับใช้กฎระเบียบ RoHS ทำให้ต้องรีบระบายสินค้าเก่าออกขายก่อนจึงมีคำสั่งซื้อใหม่เข้ามา ส่วนกระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ที่ปรับตัวลดลงเป็นเพราะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากสินค้าจีน โดยพบว่ามูลค่านำเข้าในส่วนเครื่องทำน้ำร้อนด้วยไฟฟ้าหรือกระติกน้ำร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ภาวะการส่งออกไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 380,342 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19 ในขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวป หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นต้น ในขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 305,213 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้าทั้งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 138 ทั้งนี้เนื่องจากชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เช่น จอ LCD ยังไม่สามารถผลิตได้ในไทยทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1 จากเครื่องปรับอากาศ กล้องวีดีโอ และกล้องถ่ายรูปดิจิทัล เป็นต้น ในขณะที่เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่ายประมาณ 59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากสินค้าในกลุ่มของ Personal Computer และ Cellular Phone ส่วนมูลค่าการจำหน่าย 6 เดือนแรกปี 2549 มีมูลค่าถึง 118 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 แม้ว่าจะต้องประสบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงขึ้นและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในหลายๆภูมิภาคก็ตาม แนวโน้มภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีโอกาสจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เนื่องจากจะเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนของการส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบของอียูซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวในการรับมือกับกฎระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ ปัจจัยราคาน้ำมันที่ยังคงผันผวนและอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกให้ลดลงได้2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.1 การผลิต ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนชะลอตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเกือบทุกประเภทสินค้า โดยเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิตมีการผลิตลดลงร้อยละ 13 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตลดลงร้อยละ 9 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงในตลาดยุโรป เนื่องจากการบังคับของกฎระเบียบอียูที่เริ่มบังคับใช้ในวนที่ 1 ก.ค. 49 ดังนั้นจึงต้องเร่งระบายสินค้าของเดิมก่อนการบังคับใช้ จึงมีคำสั่งซื้อเข้ามาใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยอยู่ในช่วงของการปรับตัวรองรับกฎระเบียบเช่นกัน สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6 และ 16 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงในส่วนของการผลิตเพื่อส่งออกและตลาดในประเทศเนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งพบว่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยมีมูลค่านำเข้ากระติกน้ำร้อนและหม้อหุงข้าวจากจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 และ 18 ตามลำดับ และเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดเล็กที่มีการผลิตที่ลดลง เนื่องจากความนิยมในตัวสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ประกอบกับราคาที่ลดลงมากของเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีการผลิตเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวลดลงจากสินค้าไมโครเวปและเครื่องเล่น DVD มีดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 22 และ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น จอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46 และกล้องถ่ายรูปดิจิดตอล ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2549 สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2549 ไตรมาส1 ปี 49(ร้อยละ) ไตรมาส 2 ปี 48 (ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 137.89 6.42 0.88 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 280.55 9.87 -12.92 คอนเดนซิ่งยูนิตเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 274.51 14.03 -8.52 แฟนคอยล์ซิ่งยูนิตคอมเพรสเซอร์ 148.95 -2.85 5.33 พัดลม 45.46 8.05 16.39 ตู้เย็น 218.26 2.52 10.08 กระติกน้ำร้อน 119.88 -26.55 -5.69 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 83.43 -9.88 -16.26 สายไฟฟ้า 140.22 -8.37 13.57 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 46.31 -2.26 -27.6 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 314.26 18.01 31.39 ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ดัชนีผลผลิตไตรมาส 2 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2549(ร้อยละ) ปี2548(ร้อยละ)Household electrical machinary 72.8 -1 -4 เครื่องปรับอากาศ 78.5 -6 -2 ไมโครเวป 25.7 25 -22 หม้อหุงข้าว 93.1 11 1 ตู้เย็น 62 -3 -8 พัดลม 82.1 -2 -2 เครื่องซักผ้า 59 2 -10 เครื่องรับโทรทัศน์สี n/a n/a n/a LCD 732.3 -1 46 เครื่องเล่น DVD 29.3 -5 -24 กล้องวีดีโอ Digital 85.9 -19 -11 กล้องถ่ายรูป Digital 394.4 12 33 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan 2.2 การตลาด จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เนื่องจากการขายในประเทศที่มีการขยายตัวจากกระแสฟุตบอลโลกและพัดลม 17 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นต้นตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2549สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 49(ร้อยละ) ไตรมาส 2 ปี 48 (ร้อยละ)เครื่องใช้ไฟฟ้า 91.95 9 1 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 282.64 8 -14 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 288.43 21 -9 คอมเพรสเซอร์ 171.89 -3 0 พัดลม 51.49 16 17 ตู้เย็น 218.06 3 9 กระติกน้ำร้อน 120.79 -25 1 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 83.82 -9 -15 สายไฟฟ้า 133.85 -8 12 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 49.38 5 -23 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 316.04 20 33 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าเครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องเล่น DVDที่มีการส่งสินค้าลดลงมากตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2 ปี 2549 ไตรมาส 1/2549 (ร้อยละ) ไตรมาส 2/2548(ร้อยละ)Household electrical machinary 91.4 -3 -4 เครื่องปรับอากาศ 80.8 -8 -11 ไมโครเวป 103.1 5 -4 เครื่องซักผ้า 99.6 1 0 หม้อหุงข้าว 103.6 -4 -1 ตู้เย็น 87.9 0 -2 พัดลม 88.2 -6 -2 เครื่องรับโทรทัศน์ 30.9 -11 -38 LCD 654.5 -1 36 เครื่องเล่น DVD 235.9 -1 -9 กล้องวีดีโอ Digital 102.1 -22 -7 กล้องถ่ายรูป Digital 453.9 6 27 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 141,639 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดหลักของการส่งออกได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกามีมูลค่าส่งออก 27,614 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 15 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าตลาดนี้ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถึงร้อยละ 12 ขณะที่ตลาดส่งออกหลักของไทยอื่นๆ ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออกเพียง 21,078 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเนื่องมาจากสินค้าบางตัว เช่น เครื่องปรับอากาศที่มียอดส่งออกมากที่สุดในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมีการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งในตลาดอียูนี้เป็นตลาดหลักในการส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทย ประกอบกับกฎระเบียบของอียูที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ทำให้ต้องเร่งระบายสินค้าเก่าออกไปก่อนการสั่งซื้อในรอบใหม่ขณะที่ มูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศลดลงในตลาดจีนเช่นกันซึ่งที่เป็นไปได้ว่าจะทำการส่งออกผ่านตลาดกลาง เช่น ฮ่องกง แล้วส่งไปขายต่อยังจีนโดยพบว่า ในตลาดฮ่องกง มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์มีมูลค่า 18,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ซึ่งขยายตัวในตลาดสหรัฐอเมริกา และ EU ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 และ 24 ตามลำดับ จากกระแสฟุตบอลโลกที่ผ่านไป นอกจากนี้ ยังคงขยายตัวในตลาดอินเดียถึงร้อยละ 35 รองลงมาคือ ตู้เย็น มีมูลค่า 6,874 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงแต่กลับชะลอตัวในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 22,954 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 5 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549รายการสินค้า มูลค่าส่งออกไตรมาส 2 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ปี 2549 (ล้านบาท) กับไตรมาส 1 ปี 2549 ไตรมาส 2 ปี 2548- เครื่องไฟฟ้ารวม 141,639 2 -1 - เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน 22,954 -7 -15 - เครื่องรับโทรทัศน์สี 18,854 56 26 - เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 11,452 -10 -15 - ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 6,874 -4 14 - ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ (สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 6,540 -2 -19 ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.3 การนำเข้า การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าทั้งสิ้น 109,139 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้ามาก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ (สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) มูลค่า 11,969 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 138 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเนื่องมาจากชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เช่น จอ LCD ยังไม่สามารถผลิตได้ในไทยทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วง 6 เดือนแรก ถึงร้อยละ 30 รองลงมาคือเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง, ภาพ มูลค่า 16,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ซึ่งการที่สินค้าเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ มีมูลค่านำเข้าขยายตัวอย่างมากดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้แผ่น CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น ตารางที่ 5 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2549 รายการสินค้า มูลค่าส่งออกไตรมาส 2 การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ปี 2549 (ล้านบาท) ไตรมาส 1 ปี 2549 ไตรมาส 2 ปี 2548 - เครื่องใช้ไฟฟ้ารวม 109,139 3 8 - เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 19,616 -0.06 -2 - เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 16,320 -6 11 - ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ (สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) 11,969 57 138 สายไฟ ชุดสายไฟ 5,439 -11 -3 - หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (เกิน 1KV แต่ไม่เกิน 10,000 KVA) 3,953 29 23 ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 การผลิต ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ขยายตัวเล็กน้อย โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส ที่ 2 ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ Other IC , HDD และ Monolithic IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 17 และ 14 ตามลำดับ เนื่องจากยอดขายคอมพิวเตอร์ในตลาดโลกของไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ความต้องการโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ถึงร้อยละ 10 ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ 40 ซึ่งเป็นการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ต้นปี โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิตลดลง รวมถึงราคาของจอประเภท LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง อย่างไรก็ตามแนวโน้มจะมีการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากประเทศจีนผลิต CRT ไม่ทันกับความต้องการ ทำให้เริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามา โดยในในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 มีการส่งออกไปยังตลาดจีน เพิ่มสูงขึ้นมากถึงร้อยละ 271 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 การตลาด ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี2549 มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยจากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 2 เนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมาได้ส่งสินค้าเพื่อป้อนตลาดในช่วงต้นปีแล้วประกอบกับในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้มีวันทำการน้อยกว่าปกติ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของ Other IC , HDD และ Monolithic IC ร้อยละ 41 18 และ 11 ตามลำดับ เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 จากการรายงานของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการขยายตัวเล็กน้อย โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.4 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในกลุ่ม Personal Computer , Cell Phone ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีการนำ Semiconductor ไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Product) มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตลาดส่งออก จากสถิติการส่งออกซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 238,703 ล้านบาท ทรงตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าที่มีการปรับลดลงได้แก่ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ลดลงร้อยละ 4 และ 6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับการส่งออกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 โดยสินค้าสำคัญที่ผลักดันให้มีการขยายตัว คือ ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและ ไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) และไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22 33 และ 50 ตามลำดับ โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐและอียูที่มีการขยายตัวสูงมากโดยมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงขึ้นจึงได้รวมไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำไว้ใน IC ด้วยแล้ว ตลาดส่งออกที่สำคัญของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 43,562 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ตลาดอาเซียนเป็นตลาดสำคัญที่มีสัดส่วนการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์สูงถึงร้อยละ 18 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการส่งออกในไตรมาส 2 ปี 2549 ที่ร้อยละ 17 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 3.3 การนำเข้า จากรายงานการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 พบว่ามีมูลค่ารวม 196,074 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าสำคัญที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ IC วงจรพิมพ์ และ Mobile Phone เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 1 และ 1 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากถึงร้อยละ 7 โดยสินค้าที่มีการนำเข้ามากยังคงเป็น วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ขยายตัวถึงร้อยละ 14 ซึ่งเป็นสินค้าที่มีการส่งออกลดลง ขณะที่มีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่ามีการลดการผลิตแผ่น (ยังมีต่อ)