กรุงเทพ--19 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 เวลาประมาณ 15.19 น. (เวลาท้องถิ่นอินโดนีเซีย) ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิบริเวณจังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.7 ตามมาตราริคเตอร์ มีศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเมืองบันดุงลงไปทางใต้ประมาณ 620 กม. (ห่างจากกรุงจาการ์ตา ประมาณ 750 กม.) ซึ่งทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูงประมาณ 3 เมตรในเวลาต่อมา
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
1. กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียได้แถลงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 304 คน ได้รับบาดเจ็บ 430 คน สูญหาย 150 คน และไม่มีที่อยู่อาศัยประมาณ 52,700 คน โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองตากอากาศ Pangandaran นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิด aftershock หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวอีกอย่างน้อย 5 ครั้ง
2. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา รายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 ว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลกับสมาคมนักเรียนไทยในเมืองยอกยาการ์ตาแล้ว ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีคนไทยอยู่ในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ อนึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ แจ้งด้วยว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นคนท้องถิ่นชาวอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในอินโดนีเซียทั้งสิ้น ประมาณ 900 คน (โดยครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษา) ส่วนใหญ่พำนักอยู่บนเกาะชวา ในกรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และเมืองเมดาน ส่วนที่ จ.ชวาตะวันตกที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ไม่ปรากฏว่ามีคนไทยอาศัยอยู่
3. กระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือคนไทยทันทีหากจำเป็นแล้ว และนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะได้มีสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono รวมทั้ง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็จะมีสารแสดงความเสียใจถึง Dr. Hassan Wirajuda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 เวลาประมาณ 15.19 น. (เวลาท้องถิ่นอินโดนีเซีย) ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิบริเวณจังหวัดชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.7 ตามมาตราริคเตอร์ มีศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเมืองบันดุงลงไปทางใต้ประมาณ 620 กม. (ห่างจากกรุงจาการ์ตา ประมาณ 750 กม.) ซึ่งทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิความสูงประมาณ 3 เมตรในเวลาต่อมา
ในการนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
1. กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียได้แถลงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 304 คน ได้รับบาดเจ็บ 430 คน สูญหาย 150 คน และไม่มีที่อยู่อาศัยประมาณ 52,700 คน โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองตากอากาศ Pangandaran นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิด aftershock หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวอีกอย่างน้อย 5 ครั้ง
2. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา รายงานเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2549 ว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลกับสมาคมนักเรียนไทยในเมืองยอกยาการ์ตาแล้ว ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีคนไทยอยู่ในบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ อนึ่ง สถานเอกอัครราชทูตฯ แจ้งด้วยว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นคนท้องถิ่นชาวอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคนไทยอาศัยอยู่ในอินโดนีเซียทั้งสิ้น ประมาณ 900 คน (โดยครึ่งหนึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษา) ส่วนใหญ่พำนักอยู่บนเกาะชวา ในกรุงจาการ์ตา เมืองยอกยาการ์ตา และเมืองเมดาน ส่วนที่ จ.ชวาตะวันตกที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ไม่ปรากฏว่ามีคนไทยอาศัยอยู่
3. กระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือคนไทยทันทีหากจำเป็นแล้ว และนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะได้มีสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono รวมทั้ง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็จะมีสารแสดงความเสียใจถึง Dr. Hassan Wirajuda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ต่อไปด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-