ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เห็นควรปรับปรุงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน โดยมีสาระสำคัญ คือ
1. ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ออกและไม่ขายตั๋วแลกเงินสกุลเงินบาทให้แก่ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ทุกอายุสัญญา
2. ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนกับ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(Non-resident)ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก ธปท. เป็นรายกรณี โดยธุรกรรมที่เสมือนการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) หรือเสมือนกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน และไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศรองรับ ให้ทำธุรกรรมได้รวมกันวงเงินคงค้างไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident)
3. อนุญาตให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยกับ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) โดยมีเงื่อนไขว่าธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่กินเงินต้น ทั้งนี้ หากมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ให้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศเทียบเท่า
4. อนุญาตให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงตราสารทุน และเครดิต กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมดังกล่าวกับลูกค้าในประเทศได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาต
5. เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศใน ASEAN+3* ผ่อนผันให้สถาบันการเงินซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและขายในประเทศไทย โดยผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ที่เป็นนิติบุคคลในประเทศ ASEAN+3 จากเดิมที่อนุญาตให้ซื้อได้เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ ทั้งนี้ เงินบาทที่ระดมได้สามารถนำไปใช้เพื่อการค้าการลงทุนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่หากประสงค์จะนำเงินไปใช้ในประเทศอื่นให้แลกเปลี่ยน (Swap) เป็นเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศก่อนส่งออก ห้ามโอนเงินบาทออกไป
6. ให้สถาบันการเงินสามารถค้ำประกันพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกและ ขายโดยผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สหภาพพม่า สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกจำหน่ายในประเทศไทยได้เป็นการทั่วไป จากเดิม ซึ่งการค้ำประกันต้องขออนุญาต ธปท. เป็นรายกรณี
นอกเหนือจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของมาตรการฯ ข้างต้น ธปท. เห็นควรยกเลิกหนังสือเวียนเกี่ยวกับมาตรการป้องปรามฯ ตั้งแต่ปี 2541 จำนวน 20 ฉบับ และรวบรวมหลักเกณฑ์ พิธีปฏิบัติต่างๆ ของมาตรการป้องปรามฯ ด้านต่างๆ ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อประโยชน์และ ความสะดวกในการอ้างอิงและปฏิบัติของสถาบันการเงิน ดังมีรายละเอียดตามหนังสือเวียน ที่ ธปท.ฝกช. (02) ว. 1593/2549 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป
* ASEAN + 3 หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ + จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ออกและไม่ขายตั๋วแลกเงินสกุลเงินบาทให้แก่ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ทุกอายุสัญญา
2. ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนกับ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(Non-resident)ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก ธปท. เป็นรายกรณี โดยธุรกรรมที่เสมือนการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) หรือเสมือนกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน และไม่มีการค้าการลงทุนในประเทศรองรับ ให้ทำธุรกรรมได้รวมกันวงเงินคงค้างไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident)
3. อนุญาตให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยกับ ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) โดยมีเงื่อนไขว่าธุรกรรมดังกล่าวต้องไม่กินเงินต้น ทั้งนี้ หากมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ให้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศเทียบเท่า
4. อนุญาตให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงตราสารทุน และเครดิต กับผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) เพื่อบริหารความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมดังกล่าวกับลูกค้าในประเทศได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาต
5. เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศใน ASEAN+3* ผ่อนผันให้สถาบันการเงินซื้อพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกและขายในประเทศไทย โดยผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ที่เป็นนิติบุคคลในประเทศ ASEAN+3 จากเดิมที่อนุญาตให้ซื้อได้เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกโดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างประเทศ และสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ ทั้งนี้ เงินบาทที่ระดมได้สามารถนำไปใช้เพื่อการค้าการลงทุนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่หากประสงค์จะนำเงินไปใช้ในประเทศอื่นให้แลกเปลี่ยน (Swap) เป็นเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศก่อนส่งออก ห้ามโอนเงินบาทออกไป
6. ให้สถาบันการเงินสามารถค้ำประกันพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกและ ขายโดยผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สหภาพพม่า สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกจำหน่ายในประเทศไทยได้เป็นการทั่วไป จากเดิม ซึ่งการค้ำประกันต้องขออนุญาต ธปท. เป็นรายกรณี
นอกเหนือจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของมาตรการฯ ข้างต้น ธปท. เห็นควรยกเลิกหนังสือเวียนเกี่ยวกับมาตรการป้องปรามฯ ตั้งแต่ปี 2541 จำนวน 20 ฉบับ และรวบรวมหลักเกณฑ์ พิธีปฏิบัติต่างๆ ของมาตรการป้องปรามฯ ด้านต่างๆ ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เพื่อประโยชน์และ ความสะดวกในการอ้างอิงและปฏิบัติของสถาบันการเงิน ดังมีรายละเอียดตามหนังสือเวียน ที่ ธปท.ฝกช. (02) ว. 1593/2549 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป
* ASEAN + 3 หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ + จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--