แท็ก
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กระทรวงการต่างประเทศ
นายกรัฐมนตรี
คิง พาวเวอร์
บางกอกแร้นช์
ออสเตรเลีย
กรุงเทพ--27 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting) ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2550 และร่วมคณะนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2550 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย
หัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ “Strengthen Our Community, Building a Sustainable Future” โดยมีเป้าหมายผลักดันความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงและส่งเสริมการหารือนโยบายเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางมนุษย์ การพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเปคด้านความมั่นคงพลังงานและพลังงานสะอาด และการปฏิรูปเอเปคอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยเตรียมผลักดันความร่วมมือสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การรับรองเอกสารผู้นำเรื่อง Regional Economic Integration (REI) 2) การประกาศแถลงการณ์แยกของผู้นำเรื่อง Climate Change, Energy Security and Clean Development 3) การเสนอประเด็นปฏิรูปเอเปค ที่เกี่ยวกับ การแต่งตั้ง Executive Director อาชีพ การจัดตั้ง Policy Support Unit และการเพิ่มค่าสมาชิกประจำปี 30% เท่าเทียมกันทุกเขตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศไทยคาดว่าจะสามารถจัดทำ Model Measures for Regional Trade Agreement (RTA)/Free Trade Agreement (FTA) ให้แล้วเสร็จเพิ่มเติมอีก 3 — 5 ฉบับด้วย
ภายหลังการประชุมเอเปคแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ตามคำเชิญของ ASIA Society และ Australia-Thailand Business Council ที่นครเมลเบิร์น ในวันที่ 11 กันยายน 2550 ในโอกาสดังกล่าว จะเข้าพบปะหารือกับนาย John Brumby มุขมนตรีรัฐวิกตอเรียคนใหม่ด้วย
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประชุมเอเปค
สมาชิกเอเปคมีทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
กลุ่มสมาชิกเอเปคมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันกว่า 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก มีสัดส่วนการค้าร้อยละ 41 ของมูลค่าการค้าโลก และสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด
เป้าหมายของเอเปค (เป้าหมายโบกอร์) คือ การส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคโดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสำหรับสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020)
บทบาทของไทยในเอเปค
-ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งเอเปคในปี 2532
-ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2535 (ในครั้งนั้นยังเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี) และในปี 2546 ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำ ภายใต้หัวข้อหลัก “A World of Differences: Partnership for the Future”
กำหนดการประชุมเอเปคที่สำคัญในปี 2550
15-26 มกราคม 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 1 (SOM I)
16-24 เมษายน 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 2 (SOM II)
22 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 3 (SOM III)
2-3 กันยายน 2550 การประชุมสรุประดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (CSOM)
5-6 กันยายน 2550 การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (AMM)
8-9 กันยายน 2550 การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (AELM)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting) ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2550 และร่วมคณะนายกรัฐมนตรีในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting) ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2550 ณ นครซิดนีย์ เครือรัฐออสเตรเลีย
หัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ “Strengthen Our Community, Building a Sustainable Future” โดยมีเป้าหมายผลักดันความร่วมมือระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ อาทิ การปรับปรุงและส่งเสริมการหารือนโยบายเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางมนุษย์ การพัฒนายุทธศาสตร์ของเอเปคด้านความมั่นคงพลังงานและพลังงานสะอาด และการปฏิรูปเอเปคอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยเตรียมผลักดันความร่วมมือสำคัญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การรับรองเอกสารผู้นำเรื่อง Regional Economic Integration (REI) 2) การประกาศแถลงการณ์แยกของผู้นำเรื่อง Climate Change, Energy Security and Clean Development 3) การเสนอประเด็นปฏิรูปเอเปค ที่เกี่ยวกับ การแต่งตั้ง Executive Director อาชีพ การจัดตั้ง Policy Support Unit และการเพิ่มค่าสมาชิกประจำปี 30% เท่าเทียมกันทุกเขตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศไทยคาดว่าจะสามารถจัดทำ Model Measures for Regional Trade Agreement (RTA)/Free Trade Agreement (FTA) ให้แล้วเสร็จเพิ่มเติมอีก 3 — 5 ฉบับด้วย
ภายหลังการประชุมเอเปคแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ตามคำเชิญของ ASIA Society และ Australia-Thailand Business Council ที่นครเมลเบิร์น ในวันที่ 11 กันยายน 2550 ในโอกาสดังกล่าว จะเข้าพบปะหารือกับนาย John Brumby มุขมนตรีรัฐวิกตอเรียคนใหม่ด้วย
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการประชุมเอเปค
สมาชิกเอเปคมีทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
กลุ่มสมาชิกเอเปคมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันกว่า 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก มีสัดส่วนการค้าร้อยละ 41 ของมูลค่าการค้าโลก และสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด
เป้าหมายของเอเปค (เป้าหมายโบกอร์) คือ การส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคโดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสำหรับสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020)
บทบาทของไทยในเอเปค
-ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งเอเปคในปี 2532
-ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2535 (ในครั้งนั้นยังเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี) และในปี 2546 ซึ่งเป็นการประชุมระดับผู้นำ ภายใต้หัวข้อหลัก “A World of Differences: Partnership for the Future”
กำหนดการประชุมเอเปคที่สำคัญในปี 2550
15-26 มกราคม 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 1 (SOM I)
16-24 เมษายน 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 2 (SOM II)
22 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2550 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 3 (SOM III)
2-3 กันยายน 2550 การประชุมสรุประดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (CSOM)
5-6 กันยายน 2550 การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค (AMM)
8-9 กันยายน 2550 การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (AELM)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-