กรุงเทพ--27 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2550 กระทรวงการต่างประเทศ โดยคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ จัดการสัมมนา “เยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดิน” ครั้งที่ 3 ร่วมกับผู้แทนจังหวัด โรงเรียนและนักเรียนจาก 21โรงเรียนนำร่องของ 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี อุทัยธานี อุบลราชธานี และชุมพร (รายชื่อโรงเรียนดังแนบ) โดยมีผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนารวม 125 คน
2. ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 09.00 น. ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีให้เกียรติกล่าวนำการสัมมนา และในเวลา 15.00 น. ฯพณฯ สวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานเปิดนิทรรศการผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 16.30 น. ฯพณฯ วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นประธานปิด และมอบประกาศนียบัตรแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมการสัมมนาฯ
3. “เยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดิน” เป็นโครงการบูรณาการริเริ่มในปี 2549 โดยคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์พร้อมด้วยสถานเอกอัครราชทูตไทยในยุโรปอีก 19 แห่ง โดยเน้นให้เยาวชนฝึกการบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอ (community service) เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะในตัวเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษา ให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของส่วนรวมมากขึ้น มีน้ำใจ รู้รักสามัคคีมีความสัตย์ซื่อ เกื้อกูลอาทรต่อกันในสังคมและเข้าใจในความพอเพียง เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีพื้นฐานคุณธรรม/จริยธรรมที่ดี มีความสมดุลในด้านจิตใจและสติปัญญา เป็นทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพของสังคมไทยที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและความเจริญของชาติในภายภาคหน้า
4. ในการดำเนินโครงการฯ นี้ คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรปฯ ได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดดังกล่าวโดยมีโรงเรียนเข้าร่วม 21 แห่ง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของโครงการฯ โดยเริ่มในปีการศึกษา 2549 แผนงานประกอบด้วยการสัมมนา 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2549 เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2549 เพื่อประเมินผล รูปแบบและการดำเนินกิจกรรมในช่วงครึ่งแรกของปีการศึกษา 2549 และการสัมมนาฯ ครั้งที่สามในวันที่ 27-28 กุมภพันธ์ 2550 เพื่อประเมินผลสรุปเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นวาระครบ 1 ปีการศึกษา
5. กิจกรรมในโครงการที่ดำเนินมาได้เน้นการริเริ่มและการร่วมกันลงมือทำโดยเด็กนักเรียนเองด้วยการแนะนำของครูร่วมกันกับครอบครัวและชุมชน โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย การเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ศาสนา/จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น และการดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ โดยโครงการฯ มีเป้าหมายว่าหากผลประเมินร่วมกันสรุปได้ว่ากิจกรรมของโครงการฯ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนอย่างแท้จริง ก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาจัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเต็มรูปแบบต่อไป
6. จากผลการสัมมนาครั้งที่สอง ที่ประชุมฯ มีข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการฯ ประสบผลสำเร็จด้วยดีโดยได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากโรงเรียน ผู้ปกครองของนักเรียนและชุมชน จึงได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบและพิจารณาเอกสารแนวคิดและผลสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ในช่วงแรกของจังหวัด/โรงเรียนนำร่องและโครงการต้นแบบพร้อมวิธีการจัดการที่สามารถดำเนินการได้โดยโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2549
7. ในการสัมมนาครั้งที่ 3 นี้ จะเป็นการสรุปประเมินผลขั้นสุดท้ายของโครงการฯ เพื่อกระทรวงการต่างประเทศนำผลที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการฯ ในภาพรวมทั้งหมด เสนอต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมทั่วประเทศในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปหรือในโอกาสแรกที่จะดำเนินการได้ต่อไป ทั้งนี้ โรงเรียนนำร่อง 21 แห่งได้จัดทำบอร์ดนิทรรศการเพื่อเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ณ โถงวิเทศสโมสร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจและสื่อมวลชนได้ชมผลงานของนักเรียนโรงเรียนนำร่อง
8. โครงการเยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดินเป็นหนึ่งในงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60ปี และต่อเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 และเป็นการต่อยอดโครงการยุวทูตความดีเฉลิมพระเกียรติที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (72 พรรษา) โดยโครงการยุวทูตความดีฯ ดำเนินอยู่ในระดับประถมศึกษา ส่วนโครงการเยาวชนนั้นไซร้ฯ เน้นระดับมัธยมศึกษา อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแสดงความห่วงพระราชหฤทัยต่อประเด็นพื้นฐานของคนไทยในชาติขาดวินัย ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบ ความสัตย์ซื่อ และการรู้รักสามัคคี อีกทั้งยังเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งเน้นคุณธรรมนำการศึกษา รวมทั้งการเสริมสร้างให้เยาวชนมีความตระหนักในความพอเพียงที่ดีด้วย
9. กระทรวงการต่างประเทศมีความตั้งใจและได้กำหนดเป็นระเบียบวาระที่จะมีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน โดยตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับเยาวชนในองค์รวม (holistic) เพื่อผลในการเพิ่มพูนความเข้มแข็ง/มั่นคงให้แก่ประเทศชาติในอนาคตซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในระเบียบวาระของชาติร่วมกันของทุกหน่วยงาน/องค์กร
10. กระทรวงการต่างประเทศมีแผนงานที่จะจัดตั้งองค์กรที่จะเป็นกลไกถาวรเพื่อดำเนินงานในลักษณะประจำในการประสานการดำเนินกิจกรรมในด้านนี้อนาคตระหว่างโรงเรียน หน่วยงานกับโรงเรียน สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทย และ/หรือกับองค์กร สมาคม ชุมชนต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน/ครู/ผู้บริหารกับต่างประเทศในอนาคต ฯลฯ รวมทั้งเพื่อรองรับหากโครงการเยาวชนนั้นไซร้ฯ ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรในระบบการศึกษาอย่างสมบูรณ์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
1. ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2550 กระทรวงการต่างประเทศ โดยคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ จัดการสัมมนา “เยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดิน” ครั้งที่ 3 ร่วมกับผู้แทนจังหวัด โรงเรียนและนักเรียนจาก 21โรงเรียนนำร่องของ 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี อุทัยธานี อุบลราชธานี และชุมพร (รายชื่อโรงเรียนดังแนบ) โดยมีผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนารวม 125 คน
2. ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 09.00 น. ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีให้เกียรติกล่าวนำการสัมมนา และในเวลา 15.00 น. ฯพณฯ สวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานเปิดนิทรรศการผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 16.30 น. ฯพณฯ วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นประธานปิด และมอบประกาศนียบัตรแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมการสัมมนาฯ
3. “เยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดิน” เป็นโครงการบูรณาการริเริ่มในปี 2549 โดยคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์พร้อมด้วยสถานเอกอัครราชทูตไทยในยุโรปอีก 19 แห่ง โดยเน้นให้เยาวชนฝึกการบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมอย่างสม่ำเสมอ (community service) เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะในตัวเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษา ให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของส่วนรวมมากขึ้น มีน้ำใจ รู้รักสามัคคีมีความสัตย์ซื่อ เกื้อกูลอาทรต่อกันในสังคมและเข้าใจในความพอเพียง เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีพื้นฐานคุณธรรม/จริยธรรมที่ดี มีความสมดุลในด้านจิตใจและสติปัญญา เป็นทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพของสังคมไทยที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและความเจริญของชาติในภายภาคหน้า
4. ในการดำเนินโครงการฯ นี้ คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรปฯ ได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดดังกล่าวโดยมีโรงเรียนเข้าร่วม 21 แห่ง เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของโครงการฯ โดยเริ่มในปีการศึกษา 2549 แผนงานประกอบด้วยการสัมมนา 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29-30 มิถุนายน 2549 เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 26-27 ตุลาคม 2549 เพื่อประเมินผล รูปแบบและการดำเนินกิจกรรมในช่วงครึ่งแรกของปีการศึกษา 2549 และการสัมมนาฯ ครั้งที่สามในวันที่ 27-28 กุมภพันธ์ 2550 เพื่อประเมินผลสรุปเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นวาระครบ 1 ปีการศึกษา
5. กิจกรรมในโครงการที่ดำเนินมาได้เน้นการริเริ่มและการร่วมกันลงมือทำโดยเด็กนักเรียนเองด้วยการแนะนำของครูร่วมกันกับครอบครัวและชุมชน โดยกิจกรรมหลักประกอบด้วย การเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ศาสนา/จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น และการดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ โดยโครงการฯ มีเป้าหมายว่าหากผลประเมินร่วมกันสรุปได้ว่ากิจกรรมของโครงการฯ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนอย่างแท้จริง ก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลพิจารณาจัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเต็มรูปแบบต่อไป
6. จากผลการสัมมนาครั้งที่สอง ที่ประชุมฯ มีข้อสรุปร่วมกันว่าโครงการฯ ประสบผลสำเร็จด้วยดีโดยได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากโรงเรียน ผู้ปกครองของนักเรียนและชุมชน จึงได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบและพิจารณาเอกสารแนวคิดและผลสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ในช่วงแรกของจังหวัด/โรงเรียนนำร่องและโครงการต้นแบบพร้อมวิธีการจัดการที่สามารถดำเนินการได้โดยโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2549
7. ในการสัมมนาครั้งที่ 3 นี้ จะเป็นการสรุปประเมินผลขั้นสุดท้ายของโครงการฯ เพื่อกระทรวงการต่างประเทศนำผลที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการฯ ในภาพรวมทั้งหมด เสนอต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาระดับมัธยมทั่วประเทศในปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปหรือในโอกาสแรกที่จะดำเนินการได้ต่อไป ทั้งนี้ โรงเรียนนำร่อง 21 แห่งได้จัดทำบอร์ดนิทรรศการเพื่อเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ณ โถงวิเทศสโมสร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจและสื่อมวลชนได้ชมผลงานของนักเรียนโรงเรียนนำร่อง
8. โครงการเยาวชนนั้นไซร้คือพลังแผ่นดินเป็นหนึ่งในงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศได้ริเริ่มขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60ปี และต่อเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 และเป็นการต่อยอดโครงการยุวทูตความดีเฉลิมพระเกียรติที่เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (72 พรรษา) โดยโครงการยุวทูตความดีฯ ดำเนินอยู่ในระดับประถมศึกษา ส่วนโครงการเยาวชนนั้นไซร้ฯ เน้นระดับมัธยมศึกษา อีกทั้งเพื่อตอบสนองต่อพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแสดงความห่วงพระราชหฤทัยต่อประเด็นพื้นฐานของคนไทยในชาติขาดวินัย ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบ ความสัตย์ซื่อ และการรู้รักสามัคคี อีกทั้งยังเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันซึ่งเน้นคุณธรรมนำการศึกษา รวมทั้งการเสริมสร้างให้เยาวชนมีความตระหนักในความพอเพียงที่ดีด้วย
9. กระทรวงการต่างประเทศมีความตั้งใจและได้กำหนดเป็นระเบียบวาระที่จะมีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน โดยตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับเยาวชนในองค์รวม (holistic) เพื่อผลในการเพิ่มพูนความเข้มแข็ง/มั่นคงให้แก่ประเทศชาติในอนาคตซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในระเบียบวาระของชาติร่วมกันของทุกหน่วยงาน/องค์กร
10. กระทรวงการต่างประเทศมีแผนงานที่จะจัดตั้งองค์กรที่จะเป็นกลไกถาวรเพื่อดำเนินงานในลักษณะประจำในการประสานการดำเนินกิจกรรมในด้านนี้อนาคตระหว่างโรงเรียน หน่วยงานกับโรงเรียน สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศในไทย และ/หรือกับองค์กร สมาคม ชุมชนต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน/ครู/ผู้บริหารกับต่างประเทศในอนาคต ฯลฯ รวมทั้งเพื่อรองรับหากโครงการเยาวชนนั้นไซร้ฯ ได้รับการบรรจุเป็นหลักสูตรในระบบการศึกษาอย่างสมบูรณ์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-