ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. ๒/๒๕๖๗ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป(ฉบับที่ ๖)
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้น
ที่ออกใหม่
?ประกาศตราสารหนี้ PO? ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วย การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ?perpetual bond? หุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ?issue rating? อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร ?issuer rating? อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ?guarantor rating? อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็น การค้ำประกันเต็มจำนวนที่มีผลบังคับให้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้โดย ไม่สามารถเพิกถอนได้ก่อนครบกำหนดอายุของหุ้นกู้ ?การปรับสิทธิ? เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิแปลงสภาพรวมทั้งวิธีการคำนวณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ซึ่งกำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ เพื่อมิให้ผลประโยชน์
ตอบแทนใด ๆ ที่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพจะได้รับ
เมื่อมีการใช้สิทธิแปลงสภาพด้อยไปกว่าเดิม
?การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพในราคาต่ำ? การเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพที่กำหนดราคา การใช้สิทธิแปลงสภาพในลักษณะเข้าข่าย เป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ ?การเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิในราคาต่ำ? การเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่กำหนด ราคาเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเมื่อรวมกับ ราคาใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นมีลักษณะเข้าข่ายเป็นการเสนอขาย หุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ ?การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ? การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่โดยกำหนดราคาเสนอขายไว้ ต่ำกว่าราคาตลาด ทั้งนี้ ราคาเสนอขายและราคาตลาดเป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการคำนวณราคาเสนอขายหลักทรัพย์และการกำหนดราคาตลาด เพื่อการพิจารณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในราคาต่ำ ?ตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน? ตราสารหนี้ GSSB และตราสารหนี้ SLB ?ตราสารหนี้ GSSB? ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond)ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (social bond) หรือ
ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond)
?ตราสารหนี้ SLB? ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability -linked bond) อันได้แก่ หุ้นกู้หรือพันธบัตร
ที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือ
หลายเรื่องดังต่อไปนี้ โดยอ้างอิงกับผลความสำเร็จ
หรือผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ด้านความยั่งยืนของผู้ออกตราสารหรือบริษัทในเครือ
(๑) การปรับอัตราดอกเบี้ย (๒) ภาระผูกพันในการดำเนินการใด ๆ ของผู้ออกตราสาร ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายหรือ
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของผู้ออกตราสาร
หรือบริษัทในเครือ
?ตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืน? ปัจจัยที่วัดผลความสำเร็จหรือผลการดำเนินการของผู้ออกตราสารหรือบริษัทในเครือ ในการจัดการ
ด้านความยั่งยืนในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคม
ซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจของผู้ออกตราสารหรือบริษัทในเครือ
และสามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้
?บริษัทในเครือ? บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทย่อยในลำดับเดียวกันหรือบริษัทร่วม ของผู้ออกตราสาร
?SPV? นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะได้กระทำภายใต้ พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ หรือไม่ก็ตาม ?โครงการ Securitization? โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ?Originator? ผู้ที่ประสงค์ให้สินทรัพย์ของตนเป็นสินทรัพย์ ในโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ?Servicer? ตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ผู้ให้บริการ เรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดจากการรับโอน สินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง และดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์ตามโครงการแปลงสินทรัพย์
เป็นหลักทรัพย์
?ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน? หุ้นกู้ที่ออกใหม่ประเภทไม่มีประกันที่มีการกำหนดให้สิทธิในการรับชำระหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยกว่าสิทธิของ
เจ้าหนี้สามัญและมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ในการนับเป็นเงินกองทุน โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
(๑) มีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถือหุ้นกู้ปลดหนี้ (๒) เป็นหุ้นกู้แปลงสภาพชนิดที่มีการกำหนดเงื่อนไขบังคับแปลงสภาพเป็นหุ้นที่ออกใหม่
ของผู้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ
?เงินกองทุน? เงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับองค์ประกอบของ
เงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน
ในประเทศซึ่งอ้างอิงจากหลักเกณฑ์ BASEL III หรือ
เงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยตามประกาศ
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
ประกันภัยเกี่ยวกับการกำหนดประเภทและชนิดของ
เงินกองทุน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการคำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย แล้วแต่กรณี
?บริษัทประกันภัย? บริษัทดังต่อไปนี้ (๑) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในส่วนที่ ๔ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน ของภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาต ให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๕/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ?ส่วนที่ ๔ ตราสารหนี้ SLB ๔.๑ หลักเกณฑ์การอนุญาตเพิ่มเติม ข้อ ๑ ตราสารหนี้ SLB ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในลักษณะขั้นบันไดตามเงื่อนไขที่กำหนดได้ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงลดลงต้องไม่ส่งผลให้ การชำระดอกเบี้ยงวดใดงวดหนึ่งมีอัตราเท่ากับหรือน้อยกว่าศูนย์ (๒) ไม่มีข้อตกลงใด ๆ ที่ทำให้ตราสารนั้นมีลักษณะทำนองเดียวกับหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ตามส่วนที่ ๖ ของภาคผนวกนี้ (๓) จัดให้มีผู้ประเมินภายนอกที่เป็นอิสระ (external review provider) เพื่อทำหน้าที่ดังนี้ (ก) ให้ความเห็นหรือรับรองเกี่ยวกับกรอบและลักษณะการเสนอขายตราสาร (framework) ว่าเป็นไปตามมาตรฐานสำหรับตราสารหนี้ SLB ที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศหรือระดับสากล เช่น International Capital Market Association Sustainability - Linked Bond Principles (ICMA SLBP) หรือ ASEAN Sustainability - Linked Bond Standards (ASEAN SLBS) เป็นต้น (ข) ให้ความเห็นหรือรับรองเกี่ยวกับผลความสำเร็จและการดำเนินการตามตัวชี้วัด และเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายหลังการออกตราสาร (๔) ไม่มีลักษณะเป็นตราสารที่ซับซ้อน เช่น หุ้นกู้ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หุ้นกู้เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน หรือ perpetual bond เป็นต้น ความในวรรคหนึ่ง (๓) มิให้นำมาใช้บังคับกับกรณีการยื่นคำขออนุญาตในลักษณะรายโครงการ โดยประสงค์จะเสนอขายตราสารหนี้ SLB ภายใต้โครงการดังกล่าว แต่จะมีการออกและเสนอขายในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ขออนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะสามารถจัดให้มีผู้ประเมินภายนอกที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ตาม หลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง (๓) เมื่อจะมีการออกและเสนอขายตราสารหนี้ SLB ในแต่ละครั้ง ข้อ ๒ ผู้ประเมินภายนอกที่เป็นอิสระต้องมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ หรือกลไก ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) การประเมินหรือให้การรับรองที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน (๒) การประเมินหรือให้การรับรองในด้านที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน หรือการวัดผลความสำเร็จ ของตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศหรือระดับสากล ๔.๒ เงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต ข้อ ๓ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ SLB รายงานข้อมูลตามรายการและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้บนเว็บไซต์ของสำนักงาน ข้อมูลที่ต้องรายงาน หลักเกณฑ์ในการรายงาน (๑) ผลความคืบหน้าหรือผลความสำเร็จ ตามตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืน (ก) รายงานต่อผู้ลงทุน ณ รอบปีประเมินผล จนกว่าจะครบอายุของตราสาร ตามวิธีการและระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ข) รายงานต่อสำนักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาต ได้มีการเปิดเผยรายงานตาม (ก) ต่อผู้ลงทุน (๒) ความเห็นหรือการรับรองเกี่ยวกับ ผลความคืบหน้าหรือผลความสำเร็จ ตามตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านความยั่งยืน ซึ่งผู้ประเมินภายนอกที่เป็นอิสระได้จัดทำขึ้น (๓) ผลการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือ แนวทางการดำเนินการตามภาระผูกพัน แล้วแต่กรณี ของตราสาร (๔) การเปลี่ยนแปลงผู้ประเมินภายนอก ที่เป็นอิสระ (ถ้ามี) (ก) รายงานต่อผู้ลงทุนตามวิธีการและระยะเวลา ที่ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ข) รายงานต่อสำนักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่แต่งตั้งผู้ประเมินภายนอก ที่เป็นอิสระรายใหม่ ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานตาม (ก) และ (ข) จนกว่าจะครบอายุของตราสาร? ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ ๙ ตราสารหนี้ GSSB ในภาคผนวก ๒ หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการอนุญาต และเงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต สำหรับการอนุญาตให้เสนอขาย ตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. ๑๕/๒๕๖๕ เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ต่อประชาชน เป็นการทั่วไป ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ?ส่วนที่ ๙ ตราสารหนี้ GSSB ๙.๑ เงื่อนไขเพิ่มเติมภายหลังการอนุญาต ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับอนุญาตให้เสนอขายตราสารหนี้ GSSB รายงานข้อมูลตามรายการและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้บนเว็บไซต์ของสำนักงาน ข้อมูลที่ต้องรายงาน หลักเกณฑ์ในการรายงาน (๑) ผลความคืบหน้าของโครงการ ซึ่งมีรายการและสาระสำคัญอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ๑. รายละเอียดโครงการ เช่น ชื่อโครงการ สถานที่ และลักษณะโครงการ เป็นต้น ๒. วัตถุประสงค์และประโยชน์ของโครงการ ๓. จำนวนเงินที่จัดสรรและยอดเงินคงเหลือ (ก) รายงานต่อผู้ลงทุนอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งจนกว่าจะจัดสรรเงินครบ หรือจนกว่าจะครบอายุของ ตราสาร แล้วแต่กรณีใดจะถึงก่อน ทั้งนี้ ตามวิธีการและระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ข) รายงานต่อสำนักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตได้ มีการเปิดเผยรายงานตาม (ก) ต่อผู้ลงทุน ข้อมูลที่ต้องรายงาน หลักเกณฑ์ในการรายงาน (๒) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อโครงการ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบโครงการ โครงการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เป็นต้น (ก) รายงานต่อผู้ลงทุนเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามวิธีการและระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตเปิดเผยไว้ใน แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ (ข) รายงานต่อสำนักงานและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้ผู้ได้รับอนุญาตรายงานตาม (ก) และ (ข) จนกว่าจะครบอายุของตราสาร? ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗(นางพรอนงค์ บุษราตระกูล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่มา: http://www.sec.or.th/