(ต่อ1) การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2544

ข่าวกฏหมายและประกาศ Saturday January 22, 2005 19:53 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

          (* ความในข้อ 12 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
ข้อ 13 ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนเปลี่ยนการประกอบธุรกิจเป็นการประกอบธุรกิจ การเปลี่ยนการ
โดยการถือหุ้นอันอาจมีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดหลักทรัพย์ อาจกำหนดให้ยื่นคำ ประกอบธุรกิจเป็น
ขอให้พิจารณาเสมือนเป็น การยื่นคำขอใหม่ได้ Holding
ข้อ 14 ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีการจัดตั้งบริษัทซึ่ง ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น การจัดตั้งบริษัท
เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทที่จัดตั้งใหม่ได้ยื่นคำขอ เพื่อประกอบธุรกิจ
ต่อตลาด หลักทรัพย์ให้รับหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแทนหลักทรัพย์ของบริษัท Holding
จดทะเบียน และบริษัทจดทะเบียนได้ยื่นคำขอจะเพิกถอนหลักทรัพย์ของตนจากการเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาให้รับหลักทรัพย์ของบริษัทที่จัดตั้งใหม่เป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียนแทนหลักทรัพย์จดทะเบียนเดิมได้
ข้อ 15 ในกรณีที่บริษัทซึ่งประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น ตามข้อ 14 ที่จัดตั้ง การยื่นคำขอให้รับ
โดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลาไม่ น้อยกว่า 1 ปี หลักทรัพย์อื่นของ
จะยื่นคำขอให้รับหลักทรัพย์ ประเภทอื่นนอกจากหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ บริษัท Holding
อาจพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ดังกล่าว โดยยกเว้นเรื่องคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่ต้องออก ที่จัดขึ้นใหม่
โดยบริษัทจดทะเบียนซึ่งมีหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
หมวด 3
การยื่นคำขอและการพิจารณารับหลักทรัพย์
ส่วนที่ 1
การยื่นคำขอ
ข้อ 16 ให้ผู้ยื่นคำขอยื่นขอจดทะเบียนหุ้นสามัญที่ออกทั้งหมด การยื่นขอจดทะเบียน
หุ้นสามัญทั้งหมด
ข้อ 17 ในการยื่นขอจดทะเบียนหุ้นบุริมสิทธิ ให้ผู้ยื่นคำ ขอยื่นขอจดทะเบียน การขอจดทะเบียน
พร้อมกับหรือภายหลังการยื่นขอจดทะเบียนหุ้น สามัญเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนให้ผู้ยื่นคำขอยื่น หุ้นบุริมสิทธิ
ขอจดทะเบียนหุ้นบุริมสิทธิที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันที่ออกทั้งหมดและทุกครั้งที่มีการออกหลักทรัพย์
ดังกล่าว
ผู้ยื่นคำขอไม่อาจยื่นคำขอให้รับหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อหุ้นสามัญ เหตุที่ทำให้ไม่อาจ
ของผู้ยื่นคำขออยู่ระหว่างการถูกสั่งห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เนื่องจากผู้ยื่นคำขอ ยื่นคำขอ
มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขเหตุแห่งการเพิกถอนหุ้นสามัญ เมื่อได้รับแจ้ง
เหตุดังกล่าวจากตลาดหลักทรัพย์
(2) อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
หรือ
(3) มีการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง
ข้อ 18 ผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับนี้ หรือผู้ยื่นคำขอที่มีคุณสมบัติ การขอจดทะเบียน
อื่นครบถ้วนตามข้อบังคับนี้ยกเว้นคุณสมบัติ เรื่องการกระจายการถือหุ้นรายย่อย อาจยื่นคำขอ หุ้นสามัญ
ให้ตลาดหลักทรัพย์พิจารณารับหุ้นสามัญที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 4 เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนได้
*ข้อ 19 ผู้ยื่นคำขอที่ต้องกระจายการถือหุ้นรายย่อยเพื่อให้มีคุณสมบัติครบถ้วน การกระจายการถือหุ้น
ต้องกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้แล้ว เสร็จภายใน 6 เดือนนับแต่ วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้ง ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน
ผลการพิจารณารับ หุ้นสามัญให้ทราบ
เมื่อมีเหตุจำเป็นและสมควร คณะกรรมการอาจผ่อนผันกำหนดเวลาการกระจาย
การถือหุ้นตามวรรคหนึ่งได้ โดยผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งขอผ่อนผันและชี้แจงเหตุผลเป็นหนังสือต่อคณะ
กรรมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ระยะเวลาผ่อน
ผันต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอที่มีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทมีความประสงค์จะ
ทยอยการกระจายการถือหุ้นรายย่อย โดยได้ยื่นแผนการกระจายการถือหุ้นรายย่อยต่อตลาดหลัก
ทรัพย์ในการยื่นขอจดทะเบียนหุ้นสามัญ คณะกรรมการอาจผ่อนผันกำหนดเวลาการกระจายการถือหุ้น
เป็นการเพิ่มเติมได้ หากผู้ยื่นคำขอนั้นเริ่มมีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนภายในกำหนดเวลาตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาผ่อนผันต้องไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่เริ่มทำการเสนอ
ขายหุ้นสามัญต่อประชาชน
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอตามวรรคสามไม่สามารถดำเนินการกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้
แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสาม ตลาดหลักทรัพย์อาจกำหนดให้หุ้นสามัญของผู้ยื่นคำขอ
ทำการซื้อขายตามวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดได้
(*ความในข้อ 19 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544)
ข้อ 20 หากมีเหตุการณ์หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการ การพิจารณาคุณสมบัติ
ดำเนินงานและฐานะการเงินของผู้ยื่นคำขอ ระหว่างที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ 19คณะกรรมการ ในของหลักทรัพย์
อาจ คุณสมบัติของหลักทรัพย์และของผู้ยื่นคำขอเสมือนเป็นการพิจารณาคำ ขอใหม่ได้ พิจารณาเสมือนเป็น
ข้อ 21 เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ตลาดหลักทรัพย์ อาจกำหนดให้ผู้ยื่นคำ การให้ยื่นคำขอใหม่
ขอที่ยังขาดคุณสมบัติเรื่องการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อ 19 ยื่นคำขอใหม่
(1) ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อยภายในกำหนดเวลาตามข้อ 19
(2) คณะกรรมการเห็นสมควรไม่ผ่อนผันกำหนดเวลาการกระจายการถือหุ้นรายย่อย
หรือ
(3) คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอภายหลังการกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อ 19 มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีผลให้คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอไม่ครบถ้วนตามข้อบังคับนี้
ข้อ 22 ให้ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์และเอกสารอื่นตามที่ตลาดหลักทรัพย์ วิธีการยื่นคำขอ
กำหนดพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ
ข้อ 23 ในการยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญ ผู้ยื่นคำขอต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่มี ที่ปรึกษาทางการเงิน
คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นผู้ร่วมจัดทำคำขอ
ส่วนที่ 2
การพิจารณารับหลักทรัพย์
ข้อ 24 ในระหว่างพิจารณาคำขอ หากผู้ยื่นคำขอประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลหรือ การแก้ไขเพิ่ม
เอกสารที่ยื่นไว้ต่อตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 22 ให้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมได้โดย ต้องแสดงข้อแตกต่าง เติมข้อมูล
และเหตุผล ให้ชัดเจน ยกเว้นคณะกรรมการเห็นว่าเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นสาระสำคัญ
อาจกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลเป็นการยื่นคำขอใหม่
ข้อ 25 ในการพิจารณาคำขอ ตลาดหลักทรัพย์อาจเรียก ให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจง การเรียกเอกสาร
ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ภายในเวลาที่กำหนด เพิ่มเติม
*ข้อ 26 ในการพิจารณาคำขอและสั่งรับหุ้นสามัญคณะกรรมการอาจมอบหมาย การพิจารณา
ให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติของหุ้นสามัญและผู้ยื่นคำขอและสั่งรับหุ้นสามัญ รับหุ้นสามัญ
ที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อเห็นว่าหุ้นสามัญดังกล่าวมีคุณสมบัติถูกต้องตามหลัก
เกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามข้อบังคับนี้
(*ความในวรรคหนึ่งของข้อ 26 เดิมถูกยกเลิก และใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อ
บังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2545)
ในการพิจารณาคำขอและสั่งรับหุ้นบุริมสิทธิ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ การพิจารณารับ
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติของหุ้น บุริมสิทธิ และสั่งรับหุ้นบุริมสิทธิ หุ้นบุริมสิทธิ
ที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อเห็นว่าหุ้นบุริมสิทธิดังกล่าวมีคุณสมบัติถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามข้อบังคับนี้ โดยการสั่งรับหุ้นบุริมสิทธิให้สั่งรับ
พร้อมกับหรือภายหลังการสั่งรับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ข้อ 27 ในระหว่างที่คณะกรรมการพิจารณาคำขอให้รับหุ้นสามัญ ห้ามผู้บริหาร การห้ามซื้อขาย
หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ยื่นคำขอตลอดจนผู้ที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวซื้อหรือขายหุ้นสามัญนั้น หุ้นระหว่าง
ทั้งนี้ ให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อมีการซื้อหรือขาย หรือสงสัยว่าจะมีการซื้อ พิจารณาคำขอ
หรือขายหุ้นสามัญของบุคคลดังกล่าว
หากมีการซื้อหรือขายหุ้นสามัญของบุคคลตามวรรคหนึ่งคณะกรรมการอาจไม่พิจารณา
คำขอของผู้ยื่นคำขอ
*ข้อ 28 คณะกรรมการจะพิจารณาคำขอให้รับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิให้เสร็จ ระยะเวลา
ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนจากผู้ยื่นคำขอแล้ว ในการพิจารณา
การนับเวลาตามวรรคหนึ่ง มิให้นับเวลาตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นคำขอได้ขอแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อมูลหรือเอกสารตามข้อ 24 หรือวันที่ตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งการตามข้อ 25 จนถึงวันที่ตลาด
หลักทรัพย์ได้รับข้อมูลหรือเอกสารโดยถูกต้องครบถ้วน
(*ความในข้อ 28 เดิมถูกยกเลิก และใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2545)
*ข้อ 29 ก่อนที่คณะกรรมการจะสั่งรับหุ้นสามัญของผู้ยื่นคำขอเป็นหลักทรัพยจดทะเบียน การห้ามขายหุ้น
ให้ผู้ยื่นคำขอห้ามบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนดนำหุ้นและหลักทรัพย์ออกขายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ภายในเวลาที่
คณะกรรมการกำหนด กำหนด
(*ความในวรรคหนึ่งของข้อ 29 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้สามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้รับหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นจากผู้ยื่นคำ
ขอหรือมีการใช้สิทธิแปลงสภาพหลักทรัพย์ดังกล่าวในระหว่างการห้ามขาย ให้ผู้ยื่นคำขอห้ามบุคคลนั้น
นำหลักทรัพย์ดังกล่าวออกขายด้วย
ข้อ 30 การพิจารณาคำขอให้รับหุ้นสามัญ ให้คณะกรรมการลง คะแนนเสียง การสั่งรับหลักทรัพย์
โดยเปิดเผย ยกเว้นกรรมการไม่น้อยกว่า 1 คนร้องขอ และที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้
ลงคะแนนลับ
ข้อ 31 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาคำขอแล้วเห็นว่าหุ้นสามัญที่ยื่นขอจดทะเบียน การลงนามในข้อ
มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามข้อบังคับนี้ให้ผู้ยื่นคำขอลงนาม ตกลงการจดทะเบียน
ในข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ (Listing Agreement) ก่อนที่คณะ
กรรมการจะสั่งรับหุ้นสามัญดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและคณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อน
ไขได้ตามที่เห็นสมควร
ในการลงนามของผู้ยื่นคำขอ ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันผู้ยื่นคำขอเป็นผู้
ลงนามโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของผู้ยื่นคำขอ
*ข้อ 32 ให้หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเริ่มทำการซื้อขาย วันเริ่มทำการ
ในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใน 2 วันทำการนับแต่วันที่สั่งรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ยกเว้นกรณี ซื้อขาย
ที่มีเหตุจำเป็นอันเป็นผลให้ไม่สมควรทำการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนั้นในตลาดหลักทรัพย์ภาย
ในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์กำหนดวันเริ่มทำการซื้อขายเป็นอย่างอื่นได้
(* ความในข้อ 32 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2547 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน
2547 เป็นต้นไป)
ข้อ 33 ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมในการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนตามอัตรา ค่าธรรมเนียม
และภายในเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ 34 ในกรณีบริษัทจดทะเบียนมีการเพิ่มทุนให้ยื่นขอจดทะเบียนหุ้นสามัญหรือหุ้น การรับหุ้นใน
บุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนในประเภทเดียวกันใน ส่วนเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ส่วนเพิ่มทุน
การพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์จดทะเบียนในส่วนเพิ่มทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
*ข้อ 34/1 เมื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน
"ตลาดหลักทรัพย์ใหม่" มีการเพิ่มทุนและทำให้ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ใหม่
และเงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 32ของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการดำรงสถานะ
เรื่อง การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่" พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม
2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการรับหลักทรัพย์จด
ทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่" (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ให้ถือ
ว่าคณะกรรมการได้สั่งรับหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อบังคับ
นี้ในวันเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปที่บริษัทจดทะเบียนมีทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญเป็นไปตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 32 ของข้อบังคับดังกล่าว
เมื่อหุ้นสามัญตามวรรคหนึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อบังคับนี้แล้ว ให้ถือว่าหลัก
ทรัพย์ประเภทอื่นซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนอยู่แล้วเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียน
ตามข้อบังคับนี้ในวันเดียวกันด้วย
(*ความในข้อ 34/1 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
*ข้อ 34/2 ให้หุ้นสามัญที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ 5/1 หรือข้อ 34/1 ทำ
การซื้อขายใน "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่" (Market for Alternative Investment)
ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามวรรคหนึ่งมีคุณสมบัติครบ
ถ้วนตามข้อบังคับนี้ บริษัทจดทะเบียนดังกล่าวอาจยื่นคำขอให้คณะกรรมการกำหนดให้หุ้นสามัญทำการ
ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand (SET))
ก็ได้ โดยคณะกรรมการอาจพิจารณาคำขอเสมือนหนึ่งการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์ใหม่
ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณายกเว้นคุณสมบัติในเรื่องการกระจายการถือหุ้นรายย่อย
ในการพิจารณาคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนที่ยื่นคำขอตามวรรคสองได้ตามที่เห็นสมควร
(*เพิ่มเติมความในข้อ 34/2 โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง
การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่
29 พฤศจิกายน 2547)
หมวด 4
เบ็ดเตล็ด
ข้อ 35 ให้บริษัทจดทะเบียนมอบหมายให้ตลาดหลักทรัพย์หรือบุคคล ภายนอก นายทะเบียน
ที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ จดทะเบียน หลักทรัพย์
ข้อ 36 ให้บริษัทจดทะเบียนปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หน้าที่ของบริษัท
หน้าที่ของบริษัท ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ มติคณะกรรมการ หรือข้อตกลงการจดทะเบียนหลัก
ทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ตลอดจนหนังสือเวียนของตลาดหลักทรัพย์โดยเคร่งครัด
ข้อ 37 คณะกรรมการมีอำนาจในการกำหนดแนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์ในการ อำนาจในการ
ดำรงสถานะของบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามข้อบังคับนี้ กำหนดแนวทาง
หมวด 5
บทเฉพาะกาล
ข้อ 38 ให้บรรดาข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อ 2 และคำสั่งหรือหนังสือเวียนเกี่ยวกับการรับหุ้นสามัญหรือหุ้น
บุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับยังคงใช้บังคับต่อไป
จนกว่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการใด ๆ ในเรื่องดังกล่าวขึ้นใหม่ออกใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม 2544
(ลงนาม) อมเรศ ศิลาอ่อน
(นายอมเรศ ศิลาอ่อน)
ประธานกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ