การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2544

ข่าวกฏหมายและประกาศ Saturday January 22, 2005 19:53 —ข้อบังคับและประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ

                          ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  
เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2544
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 170 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป ผลบังคับใช้
ข้อ 2 ให้ยกเลิก
(1) ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญ
หรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ. 2542 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2542
(2) ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญ
หรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543
ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้ นิยาม
"ตลาดหลักทรัพย์" หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
*"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการ
มอบหมายให้ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ตามข้อบังคับนี้ ให้
หมายความรวมถึงผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว ยกเว้นความในข้อ 19 ข้อ 20
ข้อ 21 ข้อ 26 ข้อ 33 และข้อ 37
(*บทนิยามคำว่า "คณะกรรมการ" เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2545)
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต." หมายความว่า ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
"หลักทรัพย์จดทะเบียน" หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการ
อนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
"ผู้ยื่นคำขอ" หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์ต่อตลาดหลักทรัพย์
"บริษัทจดทะเบียน" หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
"บริษัทย่อย" หมายความว่า บริษัทย่อยตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และคำว่า
"บริษัทที่ออกหลักทรัพย์" ตามประกาศดังกล่าวให้หมายความถึง "ผู้ยื่นคำขอ" ตามข้อบังคับนี้
"ผู้บริหาร" หมายความว่า ผู้บริหารตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
"ผู้มีอำนาจควบคุม" หมายความว่า ผู้มีอำนาจควบคุมตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
และคำว่า "บริษัท" ตามประกาศดังกล่าวให้หมายความถึง "ผู้ยื่นคำขอ" ตามข้อบังคับนี้
"ผู้ที่เกี่ยวข้อง" หมายความว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
*
"ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร" หมายความว่า ผู้มีอำนาจควบคุมและให้หมายความรวมถึง
ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลดังต่อไปนี้
(1) รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ
(2) กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร 4 รายแรกนับ
ต่อจากผู้จัดการลงมา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารรายที่ 4 ทุกราย ของ
ผู้ยื่นคำขอ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการ
จดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลดังกล่าวข้างต้น ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(3) ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5 ของทุนชำระแล้ว โดยให้นับรวมหุ้น
ที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ยกเว้นผู้ถือหุ้นนั้นเป็นบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย
กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญ หรือโครงการลงทุน
ที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมาย
(4) ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงกับผู้ยื่นคำขอในการห้ามนำหุ้นของผู้ยื่นคำขอที่ตนถือ
อยู่ออกขายภายในเวลาที่กำหนด *
"ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย" หมายความว่า ผู้ถือหุ้นสามัญที่มิได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการ
บริหาร
(*เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร" และ "ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อย"
โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544)
"ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" หมายความว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
และคำว่า "บริษัทที่ออกหลักทรัพย์" ตามประกาศดังกล่าวให้หมายความถึง"ผู้ยื่นคำขอ"ตามข้อบังคับนี้
"สาธารณูปโภคพื้นฐาน" หมายความว่า สิ่งก่อสร้างหรือระบบให้บริการที่จำเป็นต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังต่อไปนี้
(1) ระบบผลิตและจ่ายพลังงานไฟฟ้า
(2) ระบบการประปาและระบบการส่งน้ำ
(3) ระบบขนส่งภาคพื้นดินเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและแก้ไข
ปัญหาการจราจร
(4) ท่าเรือ สนามบิน
(5) ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
(6) ระบบควบคุมและป้องกันมลภาวะ
หมวด 1
คุณสมบัติของหลักทรัพย์
ข้อ 4 หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่อาจขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีคุณสมบัติดัง
ต่อไปนี้
(1) หุ้นสามัญ คุณสมบัติ
(ก) ชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด หุ้นสามัญ
(ข) ระบุชื่อผู้ถือ
(ค) ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้นสามัญ ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย และต้อง
ระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
(2) หุ้นบุริมสิทธิ คุณสมบัติ
(ก) ชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด หุ้นบุริมสิทธิ
(ข) ระบุชื่อผู้ถือ
(ค) ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้นบุริมสิทธิ ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย และ
ต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท
(ง) มีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ณ วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 50 ราย
หมวด 2
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
ส่วนที่ 1
ผู้ยื่นคำขอที่มีการประกอบธุรกิจ
ข้อ 5 ผู้ยื่นคำขอที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนหุ้นสามัญ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คุณสมบัติบริษัท
(1) สถานะ สถานะ
เป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
*(2) ทุนชำระแล้ว ทุนชำระแล้ว
มีทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
(*ความใน (2) ของข้อ 5 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน(ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(3) การกระจายการถือหุ้นรายย่อย การกระจายการ
*(ก) มีผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่น้อยกว่า 1,000 รายถือหุ้นรายย่อย
*(ข) ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยตาม (ก) ต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
ของทุนชำระแล้ว และผู้ถือหุ้นดังกล่าวแต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่
ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ใช้ในการซื้อขายหุ้นสามัญ
(*ความใน (ก) และ (ข) ของ (3) ของข้อ 5 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้
แทน โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลัก
ทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(ค) ให้ผ่อนผันการนับจำนวนผู้ถือหุ้นตาม (ก) และอัตราส่วนการถือหุ้นตาม
(ข) ในส่วนที่กองทุนรวมหรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายถือหุ้นอยู่ โดยให้นับเป็นผู้ถือ
หุ้นสามัญรายย่อย 10 รายต่อทุกร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่กองทุนรวมหรือโครงการลงทุนที่
ได้รับอนุมัติตามกฎหมายถืออยู่ แต่รวมกันไม่เกิน 100 ราย
(ง) มีการกระจายการถือหุ้นโดยเสนอขายหุ้นต่อประชาชนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ง.1) กรณีผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วน้อยกว่า 500 ล้านบาท จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
สะสมแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้ว
*(ง.2) กรณีผู้ยื่นคำขอมีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จำนวนหุ้นที่เสนอ
ขายสะสมแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้ว หรือต้องมีมูลค่าหุ้นสามัญที่คำนวณตาม
มูลค่าที่ตราไว้รวมแล้วไม่น้อยกว่า 75 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
(* ความใน (ง.2) ของ (3) ของข้อ 5 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน
โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวันที่24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
(ง.3) มีการเสนอขายหุ้นโดยผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
(ง.4) หุ้นที่เสนอขายต้องยื่นขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว ยกเว้น
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
*(4) ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน
(ก) มีผลการดำเนินงานไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนยื่นคำขอและมีการ
ดำเนินงานภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี
ก่อนยื่นคำขอ
ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเกิดจากการควบกิจการหรือการปรับโครงสร้างทางธุรกิจหรือมี
การรวมกิจการ ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณานับผลการดำเนินงานต่อเนื่องได้หากผู้ยื่นคำขอมีกลุ่ม
ผู้ถือหุ้นและมีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาตั้งแต่ก่อนการควบ
กิจการ การปรับโครงสร้างทางธุรกิจ หรือการรวมกิจการ
(ข) มีกำไรสุทธิในระยะเวลา 2 ปี หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ
รวมกันไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ
ตลาดหลักทรัพย์อาจพิจารณาผ่อนผันกำไรสุทธิตามวรรคหนึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอสามารถ
แสดงได้ว่า การที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเกิดจากต้นทุนทางการเงิน และภาย
หลังการเสนอขายหุ้นจะทำให้ผู้ยื่นคำขอสามารถดำเนินงานได้โดยมีกำไรสุทธิ
กำไรสุทธิข้างต้นให้หมายถึง กำไรสุทธิจากการดำเนินงานตามปกติหลังภาษีตามงบ
การเงินที่ผ่านการตรวจสอบหรือสอบทาน แล้วแต่กรณี จากผู้สอบบัญชีตามงบการเงินหรืองบการเงิน
รวม (ถ้ามี) ของผู้ยื่นคำขอ
(* ความใน (4) ของข้อ 5 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(5) ฐานะการเงินและสภาพคล่อง ฐานะการเงิน
(ก) แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอตามสภาพธุรกิจ และสภาพคล่อง
ที่เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
*(ข) มีส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
(* ความใน (ข) ของ (5) ของข้อ 5 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อ
บังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(6) การบริหารงาน การบริหารงาน
(ก) มีผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(ข) มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลัก
เกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(7) การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการและ
(ก) จัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) การควบคุมภายใน
ที่ดี โดยต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) คณะหนึ่ง เพื่อกำกับดูแลการดำเนิน
งานของผู้ยื่นคำขอให้ได้มาตรฐานและเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง โดยกรรมการตรวจสอบต้องมี
คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ให้ผู้ยื่นคำขอจัดทำและนำส่งรายชื่อ
และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบต่อตลาดหลักทรัพย์ ตามแบบที่ตลาดหลักทรัพย์
กำหนด
(ข) จัดให้มีระบบการควบคุมภายใน (InternalControl) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(8) ข้อบังคับบริษัท ข้อบังคับบริษัท
มีข้อบังคับของบริษัทและบริษัทย่อยที่มีข้อกำหนดครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน
ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต.
(9) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ความขัดแย้งทาง
ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะ ผลประโยชน์
กรรมการ ก.ล.ต. งบการเงินและ
(10) งบการเงินและผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชี
(ก) มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศ ก.ล.ต.
* - แก้ไขข้อยกเว้นขอผู้ยื่นคำขอที่ยื่นก่อน
(*ยกเลิกความในวรรคสองของ (ก) ของ (10) ของข้อ5 โดยข้อบังคับ แก้ไขข้อยกเว้นของ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์ ผู้ยื่นคำขอที่ยื่นก่อน
จดทะเบียน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวัน ที่ 24 มีนาคม 2546มี วันที่ 5 ก.ย. 47 วันที่ 5 ก.ย.47
ผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
(ข) ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
(11) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสำรอง
มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีพ
* ข้อ 5/1 กรณีผู้ยื่นคำขอที่มีทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญไม่น้อยกว่า 300 คุณสมบัติบริษัท
ล้านบาท และมีคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอตามข้อ 5 ยกเว้น คุณสมบัติด้งต่อไปนี้ ให้ผู้ยื่นคำขอที่
มีคุณสมบัติดังกล่าวยื่นคำขอจดทะเบียนหุ้นสามัญได้
(1) การกระจายการถือหุ้นรายย่อยตามข้อ 5 (3) (ก) และ (ข)
(2) ผลการดำเนินงานตามข้อ 5 (4) และ
(3) ส่วนของผู้ถือหุ้นตามข้อ 5 (5) (ข)
ผู้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งต้องมีคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเรื่องการกระจายการถือหุ้นราย
ย่อย ผลการดำเนินงาน และส่วนของผู้ถือหุ้นตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการรับหลัก
ทรัพย์จดทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่"
(*เพิ่มเติมความในข้อ 5/1 โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง
การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลง
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
ข้อ 6 กรณีผู้ยื่นคำขอลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานจะยื่นคำขอ คุณสมบัติทั่วไป
จดทะเบียนหุ้นสามัญ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
*(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 5 ยกเว้นเรื่องผลการดำเนินงาน
(*ความใน (1) ของข้อ 6 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
(2) มีการลงทุนในโครงการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ คุณสมบัติเพิ่มเติม
(ก) ได้รับสัมปทานจากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมี
อายุสัมปทานไม่น้อยกว่า 20 ปี และยังคงมีอายุสัมปทานเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 15 ปีนับแต่วันที่
ตลาดหลักทรัพย์ได้รับเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนจากผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอต้อง
ดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเกี่ยวกับการได้รับสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(ข) ได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการจากหน่วยงานราชการ หรือ
รัฐวิสาหกิจ หรือ
(ค) มีสัญญาขายสินค้าหรือให้บริการกับหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ
หรือวิสาหกิจเอกชน และสัญญาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในอนาคต
*(3) -
(*ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 6 โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2545 ลง
วันที่ 9 ตุลาคม 2545)
(4) มีแหล่งสนับสนุนทางการเงินที่ชัดเจนและเพียงพอในการดำเนินงาน
คุณสมบัติบริษัทที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ
*ข้อ 7 กรณีผู้ยื่นคำขอประกอบธุรกิจหลักในต่างประเทศจะยื่นขอจดทะเบียนหุ้น คุณสมบัติบริษัทที่
สามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 5 ข้อ 5/1 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี ประกอบธุรกิจใน
ต่างประเทศ
กรณีผู้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ การร่วมลงทุน
หน่วยราชการต่างประเทศ หรือนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ การร่วมลงทุน ต้องมี
เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) แสดงได้ว่าผู้ยื่นคำขอมีอำนาจในการจัดการและควบคุมกิจการ
(2) แสดงได้ว่าในการร่วมลงทุน ผู้ยื่นคำขอมีความรับผิดอย่างจำกัดตามกฎหมาย
(*ความในวรรคหนึ่งของ 7 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่ต่อไปนี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
ข้อ 8 กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและประกอบ คุณสมบัติบริษัท
ประกอบธุรกิจหลักในต่างประเทศจะยื่นคำขอ จดทะเบียนหุ้นสามัญ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ต่างประเทศ
*(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 5 ข้อ 5/1 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี ยกเว้นเรื่องสถานะ คุณสมบัติทั่วไป
ของผู้ยื่นคำขอ
(*ความใน (1) ของข้อ 8 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่ต่อไปนี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(2) มีการร่วมลงทุนกับบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มี กฎหมาย คุณสมบัติเฉพาะ
จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ โดยแสดงได้ว่าบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวมีอำนาจในการจัดการและควบคุม
กิจการ
(3) มีสำนักงานผู้แทนตั้งอยู่ในประเทศไทย และมีกรรมการบริหารที่มีสัญชาติไทย
ไม่น้อยกว่า 1 คนประจำอยู่ในสำนักงานนั้น
(4) มีกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่า 1 คนที่มีสัญชาติไทย
(5) มีการใช้มาตรฐานการบัญชีของไทย หรือมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
ของInternational Accounting Standards Committee
กรณีที่มาตรฐานการบัญชีตามวรรคหนึ่งมิได้กำหนดไว้ ให้ใช้มาตรฐานการบัญชีของ
American Institution of Certified Public Accountants หรือของ Financial
Accounting Standards Board
กรณีมิได้ใช้มาตรฐานการบัญชีของไทย ต้องระบุแหล่งที่มาของมาตรฐานการบัญชีที่ใช้
และแสดงผลต่างที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีนั้นเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการบัญชี
ของไทยด้วย
(6) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นหรือข้อตกลงพิเศษเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ของผู้ยื่น
คำขอตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทั้งนี้
เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
ส่วนที่ 2
ผู้ยื่นคำขอที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น (Holding Company)
ข้อ 9 ในส่วนนี้ นิยาม
"ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น" หมายความว่า ประกอบธุรกิจโดยมีรายได้จาก
การถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลักและไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง
"บริษัทแกน" หมายความว่า บริษัทที่ผู้ยื่นคำขอมีการถือหุ้นในลักษณะใดลักษณะ
หนึ่งดังต่อไปนี้
(1) มีการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
ของบริษัทนั้น ยกเว้นมีเหตุจำเป็นและได้รับผ่อนผันจากตลาดหลักทรัพย์ หรือ
(2) มีการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ
บริษัทนั้น เฉพาะกรณีบริษัทนั้นมีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน ยกเว้นมีเหตุจำ
เป็นและได้รับผ่อนผันจากตลาดหลักทรัพย์ หรือ
(3) มีการถือหุ้นตามอัตราที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ในกรณีที่บริษัทนั้นจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศ
ข้อ 10 กรณีผู้ยื่นคำขอประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นจะยื่นคำขอจดทะเบียน คุณสมบัติของบริษัท
หุ้นสามัญต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ Holding
*(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 5 ยกเว้นเรื่องผลการดำเนินงาน คุณสมบัติทั่วไป
(*ความใน (1) ของข้อ 10 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่นี้แทน โดยข้อบังคับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
(2) มีผู้บริหารส่วนใหญ่ของผู้ยื่นคำขอเป็นผู้บริหารส่วน ใหญ่ของบริษัท คุณสมบัติเฉพาะ
แกนและผู้บริหารดังกล่าวมีการจัดการในบริษัทแกนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนยื่นคำ
ขอยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ยื่นคำขอเป็นสถาบันการเงินซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลได้กำหนดหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับผู้บริหารไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(ก) บริษัทแกนมีการลงทุนในโครงการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน
*- แก้ไขข้อยกเว้นของ
(*ยกเลิกความในวรรคสองของ (2) ของข้อ 10โดย ข้อบังคับตลาด ผู้ยื่นคำขอที่ยื่นก่อน
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นปุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน วันที่ 5 ก.ย.47
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2546)
(3) แสดงได้ว่าผู้ยื่นคำขอมีอำนาจในการจัดการและควบคุมกิจการของบริษัทแกน และ
(4) ถือหุ้นในบริษัทแกนตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียน โดยอาจเปลี่ยนบริษัทแกน
ก็ได้ เมื่อพ้น 3 ปีนับแต่วันเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 11 บริษัทแกนที่ผู้ยื่นคำขอถือหุ้น ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คุณสมบัติบริษัทแกน
*(1) มีคุณสมบัติตามข้อ 5 หรือข้อ 5/1 หรือข้อ 6 คุณสมบัติทั่วไป
กรณีบริษัทแกนจัดตั้งตามกฎหมายต่างประเทศและมีการประกอบธุรกิจหลักในต่าง
ประเทศ ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามข้อ 8 (5) และ (6) ด้วย
ให้ยกเว้นคุณสมบัติเรื่องสถานะของผู้ยื่นคำขอ การกระจายการถือหุ้นรายย่อยและ
การมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ในการพิจารณาคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง
(*ความในวรรคหนึ่งของ (1) ของข้อ 11 เดิมถูกยกเลิกและใช้ความใหม่ต่อไปนี้แทน
โดยข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหลักทรัพย์
จดทะเบียน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547)
(2) ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน และ คุณสมบัติเฉพาะ
(3) มีการประกอบธุรกิจหลักเป็นของตนเอง
*ข้อ 12 การพิจารณาเกณฑ์กำไรสุทธิตามหมวดนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณา การพิจารณากำไรสุทธิ
จากกำไรสุทธิตามงบการเงินของบริษัทแกน รายได้และมูลค่าหุ้นสามัญ
ในกรณีที่บริษัทแกนมีงบการเงินรวม ให้พิจารณากำไรสุทธิ ตามงบการเงินรวม
ของบริษัทแกนแทน
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ