บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) ที่ ระดับ “BBB+” และยืนยันอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัทที่ระดับ “BBB” ด้วยแนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ” โดย อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของการค้าโลก รวมถึงสถานะทางการ ตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจผู้ประกอบการขนส่งทางเรือระดับภูมิภาคอันเนื่องมาจากความได้เปรียบในเรื่องขนาดของกองเรือ ความ ถี่ในการให้บริการ และอายุเฉลี่ยของกองเรือที่ยังต่ำ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงคณะผู้บริหารของบริษัทที่มีความสามารถและ ประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวลดทอนบางส่วนจากธรรมชาติที่ผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจขนส่งทาง เรือ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งฟื้นตัว และอุปทานส่วนเกินของเรือคาดว่าจะยัง คงกดดันความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในระยะสั้นและระยะปานกลางด้วย
แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” สะท้อนถึงผลประกอบการทางการเงินของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นแต่ยัง คงอ่อนตัว โดยที่บริษัทจะเผชิญกับความท้าทายในการปรับปรุงผลกำไรจากการดำเนินงานให้ได้ในช่วงที่ความสามารถในการขนส่ง สินค้ามีมากขึ้นและราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น แนวโน้มอันดับเครดิตอาจปรับเป็น “Stable” หรือ “คงที่” หากบริษัทประสบความ สำเร็จในการปรับปรุงอัตราผลกำไรและสามารถสร้างกระแสเงินสดที่เพียงพอในการชำระคืนหนี้และดูแลมิให้วงเงินสินเชื่อผิด เงื่อนไขเกินกว่าระดับที่กำหนด ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตอาจถูกปรับลดลงหากบริษัทไม่สามารถฟื้นกำไรจากการดำเนินงานจน สถานะสภาพคล่องลดต่ำลง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทอาร์ ซี แอล เป็นผู้ประกอบการกองเรือสินค้าขนาดเล็กหรือเรือฟีดเดอร์ (Feeder Business) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลทางสถิติของการท่าเรือสิงคโปร์และตัวแทนท้องถิ่นของ บริษัท บริษัทมีส่วนแบ่งสูงที่สุดในตลาดเรือขนส่งสินค้าขนาดเล็กระหว่างท่าเรือย่อยกับเรือเดินสมุทรในเส้นทางสิงคโปร์กับ ฟิลิปปินส์ กับมาเลเซีย และกับไทย ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความถี่ของการให้บริการต่อสัปดาห์และขนาดของกองเรือโดยเฉลี่ยที่มี ขนาดใหญ่ซึ่งสามารถขนส่งสินค้าได้เป็นจำนวนมาก บริษัทยังเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการ 30 รายที่มีกองเรือขนาดใหญ่ที่สุด โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2553 มีระวางบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสิ้น 54,570 ตู้ (Twenty-foot-equivalent Unit -- TEU) ซึ่งเป็นเรือของตนเองจำนวน 34 ลำและเรือเช่าระวาง 9 ลำ ความจุระวางในการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัทเพิ่มขึ้น ประมาณ 2% จากระดับ ณ สิ้นปี 2552 อัตราการใช้ประโยชน์ของกองเรือสำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้น เป็น 115% จากระดับ 101% ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยการเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงการฟื้นตัวของความต้องการขนส่งตู้ คอนเทนเนอร์อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก การที่เรือส่วนใหญ่ของบริษัทยังมีอายุน้อยโดยเฉลี่ยที่ประมาณ 11 ปีทำให้บริษัทได้ประโยชน์ในเรื่องของการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ต่ำ นอกจากนี้ การมีกองเรือ ขนาดใหญ่ยังทำให้ง่ายต่อการจัดตารางเวลาและความถี่ในการให้บริการมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นซึ่งมีกองเรือที่มีขนาดเล็ก กว่า อย่างไรก็ตาม การมีเรือในครอบครองจำนวนมากทำให้บริษัทไม่ได้รับประโยชน์จากอัตราค่าเช่าเรือที่อยู่ในระดับต่ำในช่วง ปี 2552-2553
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือมีลักษณะเป็นวงจรที่ขึ้นและลงเป็นอย่างมากซึ่งกินเวลารอบละ ประมาณ 5-6 ปี อุปสงค์ของธุรกิจเดินเรือเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้า โดยที่ภาวะเศรษฐกิจโลก มีผลกระทบต่อธุรกิจกองเรือฟีดเดอร์ (Shipper-owned Container -- SOC) ในขณะที่การค้าภายในภูมิภาคเอเซียเป็นปัจจัย สำคัญที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจเรือบริการขนส่งตู้สินค้าประจำเส้นทาง (Carrier-owned Container -- COC) ผลกระทบจากการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในปี 2552 โดยปริมาณการขนส่งของบริษัทลดลง 18% ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ ปริมาณการขนส่งสินค้าของธุรกิจกองเรือฟีดเดอร์ลดลงอย่างมากถึง 27% ในปี 2552 การที่ภาวะเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเซีย ยังคงเข้มแข็งกว่าในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าของธุรกิจเรือบริการขนส่งตู้สินค้าประจำเส้น ทางลดลงเพียง 9% ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ปริมาณการขนส่งสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการค้าโลกและภาวะเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเซียที่ยัง คงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อัตราค่าระวางของการขนส่งสินค้าทางเรือโดยเฉลี่ยของบริษัทปรับตัวลดลงอย่างมากจาก 201 ดอลลาร์ สหรัฐต่อตู้ในปี 2551 เป็น 176 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ในปี 2552 ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 190 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของปริมาณความต้องการขนส่งตู้สินค้าและการจัดการอุปทานส่วนเกินของระวาง บรรทุกสินค้าให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนไหวและระวางการบรรทุกสินค้าที่คาดว่าจะเพิ่ม ขึ้นปีละประมาณ 9% ในช่วงปี 2554-2555 จะยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกดดันการขึ้นค่าระวาง
ปริมาณการขนส่งสินค้าและค่าระวางที่ลดลงอย่างมากในปี 2552 ส่งผลให้รายได้ของบริษัทลดลงถึง 27% เมื่อเทียบ กับปี 2551 โดยอยู่ที่ระดับ 14,321 ล้านบาท แม้ปริมาณการขนส่งสินค้าและค่าระวางจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 9 เดือน แรกของปี 2553 แต่รายได้ของบริษัทกลับเพิ่มขึ้นเพียง 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ระดับ 11,588 ล้าน บาท ทั้งนี้เนื่องจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม กำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้หลังปรับค่าเช่าดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 8.4% จากที่มีผลขาดทุนจากการดำเนินงานต่อรายได้ที่ระดับ -9.0% ในปี 2552 เนื่องจากต้นทุนที่ลดลงประกอบกับปริมาณการขนส่งสินค้าและค่าระวางที่ปรับตัวสูงขึ้น
อัตราส่วนหนี้สินต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทลดลงจาก 54.6% ในปี 2552 เป็น 49.5% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 เนื่องจากบริษัทได้จ่ายชำระเงินกู้ยืมและเพิ่มทุนจำนวน 1,556 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน 2553 ในขณะที่อัตราส่วนกำไร ก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย (หลังปรับค่าเช่าดำเนินงาน) เพิ่มขึ้นจาก -2.3 เท่า ในปี 2552 เป็น 2.4 เท่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 วงเงินสินเชื่อส่วนใหญ่ของบริษัทได้มีการกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง กับผลประกอบการทางการเงินและหนี้สิน แม้ว่าผลประกอบการจะปรับตัวดีขึ้น แต่บริษัทยังคงมีความเสี่ยงจากการที่อัตราส่วนทาง การเงินที่เป็นเงื่อนไขในวงเงินสินเชื่อจะเกินกว่าระดับที่กำหนด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทมีประวัติที่ดีจึงคาดว่าจะได้รับการ ผ่อนปรนจากเจ้าหนี้ ปัจจุบันบริษัทได้รับการผ่อนปรนในการดำรงอัตราส่วนทางการเงินที่เป็นเงื่อนไขในวงเงินสินเชื่อจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จากเจ้าหนี้ 4 ราย และจนถึง 31 มีนาคม 2554 จากเจ้าหนี้ 2 ราย ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ