บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศผลอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 1,800 ล้านบาทของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “BBB” ในขณะเดียวกันก็คงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้มีประกันของบริษัทที่ ระดับ “BBB” และหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดเดิมที่ระดับ “BBB-” พร้อมแนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ” ด้วย โดยอันดับเครดิตของ หุ้นกู้ไม่มีประกันมีสถานะต่ำกว่าอันดับเครดิตองค์กร 1 ขั้นเนื่องจากลักษณะของความเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน อันดับเครดิตดัง กล่าวสะท้อนถึงฐานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งของบริษัทจากการเป็นผู้นำในธุรกิจให้บริการโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศ ไทย ตลอดจนคณะผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกดังกล่าวมีข้อจำกัดจากฐานะการเงินที่อ่อนแออันเป็น ผลมาจากการมีภาระหนี้จำนวนมาก ตลอดจนผลกระทบจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจหลัก ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบ ด้านโทรคมนาคม และความเสี่ยงในการกู้เงินเพื่อชำระหนี้ในอนาคต
แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” สะท้อนถึงแนวโน้มความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการหาแหล่งเงินเพื่อชำระ คืนหนี้ของบริษัทลูกของบริษัทคือทรูมูฟในปี 2556 โดยความเสี่ยงดังกล่าวมาจากหุ้นกู้ที่ใกล้ถึงกำหนดไถ่ถอนซึ่งมีมูลค่าสูงมากเมื่อ เทียบกับกระแสเงินสดของบริษัทและจากความไม่แน่นอนของโครงสร้างธุรกิจของทรูมูฟหากบริษัทไม่ได้รับใบอนุญาต 3 จีก่อนที่ สัมปทานจะหมดอายุลง ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจถูกปรับลดลงได้ภายในเวลา 6-12 เดือนข้างหน้าหากบริษัทไม่มีแผนธุรกิจและการ เงินของทรูมูฟที่แน่นอนชัดเจน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอาจปรับเป็น “Stable” หรือ “คงที่” หากทรูมูฟสามารถบรรลุเงื่อนไขที่ ระบุข้างต้นได้ หรือหากสภาพตลาดและกฎระเบียบเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทในระยะยาว
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัททรู คอร์ปอเรชั่นเป็นผู้นำในการให้บริการโทรคมนาคมแบบครบวงจรของประเทศ ธุรกิจหลักของบริษัททั้ง 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจโครงข่ายสายสัญญาณ (Wireline) ซึ่งดำเนินงานโดยทรูออนไลน์ กลุ่ม ธุรกิจไร้สาย (Wireless) หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทรูมูฟ และกลุ่มธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) โดยทรูวิชั่น ส์ ในปี 2553 ธุรกิจทั้ง 3 กลุ่มสร้างรายได้ให้แก่บริษัทในสัดส่วน 35% 50% และ 15% และสร้างรายได้ก่อนหักค่าเสื่อมราคาใน สัดส่วน 53% 34% และ 13% ตามลำดับ บริษัทมีสถานะทางธุรกิจที่เข้มแข็งในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยส่วนแบ่งทางการ ตลาดทั้งประเทศที่ 33% และในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ 66% โดยความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งมาจากการมีเครือ ข่ายที่ครอบคลุมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โอกาสในการเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการเพิ่มขึ้นอย่างรวด เร็วของผู้ใช้บริการน่าจะสามารถแทนที่รายได้ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานที่กำลังลดลงได้อย่างเต็มที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนี้ สถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของบริษัทยังสะท้อนถึงการเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกรายใหญ่ที่สุด รวมทั้งเป็นผู้ให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับ 3 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งประเทศประมาณ 50% และ 24% ตามลำดับ ทั้งนี้ทั้งธุรกิจ โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกที่ยังมีอัตราส่วนจำนวนผู้ใช้บริการต่อประชากรในระดับต่ำและบริการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือเป็นธุรกิจสำคัญที่ยังคงสนับสนุนพื้นฐานทางธุรกิจและสถานะเครดิตให้แก่บริษัทในระยะปานกลาง
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัททรู คอร์ปอเรชั่นเผชิญกับความท้าทายจากภาวะแวดล้อมในการแข่งขันที่สูงเช่น เดียวกับผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคมรายอื่น โดยเฉพาะในกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและอัตรา ค่าบริการมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานและบริการด้านเสียงสำหรับโทรศัพท์เคลื่อน ที่ก็อยู่ในภาวะอิ่มตัวซึ่งส่งผลให้รายได้ไม่เติบโตหรือถดถอยลง อีกทั้งยังได้รับผลกระทบในด้านลบจากกฎระเบียบที่ไม่แน่นอนด้วย
บริษัทมีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอโดยงบดุลมีภาระหนี้สูง อย่างไรก็ตาม รายได้และอัตราส่วนกำไรที่ค่อนข้างคงที่ ช่วยให้การคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในระยะปานกลางมีความแน่นอน รายได้ของบริษัท (ไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC) น่าจะเติบโตประมาณ 3%-4% ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งบริการสื่อสารข้อมูล ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และรายได้จากการโฆษณาทางโทรทัศน์ แต่จะลดทอนลงบางส่วนจากรายได้ที่ค่อย ๆ ลดลงของธุรกิจ โทรศัพท์พื้นฐานและบริการด้านเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัทมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานค่อนข้างคงที่ที่ประมาณ 29%- 32% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทว่าอัตราส่วนกำไรจากทรูมูฟอาจผันผวนได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายเนื่องจากอัตราค่าใช้บริการใน ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระหว่างการใช้บริการในและนอกเครือข่าย อัตราส่วนกำไรของบริษัทน่าจะได้รับ แรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มออนไลน์และอัตราส่วนแบ่งรายได้ของทรูมูฟที่จะปรับสูงขึ้นภายหลังเดือน กันยายน 2554 จาก 25% เป็น 30% ของรายได้จากค่าบริการ ณ สิ้นปี 2553 บริษัทมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงิน ทุนอยู่ในระดับสูงมากที่ 85.3% ทั้งนี้ บริษัทจะมีความเสี่ยงในเรื่องการหาแหล่งเงินกู้ใหม่ในปี 2556 เนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้ที่ ถึงกำหนดชำระในระหว่างปี 2554-2555 จำนวน 5.8-5.9 พันล้านบาทต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 21.9 พันล้านบาทในปี 2556 และ 17.3 พันล้านบาทในปี 2557 โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ในการไถ่ถอนหุ้นกู้ของทรูมูฟ
บริษัททรู คอร์ปอเรชั่นได้ทำการซื้อหุ้นของกลุ่มบริษัทฮัทช์ในเดือนมกราคม 2554 ด้วยมูลค่า 6.3 พันล้านบาทโดยใช้ เงินทุนที่เป็นเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ การซื้อกิจการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยขยายระยะเวลาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรู มูฟจากปี 2556 ไปจนกระทั่งถึงปี 2568 ซึ่งจะช่วยต่อยอดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทรูมูฟหลังจากสัมปทานหมดอายุลงและจะ เสริมความแข็งแกร่งด้านความสามารถในการให้บริการข้อมูลจากการมีความกว้างของคลื่นความถี่ (Bandwidth) ที่เพิ่มขึ้นอีก 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz ในขณะเดียวกัน การที่ทรูมูฟมีโครงสร้างธุรกิจที่เหมาะสมหลังจาก สัมปทานหมดอายุก็น่าจะช่วยลดแรงกดดันในการหาแหล่งเงินกู้เพื่อนำมาใช้ชำระคืนหนี้ในปี 2556-2557 อย่างไรก็ตาม ยังมีความ ไม่ชัดเจนว่าประเด็นข้อโต้แย้งด้านกฎหมายทั้งหลายจะส่งผลกระทบต่องบลงทุนขยายโครงข่าย 3 จีของบริษัทซึ่งตั้งไว้ที่ประมาณ 3-4 พันล้านบาทในปี 2554 อย่างไร ณ สถานะอันดับเครดิตในระดับปัจจุบัน บริษัทไม่สามารถที่จะเพิ่มภาระหนี้จำนวนมากได้อีก ต่อไปหากการลงทุนดังกล่าวไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดที่ชัดเจนและเหมาะสมในอนาคตได้ ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ