ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน “HATTHA BANK” ที่ “BBB+”, แนวโน้ม “Stable”

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday April 26, 2023 16:21 —ทริส เรตติ้ง

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของ Hattha Bank PLC (HTB) ที่ระดับ ?BBB+? ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? โดยอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตประเทศของประเทศกัมพูชา (อันดับเครดิต ?BBB+/Stable ?)

ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งมีการปรับสถานะกลุ่ม (Group Status) ของ HTB ให้เป็นบริษัทลูก ?ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในระดับสูง? (Highly Strategically Important) จากเดิม ?ที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์? (Strategically Important) ของ "กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา? โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (หรือ BAY อันดับเครดิต ?AAA/Stable?) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักเป็นผู้นำ ดังนั้น อันดับเครดิตของ HTB ซึ่งรวมการสนับสนุนจากกลุ่มแต่ยังไม่รวมความเสี่ยงระดับประเทศจึงถูกปรับเปลี่ยนมาอยู่ที่ระดับ ?AA+? จากเดิมที่ระดับ ?A-? ทั้งนี้ อันดับเครดิตองค์กรที่ปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตกลุ่ม (Group Credit Profile) ของกลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ระดับ ?aaa?) อยู่ 1 ขั้นตาม ?เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ? ของทริสเรทติ้ง

อันดับเครดิตเฉพาะ (Stand-alone Credit Profile ? SACP) ของ HTB อยู่ที่ระดับ ?bbb-? ซึ่งสะท้อนถึงตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งของ HTB ในกลุ่มสินเชื่อลูกค้ารายย่อยในประเทศกัมพูชา ตลอดจนการมีเงินกองทุนที่อยู่ในระดับเพียงพอ และการบริหารความเสี่ยงที่มีความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตของ HTB ก็มีข้อจำกัดจากขนาดธุรกิจที่อยู่ในระดับปานกลาง สถานะด้านการเงินที่อ่อนแอกว่าคู่แข่งรายใหญ่อื่น ๆ และความเสี่ยงของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ในประเทศกัมพูชาที่อยู่ในระดับสูง

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

เป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในระดับสูงของ BAY

ทริสเรทติ้งปรับสถานะภายในกลุ่มของ HTB เป็นบริษัทลูก ?ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในระดับสูง? จากเดิม ?ที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์? ภายใต้กลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้นเกิดจากพันธะสัญญาที่แข็งแกร่งและต่อเนื่องที่มีต่อ HTB ของ BAY ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักด้านการธนาคารของกลุ่ม

ทริสเรทติ้งยังเห็นถึงบูรณาการของ HTB กับกลุ่มที่มีมากยิ่งขึ้นและมีส่วนแบ่งรายได้ให้แก่กลุ่มที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ HTB มีส่วนแบ่งรายได้และกำไรสุทธิให้แก่กลุ่มเพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยอยู่ที่ระดับ 10% และ 8% ในปี 2565 จากระดับ 5% และ 3% ในปี 2563 ตามลำดับ

แนวทางธุรกิจที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม

BAY ถือหุ้นทั้งหมดใน HTB และ HTB ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลแบบ Solo Consolidation ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วย กลยุทธ์และการดำเนินงานของ HTB จึงอยู่ภายใต้การให้คำปรึกษาและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการจำนวน 5 คนจากทั้งหมด 9 คนซึ่งรวมถึงประธานกรรมการนั้นเป็นตัวแทนจาก BAY ทั้งนี้ กรอบการบริหารความเสี่ยงของ HTB ส่วนใหญ่ยังมีความสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวมของกลุ่ม ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินงานด้านการเงินรวมทั้งด้านความเสี่ยงและด้านการกำกับดูแลของ HTB ยังต้องรายงานต่อแผนกที่เกี่ยวข้องที่ BAY อีกด้วย

ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินและการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องจาก BAY

BAY ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินอย่างต่อเนื่องผ่านวงเงินกู้ยืมและการเพิ่มทุนให้แก่ HTB เพื่อรองรับการเติบโต โดยในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา BAY ได้สนับสนุนเงินเพิ่มทุนแก่ HTB เป็นจำนวนทั้งสิ้น 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ HTB ยังคาดว่าจะได้รับเงินเพิ่มทุนเพิ่มเติมอีกในปี 2566 นอกเหนือจากความช่วยเหลือด้านการเงินแล้ว HTB ยังได้รับความช่วยเหลือด้านธุรกิจและการดำเนินงานจาก BAY ด้วยเช่นกัน ในการนี้ ธนาคารทั้งสองมีความร่วมมือกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเสนอผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝาก และแนะนำลูกค้าระหว่างกันอย่างแข็งขันอีกด้วย

บรรลุเป้าหมายกลยุทธ์ของกลุ่มในการขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค

HTB มีส่วนสำคัญในแผนกลยุทธ์ของ BAY และ Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) ในการขยายธุรกิจในระดับภูมิภาค ปัจจุบัน HTB เป็นการลงทุนในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของ BAY โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 9.7 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 การลงทุนอย่างต่อเนื่องของ BAY น่าจะช่วยส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่ HTB และยังช่วยสนับสนุนแผนระยะกลางของกลุ่มที่มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศให้ถึงราว ๆ 10% ภายในปี 2566 จากปัจจุบันที่ 6% ในปี 2565 อีกด้วย

สถานะทางการตลาดยังคงอยู่ในระดับกลาง ๆ

แม้สถานะทางการตลาดของ HTB จะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปี 2563 แต่ก็ยังคงมีช่องว่างที่ห่างพอสมควรระหว่าง HTB และธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 3 รายแรกในประเทศกัมพูชาทั้งในแง่ของสินทรัพย์ เงินให้สินเชื่อ และเงินฝาก ปัจจุบัน HTB เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ในประเทศกัมพูชาโดยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2565 ส่วนในแง่ของสินเชื่อนั้น ธนาคารเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อใหญ่ที่สุดในลำดับที่ 5 และจากฐานข้อมูลอุตสาหกรรมล่าสุด ณ สิ้นปี 2564 ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดในด้านสินเชื่ออยู่ที่ 4.5% ของธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดในประเทศกัมพูชา ทริสเรทติ้งคาดว่าสถานะทางการตลาดของ HTB จะปรับตัวดีขึ้นแต่น่าจะต้องใช้เวลากว่าที่จะส่งผลในด้านบวกต่ออันดับเครดิตเฉพาะของ HTB

การมุ่งเน้นที่กลุ่มลูกค้ารายย่อยยังคงเป็นกลยุทธ์ที่ดี

จุดแข็งหลักของ HTB ยังคงอยู่ในเรื่องของการปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้ารายย่อยและน่าจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคตอันใกล้ จากต้นกำเนิดที่มาจากการเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่รับเงินฝากได้ สินเชื่อที่ปล่อยให้แก่กลุ่มครัวเรือนจึงคิดเป็นสัดส่วน 43% ของสินเชื่อทั้งหมดของ HTB ณ สิ้นปี 2564 ความแข็งแกร่งดังกล่าวมาจากการที่ธนาคารมีเครือข่ายสาขาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศกัมพูชาในบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ทริสเรทติ้งคาดว่าการนำช่องทางดิจิทัลมาปรับใช้ซึ่งรวมถึงการให้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) และผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) จะช่วยเร่งการขยายฐานลูกค้ารายย่อยให้แก่ HTB ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังมีมุมมองในด้านบวกต่อแผนการของ HTB ที่จะขยายไปยังสินเชื่อเพื่อธุรกิจ (Corporate Banking) อย่างระมัดระวังท่ามกลางข้อจำกัดในด้านส่วนต่างอัตรากำไร

สถานะเงินกองทุนคาดว่าจะอยู่ในระดับที่เพียงพอ

ทริสเรทติ้งประเมินให้สถานะเงินกองทุนของ HTB อยู่ในระดับที่ ?เพียงพอ? โดยพิจารณาจากเงินทุนของธนาคารที่อยู่ในระดับปานกลางตามข้อกำหนดขั้นต่ำของทางการและจากมุมมองของทริสเรทติ้งที่เห็นว่า BAY น่าจะคอยให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่ธนาคารในกรณีที่จำเป็น ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2565 อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคาร (Solvency Ratio) ปรับเพิ่มเป็น 18.9% จาก 18.7% ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งสูงกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำของธนาคารแห่งชาติประเทศกัมพูชา (National Bank of Cambodia -- NBC) ที่ระดับ 17.5% (15% ของเงินกองทุนและเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต หรือ Conservative Buffer อีก 2.5%) ทริสเรทติ้งยังวัดความแข็งแกร่งของเงินกองทุนของธนาคารจากอัตราส่วนของส่วนของผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์รวม (Equity to Asset (E/A) Ratio) อีกด้วย โดยทริสเรทติ้งคาดว่า E/A Ratio ของธนาคารจะอยู่ที่ระดับประมาณ 17%-18% ในช่วงปี 2566-2568 ภายใต้สมมติฐานว่าการเติบโตของสินเชื่อน่าจะช้าลงที่ประมาณ 15% ต่อปีเมื่อเทียบกับในอดีตที่สูงกว่า 20%

การทำกำไรจะได้รับแรงกดดันจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น

ความสามารถในการสร้างผลกำไรของ HTB น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและสูงกว่าธนาคารพาณิชย์อื่น ทริสเรทติ้งคาดการณ์ว่าอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยของธนาคาร (Return on Average Assets -- ROAA) จะอยู่ที่ระดับ 2.5%-2.7% ในช่วงระหว่างปี 2566-2568 ซึ่งลดลงจากตัวเลขในปี 2565 แต่ก็ยังคงสอดคล้องกับอุตสาหกรรมจากการลดลงของอัตรากำไรสุทธิจากดอกเบี้ย (Net Interest Margin ? NIM) ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งเชื่อว่าความสามารถในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกู้ของธนาคารในประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่นั้นมีจำกัดเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ทริสเรทติ้งคาดว่า NIM ของ HTB จะปรับตัวลดลงในช่วงปี 2566-2567 แต่น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2568 จากการที่ HTB กลับมามุ่งเน้นกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูงและโอกาสที่ต้นทุนทางการเงินจะลดลงจากฐานเงินฝากที่ปรับตัวดีขึ้น

คุณภาพสินทรัพย์มีแรงกดดันแต่ยังคงจัดการได้

ทริสเรทติ้งยังคงประเมินสถานะความเสี่ยง (Risk Position) ของ HTB ให้อยู่ในระดับที่ ?พอเพียง? จากการมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่มีความระมัดระวังที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของ BAY ทริสเรทติ้งเชื่อว่าการควบคุมความเสี่ยงที่ได้รับแนวปฏิบัติมาจาก BAY น่าจะช่วยจัดการความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ให้ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น ทริสเรทติ้งคาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ HTB จะถดถอยลงในปี 2566 ตามภาวะอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งเชื่อว่าการสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในเดือนมิถุนายน 2565 และการค่อย ๆ กลับมาใช้การจัดชั้นหนี้ตามปกติน่าจะทำให้เงินให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans -- NPL) ของธนาคารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การชะลอการปล่อยสินเชื่อของ HTB ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จนถึงต้นปี 2566 เมื่อผนวกกับการใช้ระบบการอนุมัติสินเชื่อแบบใหม่ก็น่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อคุณภาพสินเชื่อลงได้บางส่วน

อัตราส่วน NPL ของ HTB ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.25% ณ สิ้นปี 2565 จาก 1.49% ณ สิ้นปี 2564 ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วน NPL จะปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ประมาณ 3% ในปี 2566 ซึ่งผลกระทบน่าจะมาจากการสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วมที่ให้แก่ผู้กู้ยืมที่ได้รับผลกระทบในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2565 HTB มีสินเชื่อภายใต้โครงการนี้อยู่ในสัดส่วน 4.8% ของสินเชื่อรวมทั้งหมด

ในด้านการตั้งสำรองนั้น ทริสเรทติ้งมองว่า HTB มีการตั้งสำรองที่ระมัดระวังเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่น ๆ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการตั้งสำรองตาม Cambodia Accounting Standard (CAS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ NBC ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมตรวจสอบ ในปี 2564 หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 HTB ยังได้ทำการเพิ่มสำรองสำหรับสินเชื่อชั้นปกติอีก 0.67% จากเดิมที่ 1% ซึ่งกำหนดโดย NBC เพื่อลดความเสี่ยงด้านการตั้งสำรองในช่วงระหว่างปี 2564-2565 ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2565 HTB มีอัตราเงินสำรองเพื่อรองรับ NPL (NPL Coverage Ratio) อยู่ที่ระดับ 122% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ประมาณ 60%

สถานะแหล่งเงินทุนที่อ่อนแอกว่าธนาคารอื่น ๆ น่าจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น

ถึงแม้ว่าสถานะแหล่งเงินทุนของ HTB จะถือว่าอ่อนแอกว่าธนาคารอื่น ๆ เมื่อพิจารณาจากประวัติในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่สั้นกว่าคู่แข่ง เงินฝากจากลูกค้าของธนาคารมีสัดส่วนคิดเป็น 62.1% ของเงินทุนทั้งหมด ณ สิ้นปี 2565 ในขณะที่บัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ (Current Account and Savings Account -- CASA) คิดเป็นสัดส่วน 18.5% ของเงินฝากทั้งหมด ส่วนอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan-to-deposit Ratio -- LDR) ของธนาคารซึ่งอยู่ที่ระดับ 162% นั้นถือว่าอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมในกลุ่มธนาคารรายใหญ่ที่สุดทั้ง 10 รายซึ่งอยู่ที่ระดับ 104% ณ สิ้นปี 2564

ทริสเรทติ้งคาดว่าธนาคารจะมีสถานะแหล่งเงินทุนที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งกรณีดังกล่าวจะมีปัจจัยสนับสนุนจากกลยุทธ์ในการขยายฐานเงินฝากของธนาคารจากการนำช่องทางการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Application) มาใช้เพื่อดึงดูดการฝากเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์จากลูกค้าใหม่ ส่วนกลยุทธ์อื่น ๆ ที่ธนาคารจะนำมาใช้ยังได้แก่ การเริ่มใช้ Internet Banking และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ เช่น การให้บริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการค้า (Trade Finance) การโอนเงินระหว่างประเทศ (Cross Border Remittance) และการโอนเงินผ่านระบบ SWIFT วิธีการดังกล่าวเหล่านี้เมื่อรวมกับแนวโน้มความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในท้องถิ่นและลูกค้าที่ BAY และ MUFG แนะนำมาก็น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าองค์กรให้มีมากยิ่งขึ้น

คงอันดับเครดิตประเทศของประเทศกัมพูชา

ทริสเรทติ้งประเมินความเสี่ยงประเทศของกัมพูชาไว้ที่ระดับ ?BBB+/Stable? ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของกัมพูชาและเสถียรภาพทางการเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงหลัก ๆ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่แข็งแกร่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่มีการบริหารจัดการที่ดี และระดับราคาที่มีเสถียรภาพเมื่อบวกกับกลุ่มแรงงานวัยหนุ่มสาวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องแล้วน่าจะทำให้กัมพูชายังคงความเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment -- FDI) ได้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ทริสเรทติ้งยังถือว่าระดับหนี้สาธารณะของกัมพูชาอยู่ในระดับปานกลางที่ 35% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product -- GDP) ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นเงินกู้ที่มีเงื่อนไขแบบผ่อนปรน (Concessional Loans) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งสำคัญ ๆ ของประเทศ ทริสเรทติ้งประมาณการอัตราการเติบโตของ GDP ที่ระดับ 5%-7% ต่อปีในช่วงระหว่างปี 2566-2567 โดยมีแรงหนุนจากอุปสงค์ในภาคเอกชนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและการไหลเข้าของ FDI อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปนั้นน่าจะอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ 3% เมื่อเปรียบเทียบปีต่อปี

ในขณะเดียวกันทริสเรทติ้งก็สังเกตเห็นประเด็นความเสี่ยงที่กำลังก่อตัวขึ้นใน 2-3 ด้านที่น่าจับตามอง โดยสภาวะที่ตึงตัวยิ่งขึ้นของสถานการณ์ทางด้านการเงินทั่วโลกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศกัมพูชา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ประกอบไปด้วย การพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากภายนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในระบบเศรษฐกิจในสัดส่วนที่สูง (High Dollarisation) ตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ระดับหนี้ภายในประเทศที่อยู่ในระดับสูง และระดับรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ กัมพูชามีการพึ่งพา FDI ในระดับที่สูงอีกทั้งยังมีการพึ่งพาการกู้ยืมจากต่างประเทศที่สูงขึ้นเพื่อนำมาแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account -- CA) จำนวนมากและใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการกู้ยืมภายในประเทศที่อยู่ในระดับสูง การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเชิงโครงสร้างนั้นสะท้อนถึงฐานการส่งออกที่ประกอบไปด้วยสินค้าที่มีความผันผวนตามวงจรเศรษฐกิจอีกทั้งยังมีความหลากหลายและมีมูลค่าเพิ่มที่ต่ำ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและอุตสาหกรรมเบาที่ส่งออกไปยังตลาดหลักไม่กี่แห่ง อาทิ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังเห็นว่ากัมพูชายังมีหนี้ต่างประเทศโดยรวม (Gross External Debt) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่เกิดจากการกู้ยืมในภาคธนาคารอีกด้วย

โดยระหว่างปี 2560 ถึงปี 2564 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของกัมพูชามีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 18% ของ GDP ในขณะที่สินเชื่อภาคเอกชนอยู่ที่ระดับ 171% ของ GDP ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 93% ณ สิ้นปี 2560 หนี้ต่างประเทศของกัมพูชาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 75% ของ GDP ณ สิ้นปี 2564 จากระดับ 46% ณ สิ้นปี 2560 ส่วนเงินฝากในสกุลเงินตราต่างประเทศนั้นอยู่ที่ระดับเกือบ 90% ของเงินฝากทั้งหมดในระบบการเงินของประเทศ ณ สิ้นปี 2564 ในขณะที่รายได้ประชากรต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 ส่วนบัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Position) ของกัมพูชามีหนี้สินสุทธิอยู่ที่ระดับ 109% ของ GDP ณ สิ้นปี 2564

ความเสี่ยงในภาคการธนาคารของกัมพูชายังคงอยู่ในระดับสูง

ทริสเรทติ้งพิจารณาสถานะเครดิตของ HTB โดยได้รวมการประเมินความเสี่ยงของอุตสาหกรรมการธนาคารและความเสี่ยงของประเทศของกัมพูชาเข้าไว้ด้วย ประเทศกัมพูชามีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูงจากการพึ่งพาเงินทุนภายนอกในระดับสูงและการก่อหนี้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาคธนาคารพาณิชย์ของกัมพูชามีอัตราการเติบโตของสินเชื่อโดยเฉลี่ยสูงกว่า 20% ต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ในกัมพูชามีสินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่กระจุกตัวสูงสุด (คิดเป็นสัดส่วน 39% ของสินเชื่อทั้งหมด ณ สิ้นปี 2565) ตามมาด้วยภาคธุรกิจการค้า (27%) กัมพูชายังได้รับคะแนนด้านธรรมาภิบาลที่อ่อนแอด้วยดัชนีการควบคุมการทุจริตและหลักนิติธรรมตามดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลของธนาคารโลก (World Bank Governance Indicators' Control of Corruption and Rule of Law Indexes) ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ -1.0 ณ สิ้นปี 2564 สำหรับปัจจัยในด้านบวกนั้น กัมพูชามีเงินทุนสำรองต่างประเทศที่แข็งแกร่งที่ช่วยรองรับผลกระทบจากความไม่สมดุลในภาคการต่างประเทศได้ และการชะลอตัวของกิจกรรมภาคการก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมาก็ช่วยชะลอการเติบโตของสินเชื่อในภาคธุรกิจที่มีการกระจุกตัวสูงลงได้

ความเสี่ยงในอุตสาหกรรมการธนาคารที่อยู่ในระดับสูงสะท้อนถึงการขาดมาตรฐานในการกำกับดูแลและแรงกดดันที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรในช่วงระยะปานกลาง กรอบการกำกับดูแลของธุรกิจธนาคารในประเทศกัมพูชามีการนำมาตรฐานสากลมาประยุกต์ใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนและความเพียงพอของสภาพคล่องที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ แต่ยังไม่มีเกณฑ์จำกัดการกระจุกตัวของสินเชื่อหรืออัตราส่วนการให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (Loan-To-Value -- LTV) ในขณะที่เกณฑ์การตั้งสำรองก็มีความเข้มงวดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ไทยหรือมาเลเซีย ส่วนรายงานทางการเงินระหว่างกาลของสถาบันการเงินโดยทั่วไปนั้นก็มีการเปิดเผยข้อมูลที่จำกัดและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินในภาพรวมของอุตสาหกรรมการธนาคารนั้นก็มักล่าช้ากว่ากำหนดค่อนข้างยาวนาน

ความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศกัมพูชามีแนวโน้มที่จะยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรง รวมทั้งจากอุปสรรคในการเข้ามาแข่งขันที่อยู่ในระดับต่ำ และลักษณะของอุตสาหกรรมที่กระจัดกระจาย กัมพูชามีธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 2564 จำนวนทั้งสิ้น 54 แห่งซึ่งถือว่ามาก โดยธนาคารจำนวน 10 รายที่ใหญ่ที่สุดครองส่วนแบ่งทางการตลาดของสินเชื่อในสัดส่วนประมาณ 63% และของเงินฝากในสัดส่วนประมาณ 72% ในอนาคตทริสเรทติ้งมองว่า ROAA ของธนาคารพาณิชย์กัมพูชาจะมีจำกัดโดยจะสูงกว่าระดับเกือบ 2% ในปัจจุบันเพียงเล็กน้อยแม้สภาวะแวดล้อมทางด้านอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นก็ตาม

ส่วนปัจจัยในด้านบวกนั้น ทริสเรทติ้งประเมินให้สภาวะแวดล้อมของแหล่งเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมการธนาคารของประเทศกัมพูชาจะยังคงมีเสถียรภาพ เงินทุนในระบบส่วนใหญ่นั้นประกอบด้วยเงินฝากภายในประเทศ โดยเงินฝากจากลูกค้าธนาคารคิดเป็นสัดส่วน 83% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2565 ส่วนเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident Deposits) คิดเป็นสัดส่วน 6% ของเงินฝากทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การขาดมาตรการประกันเพื่อคุ้มครองเงินฝาก ตลอดจนความสามารถของธนาคารกลางในการให้ความช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนแก่ธนาคารพาณิชย์ที่มีจำกัด และตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นยังเป็นปัจจัยที่จำกัดต่อการประเมินแหล่งเงินทุน

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

สมมติฐานที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์สำหรับการดำเนินงานของ HTB ในช่วงระหว่างปี 2566-2568 เป็นดังนี้

? อัตราการเติบโตของสินเชื่อ: 10%-15% ต่อปี

? อัตรากำไรจากดอกเบี้ยสุทธิหลังจากหักต้นทุนทางเครดิต: 6.5%-7.0%

? อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้รวม: 46%-48%

? อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อเงินให้สินเชื่อรวม: 2.8%-3.2%

? ต้นทุนทางเครดิต: ประมาณ 0.6%-0.7%

แนวโน้มอันดับเครดิต

แนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? สะท้อนถึงความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่า HTB จะยังคงมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจในช่วงระยะ 2-3 ปีข้างหน้าต่อไปและเชื่อว่า HTB จะสามารถควบคุมคุณภาพสินทรัพย์เอาไว้ได้ถึงแม้ว่าความเสี่ยงด้านเครดิตจะสูงขึ้น ที่สำคัญ HTB น่าจะดำรงสถานะกลุ่มของตนในการเป็นบริษัทลูก ?ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในระดับสูง? ของ BAY เอาไว้ได้ต่อไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอันดับเครดิตของ HTB ถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตประเทศของประเทศกัมพูชา ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มอันดับเครดิตประเทศของกัมพูชาอาจจะส่งผลให้แนวโน้มอันดับเครดิตของ HTB เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเปลี่ยนแปลง

การทบทวนปรับเพิ่มการประเมินสถานะความเสี่ยงประเทศของประเทศกัมพูชาอาจออกมาในรูปของการปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรของ HTB เนื่องจากปัจจุบันอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตของประเทศกัมพูชาแม้กรณีดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะใกล้ถึงระยะปานกลางก็ตาม

ในขณะที่การทบทวนปรับลดการประเมินสถานะความเสี่ยงประเทศของประเทศกัมพูชาอาจออกมาในรูปของการปรับลดอันดับเครดิตของ HTB นอกจากนี้ การปรับลดอันดับเครดิตอาจเกิดจากการลดสถานะของ HTB ที่มีต่อกลุ่มจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการเป็นบริษัทลูก ?ที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์? ด้วยเช่นกัน

เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตธนาคาร, 20 มีนาคม 2566

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ, 7 กันยายน 2565

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตประเทศ (Sovereign Rating), 26 สิงหาคม 2565

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564

Hattha Bank PLC (HTB)

อันดับเครดิตองค์กร: BBB+

อันดับเครดิตตราสารหนี้:

HTB25OA: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2568 BBB+

HTB261A: หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน 1,300 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2569 BBB+

แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com
ติดต่อ santaya@trisrating.com โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2566 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ