เอสซีจี จับมือ RISC ร่วมวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในงานก่อสร้าง ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) พัฒนาการอยู่อาศัยให้ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ข่าวอสังหา Tuesday April 23, 2019 17:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--เอสซีจี เอสซีจี โดย นายวิชัย รายรัตน์ Sustainable Development Director ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) โดยบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษางานวิจัยและนวัตกรรมฯ และหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง "ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การสร้างมูลค่าจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในงานก่อสร้าง ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy" เพื่อประสานความร่วมมือและบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการ ผ่านการวิจัยและพัฒนาโดยนำวัสดุที่เหลือทิ้งจากการก่อสร้างกลับมาแปรรูปและนำกลับไปใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง นับเป็นการร่วมมือครั้งสำคัญของผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง นายวิชัย รายรัตน์ Sustainable Development Director ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า "จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ทำให้มีวัสดุที่เหลือทิ้งจากการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก เอสซีจีตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นในการจัดการวัสดุที่เหลือทิ้ง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวปฏิบัติ SCG Circular way ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) โดยบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ที่ดำเนินธุรกิจตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เช่นเดียวกัน เพื่อวิจัยและพัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชั่นด้านวัสดุก่อสร้าง เพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของลูกค้า" ด้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษางานวิจัยและนวัตกรรมฯ และหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า "ในนามของทีมนักวิจัยและนักวิชาการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการร่วมพัฒนาวัสดุอัพไซเคิล เพื่อการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และขอขอบคุณเอสซีจีที่เล็งเห็นความสำคัญของการผนึกกำลังและความร่วมมือด้านการวิจัยที่สำคัญในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและสาธารณชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคตต่อไป"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ