ตลาดสิ่งพิมพ์วิชาการซบเซา หลังนักวิจัยหันใช้สื่อดิจิทัลเผยแพร่บทความ

ข่าวต่างประเทศ Tuesday November 29, 2016 17:51 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอสแอนเจลิส--29 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ -Articles Metrics ได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวชี้วัดที่แท้จริงสำหรับการประเมินผลกระทบของผู้เขียนบทความในโลกแห่งวิชาการ Dr. Srinubabu Gedela ซีอีโอของ OMICS International เปิดเผยว่า รายได้จากการเผยแพร่ วารสารวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ (STM) มีมูลค่าประมาณ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2559 และหากนับรวมหนังสือและข้อมูลอื่นๆ ภายในตลาดสิ่งพิมพ์ STM จะมีมูลค่ารวมประมาณ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยตลาดสิ่งพิมพ์วารสาร STM ที่เปิดให้เข้าถึงอย่าง (Open access) นั้น มีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ในปี 2558 (เพิ่มขึ้นจาก 100 ล้านดอลลาร์ในปี 2553 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ราว 20%) ขณะที่มูลค่าของตลาดวารสาร STM แบบคิดค่าบริการบอกรับสมาชิก/คิดค่าบริการเข้าใช้เนื้อหา (subscription/paid access) ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง แตะ 8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 (จาก 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2557) อุตสาหรรมสิ่งพิมพ์มีการจ้างงานบุคลากรประมาณ 100,000 คนทั่วโลก ซึ่งทำงานให้กับนักวิจัยราว 10 ล้านคน นักวิจัยเหล่านี้ผลิตบทความ 2.5 ล้านชิ้นต่อปี โดยจำนวน บทความที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ( peer-reviewed articles )และจำนวนนักวิจัยนั้น เพิ่มขึ้นในอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 10% ดังนั้น ตัวชี้วัดคุณภาพวารสาร/บทความ และสื่อดิจิตอลที่คุ้มค่าจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับความต้องการของแวดวงวิชาการ โลโก้ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20161023/431540LOGO Dr Gedela กล่าวว่า ปัจจุบัน ฐานข้อมูล CrossRef ประกอบด้วยตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOIs) 75 ล้านตัว ซึ่ง 60 ล้านตัวในจำนวนนี้อ้างอิงบทความจากวารสารทั้งหมดกว่า 38,000 ฉบับ (วารสาร 20% ไม่มีการใช้งาน) ทั้งนี้ มีการประมาณการว่า GoogleScholar ซึ่งเป็นแหล่งดัชนีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเอกสารประมาณ 125-175 ล้านฉบับ ซึ่งรวมถึงบทความวารสาร หนังสือ และเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ในวงจำกัด หรือเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ (Grey Literature) ทั้งนี้ วารสารแบบบอกรับสมาชิกกำลังเริ่มลดความนิยมลง ในขณะที่วารสารที่เปิดให้เข้าถึงอย่างเสรีกำลังขยายตัวมากขึ้น โดย ณ ขณะนี้มี วารสารที่เปิดให้เข้าถึงอย่างเสรี อยู่ 10,000 ฉบับที่สามารถใช้งานได้ และบทความต่าง ๆ ที่มาจากวารสารเหล่านี้มีมากถึงราว 500,000 บทความต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 20% ของการผลิตบทความวิชาการทั่วโลกในแต่ละปี ปัจจุบันมีผู้จัดพิมพ์และสมาชิกในแวดวงวิชาการจำนวนมากที่หันมาติดตามดัชนีวัดคุณภาพบทความแบบใหม่อย่าง articles metrics มากกว่าที่จะสนใจ impact factors ในรูปแบบเดิม ๆ โดย articles metrics อาจเรียกว่า article-level-metrics , Altmetrics หรือ Article Impact factors ก็ได้ ในปัจจุบันผู้เขียนบทความไม่จำเป็นต้องรอให้ผลงานของตนถูกนำไปอ้างอิงโดยบุคคลอื่นในโลกแห่งวิชาการ และไม่จำเป็นต้องรอการนับ impactfactor เพื่อความน่าเชื่อถือและวัดความสำเร็จ โดยดัชนีที่เป็นทางเลือกใหม่ในการวัดความสำเร็จของผู้เขียนนั้นปรากฏในรูปของ article impactfactor การเกิดขึ้นของสื่อดิจิทัลออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในการเผยแพร่บทความวิชาการในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับตัวบทความ หรือ article impact factor/articles metrics มากกว่าตัววารสาร โดยอิทธิพลของบทความนั้นจะถูกชี้วัดด้วยยอดคลิกเข้าอ่าน ชม ดาวน์โหลด แชร์ ไลค์ของบทความทางออนไลน์ และจำนวนครั้งที่มีการนำบทความไปอ้างอิงในวารสารทางวิชาการแบบ peer reviewed ทั้งนี้ แพลตฟอร์มสำหรับเครือข่ายวิชาการและวิชาชีพอย่าง ResearchGate, LinkedIn, GoogleScholar ตลอดจนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter ต่างมีบทบาทสำคัญในการยกระดับ article impactfactor โดย articles metrics ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น จะสะท้อนอิทธิพลของบทความที่มีต่อสังคมได้อย่างรวดเร็ว OMICS Group มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน และได้รับการสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 50,000 คนที่มาร่วมเป็นสมาชิกกองบรรณาธิการ เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และบริการสุขภาพอย่างเสรี พร้อมเดินหน้าอย่างมั่นคงไปกับ OMICS Group ที่สามารถเติบโตขึ้นจากวารสารจำนวน 10 ฉบับในปี 2552 สู่วารสาร 700 ฉบับ และผู้อ่าน 30 ล้านรายในปัจจุบัน นอกจากนี้ OMICS International Conference Series ยังจัด การประชุมทางวิทยาศาสตร์ 3,000 รายการ ทุกปี ทั่วอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย ติดต่อ: contact.omics@omicsonline.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ