สถานการณ์การค้าเม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก (HS 39) ในแคนาดา กุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 25, 2011 15:05 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า

เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก (HS 39)

ขนาดของตลาด

การผลิต/การบริโภค

  • ธุรกิจพลาสติกแคนาดามีมูลค่าประมาณ 3.3 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) มีผู้ประกอบการประมาณ 3,400 บริษัท มีการจ้างงานประมาณ 113,000 คน ธุรกิจดังกล่าวประกอบไปด้วย Plastic Product Manufacturing/Machinery/ Moulds/ Resins
  • เนื่องจากแคนาดาเป็นตลาดการบริโภคขนาดเล็ก ผู้ผลิตแคนาดาจึงมักเป็นการผลิตเพื่อส่งออกด้วย
  • วัตถุดิบ Synthetic Resin เป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดในการผลิตสินค้าในแคนาดา ตามปกติ จะนับเป็นร้อยละ 30-50 ของต้นทุน
การผลิต

แนวคิด และการรณรงค์ด้าน Waste Management ตลอดจนการลดการใช้ Polyvinyl Chloride (PVC) และแนวคิดด้าน Sustainable Development อื่น ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างรวดเร็ว

การนำเข้า/ส่งออก

นำเข้า (เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติก)

  • จากทั่วโลก: เดือนม.ค.-ธ.ค. 53 มูลค่า 13,065.435 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+22.38%)
  • จากไทย: เดือน ม.ค.-ธ.ค. 53 มูลค่า 28.819 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-3.32%)

ส่งออก (เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติก)

  • ไปยังทั่วโลก: เดือนม.ค.-ธ.ค. 53 มูลค่า 10,763.397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+18.60%)
  • ไปยังไทย: เดือนม.ค.- ธ.ค. 53 มูลค่า 6.454 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-18.12%)

ช่องทางการจำหน่าย

  • ผ่านผู้นำเข้าและโรงงานผลิตให้กับผู้ประกอบการ
  • ผู้ผลิต ไปยังผู้กระจายสินค้าและต่อไปยังร้านค้าปลีกประเภท Super Store

พฤติกรรมผู้บริโภค

จากสถิติการใช้พลาสติกของแคนาดา โดยหน่วยงาน Industry Canada ล่าสุด (ณ ก.ย. 53) นั้น ในปี2552 ใช้พลาสติกใน ลักษณะ End-User สำหรับ Packaging มากที่สุด (39%) รองลงมาได้แก่ ด้านการก่อสร้าง (33%)/ ด้านยานยนต์(14%) และอื่นๆ (14%)

การค้าในประเทศ ราคาขายส่ง/ปลีก

ราคาปลีกในนครแวนคูเวอร์ ณ ก.พ. 2554 (เหรียญแคนาดา)

  • Patch Handle Plastic Bags (500 ถุง) ราคา $12
  • Merchandise Bags 8.5x11” (1000 ถุง) High Density ราคา $13
  • Plastic Grocery Bags 6x3.5x12” (1000 ถุง) ราคา $29

ราคาส่งในนครแวนคูเวอร์ ณ ม.ค. 2554 (เหรียญแคนาดา)

  • ถุงพลาสติกใส่ผลไม้-ใหญ่12*7*23 (2,000 ถุง) ราคา $50
  • ถุงพลาสติกใส่ผลไม้-กลาง 10*5*20 (2,000 ถุง) ราคา $39
  • ถุงพลาสติกใส่ผลไม้-เล็ก 8*5*16 (3,000 ถุง) ราคา $33

คู่แข่ง

ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.-ธ.ค. 53 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)

สหรัฐฯ (77.93 %)

จีน (9.81 %)

เยอรมนี (1.69 %)

เม็กซิโก (1.23 %)

เกาหลีใต้ (1.04%)

ไทย (0.22%)

มาตรการการค้า ด้านภาษี/NTB

  • Consumer Packaging and Labeling Act: กฎระบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ และป้ายสินค้า ตลอดจนภาษา และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่ใช้ ผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/showdoc/cs/C-38///en?page=1
  • Canadian Food and Drug Act/Regulation (อาทิ ในกรณีใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก): กฎระบียบเกี่ยวกับสินค้าอาหารและยา ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคชาวแคนาดา ทั้งนี้ กฏระเบียบดังกล่าว มีการระบุค่าของสารเคมี/ สารปรุงแต่ง/ สี/ และสารกันเสียประเภทต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าไว้อย่างละเอียด โดยหน่วยงาน Health Canada ให้ความสำคัญกับสารตกค้างที่ปนเปื้อนในอาหารที่มาจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมากผู้สนในสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบดังกล่าว ได้ที่ http://laws.justice.gc.ca/en/F-27

http://laws.justice.gc.ca/en/F-27/C.R.C.-c.870

แหล่งข้อมูล:
  • “(Plastic) Industry Profile”- Canadian Plastics Industry Association -http://www.plastics.ca/IndustryProfile/index.php
  • “Exportwise- Winter 2009 — Canada’s plastics Industry in a uncertain world”- Dennis and Sandi Jones- Export Development Canada -http://edc.ca/english/publications_16227.htm
  • “Canadian Plastic Products Industry”- Industry Canada- http://www.ic.gc.ca/eic/site/plastics-plastiques.nsf/eng/pl01383.html#Trade
  • “Plastic Bags: Reducing their use through regulation and other initiatives”- Library of Parliament- Publication listhttp://www2.parl.gc.ca/Content/LOP/ResearchPublications/prb0827-e.htm
  • “Thailand Plastic Resin Export to China Rose 7%”- High Beam Research- http://www.highbeam.com/doc/1P1-144463848.html
  • “ โรงงานจุกวัตถุดิบขึ้นพรวด”- สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย- http://www.tpia.org/news/plasticnews.asp?page=1&no=2301
  • เทียบราคาสินค้าถุงพลาสติก (ราคาส่ง-เพื่อการพาณิชย์) ณ ม.ค.2554 http://www.aplasticbag.com และผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่งบริษัท Van whole Produce. (นครแวนคูเวอร์)

SWOT

1. จุดแข็ง (Strength)

  • ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต/ ผู้ส่งออกวัตถุดิบ Plastic Resin ที่เป็นที่ยอมรับในสากลโลก โดยประเทศผู้ผลิตสำคัญ อาทิ จีน นั้นก็มีการนำเข้า Plastic Resin (โดยมากเป็น POM และ Ethylene) จากไทยเป็นจำนวนมากทุกปี
  • ผู้ประกอบการไทย หันมาผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทย่อยสลายได้มากขึ้น โดยบางรายใช้วัตถุดิบ Recycled หรือ ใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ง่ายในประเทศ อาทิ ใยสับปะรด หรือมันสำปะหลัง ซึ่งนับว่าเป็นการผลิตตามกระแสความนิยมโลก และยังเน้นจุดขาย “Natural Product” ได้อย่างดีอีกด้วย

2. จุดอ่อน (Weakness)

  • ถึงแม้ผู้ประกอบการไทยจะหันมาผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้บ้างแล้วแต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นระดับการผลิตขนาดใหญ่ ทำให้ราคาต้นทุนยังสูงอยู่มากผลิตภัณฑ์ จึงยังมีราคาแพงกว่าพลาสติกทั่วไป
  • นอกจากเม็ดพลาสติก แล้วปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาวัตถุดิบอื่น อาทิ น้ำตาล และกระดาษ ราคาแพงทำให้โรงงานผลิตมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

3. โอกาส(Opportunity)

  • ผู้ประกอบการแคนาดาส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง-เล็ก จึงมีการรวมตัวเป็นสมาคม Canadian Plastic Industry Association (CPIA) ซึ่งมีการติดต่อ เวียนส่งข่าวสารอยู่เสมอ จึงมักมีการเลือกใช้ เลือกสั่งซื้อสินค้าในแนวทางเดียวกัน หากสินค้าไทยสามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ โดยใช้ปัจจัยด้านคุณภาพ และราคา จะมีการแนะนำต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่
  • การผลิตพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากพลาสติกนั้น ได้รับผลกระทบต่อการคิดค้น/แนวคิดใหม่ๆ/ เทคโนโลยีใหม่ๆ จากเครื่องจักร/ Moulds และ Synthetic Resin มาก ซึ่งมีการค้นคว้า/ วิจัยอย่างต่อเนื่อง ในหลายประเทศทั่วโลก โดยในแคนาดานั้น รัฐบาลมีบทบาทเป็นแกนกลางในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ เชื่อมโยงมหาวิทยาลัย/ แหล่งวิจัย/ และผู้ประกอบการในการพัฒนา และการนำความคิดใหม่ๆ ไปใช้
  • ในภาคธุรกิจการผลิตพลาสติกในแคนาดานั้น ค่าตอบแทนด้านแรงงานมักอยู่ในระดับต่ำกว่าในสหรัฐฯ ดังนั้น แรงงาน (โดยมากเป็นแรงงานด้านการค้นคว้า/ วิจัย) จึงมักย้ายถื่นฐานไปประกอบอาชีพในสหรัฐฯ ซึ่งหากปรากฏการณ์ดังกล่าวยังดำเนินต่อไปอาจส่งผลให้แคนาดาประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตได้
  • แคนาดารณรงค์ให้มีการใช้Reusable Shopping Bag โดยผู้ประกอบการหลายราย มีการแจก/ ขายให้กับลูกค้าในราคาต่ำ เพื่อส่งเสริมการใช้ จึงนับว่าเป็นสินค้ายอดนิยมที่ประเทศไทยสามารถผลิตได้

4. ภัยคุกคาม (Threat)

  • ตามสถิติการค้าล่าสุดระหว่าง มค-พ.ย. 2553 (ณ ม.ค. 2554) นั้น แคนาดานำเข้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติกจากประเทศผู้ส่งออกหลักเพิ่มขึ้น อาทิ มาเลเซีย (+55.28%) , ไต้หวัน (+21.47%) . จีน (+18.86%) เป็นส่วนใหญ่ในขณะที่นำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 3.70 อาจจะมาจากสาเหตุต้นทุนการผลิตถูกกว่า
  • รัฐบาลแคนาดากำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายด้าน R&D ของผู้ประกอบการพลาสติก SR&ED Tax Credits จากเดิม 41.5% เป็น 50% เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีการผลิตภายในประเทศมากขึ้น
  • การแกว่งตัวขึ้น-ลงของราคา Synthetic Plastic ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลถึงต้นทุนการผลิตและรายได้ของผู้ประกอบการ/ ผู้ผลิตพลาสติก
  • รัฐบาลแคนาดารณรงค์ส่งเสริมให้มีการคว่ำบาตรสินค้าพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งสินค้าไทยส่วนใหญ่ ยังใช้วัสดุประเภทนี้อยู่
  • ภาครัฐฯ และเอกชนแคนาดาได้เริ่มหันมา คว่ำบาตรและงดการใช้พลาสติกทั่วไปบีบให้ผู้ประกอบการหันมาใช้พลาสติกประเภท Biodegradable ซึ่งไทยยังไม่มีความชำนาญ และความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต เทียบเท่าประเทศอื่น
  • ภาคเอกชนในหลายหมวดธุรกิจ อาทิIKEA (เครื่องประดับตกแต่งบ้าน), Superstore (อาหาร/ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน) The Bay (ห้างสรรพสินค้า) ได้เริ่มเรียกเก็บ “Eco-Charge” สำหรับถุงพลาสติกใบละ 0.60 - 1.50 บาท จากลูกค้าเพื่อรณรงค์ให้งดการใช้ถึงพลาสติก ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าผู้ประกอบการรายอื่น จะหันมาปฏิบัติตามกันในอนาคตอันใกล้
  • รัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคมาก ดังนั้นสินค้านำเข้า (โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน) ควรพิจารณาการใช้วัตถุดิบพลาสติกให้ตรงตามที่รัฐบาลแคนาดากำหนด

เกณฑ์การวิเคราะห์สถิติการค้ารายเดือนในสินค้า 10 หมวดของสคร. แวนคูเวอร์

เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) เพื่อความชัดเจน เที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. ใช้เกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้

1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง

2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทย-แคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ในกรณีเม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติกนี้ สคร. พิจารณาใช้ HS 39 เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์จากพลาสติก (Plastic and articles thereof)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก พลาสติก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ