นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า คสช. ประชุมร่วม 5 ฝ่าย ขับเคลื่อนการทำงานตามโรดแมป

ข่าวทั่วไป Wednesday March 11, 2015 16:13 —สำนักโฆษก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประชุมร่วม 5 ฝ่าย ประกอบด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการทำงานตามโรดแมปครั้งที่ 3

วันนี้ (11 มี.ค.58) เวลา 13.30 น ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประชุมร่วม 5 ฝ่าย ประกอบด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการทำงานตามโรดแมปครั้งที่ 3 โดยการประชุมครั้งนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม ซึ่งสาระสำคัญของการประชุมร่วมฯ ในวันนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนแรก นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ขอให้ที่ประชุมรับข้อสังเกตในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (๑) เนื่องจากบ้านเมืองยังมีปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาในการบริหารราชการแผ่นดิน การทุจริต การลดความเหลื่อมล้ำ การเตรียมการเข้าสู่ AEC การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่ทับซ้อนกันมายาวนาน จึงต้องมีการทำงานที่ประสานสอดคล้อง กันระหว่างแม่น้ำทั้ง ๕ สาย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาของประเทศ (๒) กรณีการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำงบประมาณมาพัฒนาประเทศ (๓) ก รณีการยกร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้วคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะมีข้อสังเกตต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญรับไปพิจารณา

ส่วนที่สอง เป็นการรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความ สงบแห่งชาติและคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามลำดับ โดยมีสาระส คัญ ดังนี้ (๑) สภาปฏิรูปแห่งชาติได้รายงาน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย

ศาสตราจารย์ เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้พิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ.จำนวน ๓ ฉบับ ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ.วิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรม แห่งชาติพ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องดังกล่าวมายังรัฐบาล

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ได้เสนอวาระการปฏิรูปที่ส คัญและแนวทาง การบริหารจัดการของ สปช. (Blueprint for change) ซึ่งประกอบด้วยวาระการปฏิรูป ๓๖ วาระ และ ๗ วาระการพัฒนา ที่จะขับเคลื่อน ๙ ประเด็นยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดย สปช. ได้ก หนดแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระการปฏิรูป ๓๖ วาระ โดยครอบคลุมเรื่องที่ สามารถดำเนินการได้ทันที (Quick Win) เรื่องที่สามารถดำเนินการได้ภายใน ๑ ปีและเป็น เรื่องที่สามารถดำเนินการได้ภายใน ๓ - ๕ ปี เช่น ประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ขอให้ สปช. ก หนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์กรอบระยะเวลาและสิ่งที่จะเสนอให้รัฐบาลปัจจุบันด เนินการ ปฏิรูปได้ภายใน ๑ ปีโดยขอให้ครอบคลุมหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน เช่น การบรรเทาภัยพิบัติ ฯลฯ รวมทั้งขอให้ก หนดประเด็นการปฏิรูปในระยะยาวให้ชัดเจน

(๒) คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ศาสตราจารย์ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว ๓๑๕ มาตรา ซึ่งคาดว่า ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวต่อไป โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้เป็นการยกร่างเพื่อแก้ไข ปัญหาในอดีต จนถึงปัจจุบัน และเป็นการวางรากฐานถึงอนาคตซึ่งมีเจตนารมณ์ในการยกร่าง ๔ ประการ คือ “สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาด และสมดุล หนุนสังคมที่เป็นธรรม และน ชาติสู่สันติสุข”

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้รายงานเรื่อง “ระบบการเลือกตั้งผู้แทนใหม่ ช่วยสร้างสมดุลให้การเมืองไทย” โดยระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะช่วยสร้างสมดุลให้การเมืองไทย เช่น การใช้เกณฑ์คะแนนเสียงจาก บัญชีรายชื่อเป็นหลักในการคำนวณจำนวน ส.ส. ที่จะพึงได้ของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง ถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อทุกคะแนนของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นการสะท้อนความนิยมที่แท้จริง ของแต่ละพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ฯลฯ

(๓) สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ รวมจำนวน ๙๖ ฉบับ ประกอบด้วย ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๒ ฉบับ ซึ่งเสนอโดย ประธาน ป.ป.ช. ร่างพระราชบัญญัติ เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน ๒๑ ฉบับ เสนอโดยคณะรัฐมนตรี จำนวน ๖๘ ฉบับ เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน ๕ ฉบับ พิจารณาญัตติ จำนวน ๓๘ เรื่อง และให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา ตามมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๑๔ เรื่อง ฯลฯ สำหรับการดำเนินการในด้านอื่น ๆ สภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ระหว่างการสร้างความเข้าใจ กับนานาประเทศว่าเป็นสภาในระบบนิติรัฐ

นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ขอให้ ส่วนราชการต่าง ๆ เร่งพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเก่า กฎหมายที่รัฐบาลปกติไม่สามารถ ดำเนินการได้ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับ FTA เพื่อประโยชน์ในการส่งออกของประเทศ และขอให้ พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองดูแลกรณีข้าราชการไม่ได้กระทำความผิดแต่ต้องร่วมรับผิด

(๔) คณะรัฐมนตรีโดยรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้แจ้งที่ประชุม รวมถึงประสานงานกับแม่น้ำทั้ง ๕ สาย โดยขอความร่วมมือและรายงานความคืบหน้าในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (๑) การเรียกหรือเชิญข้าราชการไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ (๒) การไปต่างประเทศของข้าราชการที่ดำรงตำแหน่ง สปช. และ สนช. (๓) การขับเคลื่อนงานของ ครม. คสช. โดยมีกรรมการ ๕ คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและเร่งด่วน (กขน.) คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายทั่วไปของรัฐบาล (กขร.) คณะกรรมการประสานขับเคลื่อนในระดับกระทรวง (ปขก.) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. (กขย.) (๔) ความคืบหน้าการขับเคลื่อนเรื่องสำคัญ เช่น ตลาดชุมชน การพัฒนาริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา เขตเศรษฐกิจพิเศษ สัญญาคุณธรรม ตั้งคณะกรรมการ พัฒนาการศึกษาแห่งชาติขยะ สลากกินแบ่งรัฐบาล พลังงาน ราคาสินค้า ปัญหาข้าว ปัญหาราคายาง (๕) ความคืบหน้าคดีการเมือง คดีทุจริต คดีสำคัญ ที่อยู่ระ หว่างการ ดำเนินการของ ป.ป.ท. สตช. DSI ปปง. และ ปปช. เช่น คดีจำนำข้าว คดีเกี่ยวกับการชุมนุม คดีทุจริตการจ่ายเงินเยียวยาการชุมนุม คดีทุจริต การก่อสร้าง/จัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ

(๕) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รายงานปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปฏิรูปเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ อย่างเป็นรูปธรรม จำนวน ๑๐ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชหารแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลังงาน ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านสื่อสารมวลชน และด้านสังคม โดย คสช. เสนอให้ คณะกรรมาธิการของสภาปฏิรูปแห่งชาติหาจุดศูนย์ดุลของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน

สำหรับการจัดประชุมร่วมระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งต่อไป (ครั้งที่ ๔) นั้น ในเบื้องต้น ได้กำหนดให้มีการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ