เลขาฯ สศช.ชี้หัวใจเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันต้องพัฒนาคมนาคม-นวัตกรรม-คุณภาพคน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 11, 2014 17:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)กล่าวในการสัมมนายกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศภายใต้คอนเซปต์ “A Recipe of Success” หรือสูตรความสำเร็จว่า ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยมี 3 ด้านที่ต้องพัฒนา คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง, เทคโนโลยี-นวัตกรรม และ คุณภาพมนุษย์

ในด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่ต้องปรับปรุงนั้น เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนในการขนส่งสินค้าค่อนข้างสูง โดยในปี 56 พบว่าต้นทุนค่าขนส่งของภาคเอกชนอยู่ที่ 14% ของจีดีพี แม้ว่าจะปรับลดลงบ้างจากปี 55 หลังจากผู้ประกอบการหันมาลงทุนด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์มากขึ้นเพื่อลดต้นทุน แต่ก็ยังจำเป็นต้องผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งต่อไป โดยเฉพาะการขนส่งทางรางและทางน้ำ ซึ่งจะต้องเน้นปรับปรุงและบริหารจัดการการเดินรถไฟมีประสิทธิภาพ ตรงเวลา และมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) กล่าวว่า อุปสรรคสำคัญของการประกอบธุรกิจมาจากปัญหาคอร์รัปชั่นสูงสุด แต่ทั้งนี้เชื่อว่าจากการที่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศก็เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น และการทำงานจะมีเสถียรภาพมากขึ้นรวมทั้งมีความต่อเนื่องในแง่ของนโยบายการทำงาน

นายสนัน อังอุบลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องตราสินค้าถือเป็นสิ่งสำคัญในการนกระดับความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งภาคเอกชนพยายามจะสร้างแบรนด์ที่ช่วยให้ประเทศไทยขับเคลื่อนการส่งออกได้ดีขึ้น หรือช่วยสร้างโอกาสให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยธุรกิจที่เป็นจุดเด่น คือ อุตสาหกรรมอาหาร, แฟชั่น, ท่องเที่ยว, และอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ยังจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาในด้านของการตลาด

ขณะเดียวกันการค้าชายแดนก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะแม้ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอาจไม่ดี แต่การค้าชายแดนยังเติบโตได้สูงถึง 20% รวมทั้งการพยายามส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ เช่น ในเวียดนาม ต่อไปน่าจะเป็นพม่า อินโดนีเซีย รวมทั้งยังต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ และในปี 58 ก็จะเริ่มเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ซึ่งมองว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากสุด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะขยายสินค้าของไทยออกไปในต่างประเทศ และต้องดึงดูดลูกค้าจากจีนและอินเดียมาค้าขายกับไทยให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจ SMEs ยังคงมีปัญหาในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขาดแผนธุรกิจ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ