รัฐปิดดีลโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ,ลุ้นเปิดซื้อใหม่โซลาร์ฯราชการ-FIT Biding

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 30, 2015 12:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รัฐบาลปิดดีลโครงการโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ 1,013 เมกะวัตต์ หลังเบื้องต้นพบว่ามีผู้มาแสดงเจตจำนงดำเนินโครงการ
ต่อเกือบทั้งหมดแล้ว ทำให้จะไม่มีการเปิดรับซื้อใหม่ในโครงการดังกล่าว ขณะที่จะเร่งตรวจสอบความพร้อมด้านศักยภาพโครงการและ
ระบบสายส่งของประเทศให้เพียงพอ ก่อนพิจารณาทยอยเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามนโยบายของรัฐบาลใน 2 โครงการ
ได้แก่ โซลาร์ฟาร์มส่วนราชการและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 800 เมกะวัตต์ และพลังงานทดแทนอื่นที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ ในรูปแบบ
ของ Feed in Tariff Biding (FiT- biding) ซึ่งจะทำให้การเปิดรับซื้อไฟฟ้าใหม่ในปีนี้อาจจะอยู่ในจำนวนที่ไม่มากเหมือนที่
ตลาดคาดการณ์

นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การประกาศรับซื้อไฟฟ้าใหม่ในโครงการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร(โซลาร์ฟาร์มส่วนราชการ) และการรับซื้อ ไฟฟ้าในรูปแบบของ FiT- biding ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของจำนวนที่จะรับซื้อ รวมถึงพื้นที่และประเภทเชื้อเพลิงที่จะเปิดรับ ซื้อในกรณีที่เป็น FiT biding โดยยังต้องรอให้กระทรวงพลังงานสรุปศักยภาพและความสามารถของสายส่งที่จะรองรับมาให้ได้ก่อน ซึ่งคาดว่าคงจะไม่ล่าช้านัก

"เราตั้งใจว่าภายในครึ่งปีหลัง คงต้องเริ่มเข้ากระบวนการ FiT biding ในส่วนที่สามารถทำได้ อันไหนที่มีสายส่ง มี ศักยภาพก็จะเปิดส่งเสริมให้เกิดการลงทุน...สายส่งจะนิ่งเมื่อโครงการโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ และการรับซื้อในระบบ Adder นิ่ง ก็คง ภายในเดือนเมษายนนี้ นิ่งก็คือรู้ว่าโครงการไหนลงตรงไหนปีอะไร ก็จะดูออกว่าสายส่งเหลือเท่าไหร่ ก็จะเข้าโครงการ FiT biding และโครงการโซลาร์ฯส่วนราชการ ซึ่งเราก็จะรีบ ไม่รอช้า แต่ก็ต้องรอความชัดเจนระดับหนึ่ง"นายทวารัฐ กล่าว

นายทวารัฐ กล่าวว่า ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกฉบับปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในปี 64 นั้นจะมีการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 13,927 เมกะวัตต์ ซึ่งขณะนี้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าระบบแล้วราว 4 พันเมกะวัตต์ และยังมี บางส่วนที่พันธะผูกพันกับทางการ ทั้งในส่วนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA) แล้ว และบางส่วนมีการตอบรับซื้อแล้วแต่ยังไม่มีสัญญา PPA ขณะที่ยังมีบางส่วนที่ได้ยื่นคำขอมาแต่ยังไม่ได้รับการตอบรับ

สำหรับภาพรวมการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนคงเหลือในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 โครงการ ได้แก่ โครงการ รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน(โซลาร์ฟาร์ม)ที่มีผู้ยื่นคำขอเมื่อปี 53 แต่ยังไม่ได้รับ การตอบรับนั้น(โซลาร์ฟาร์มค้างท่อ)จำนวน 1,013 เมกะวัตต์ ,โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนสำหรับการ ผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ตัดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟ) สำหรับบ้านที่พักอาศัย จำนวน 70 เมกะวัตต์ และโครงการรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนอื่น ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ ที่อยู่ในระบบอัตราค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม(Adder)รวมเกือบ 700 เมกะวัตต์ ซึ่งรัฐบาลจะต้อง เร่งสรุปตอบรับซื้อไฟฟ้าจากทั้ง 3 โครงการนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะพิจารณาเปิดรับซื้อใหม่ต่อไป

ในส่วนโซลาร์ฟาร์มค้างท่อจำนวน 1,013 เมกะวัตต์นั้น รัฐบาลกำหนดให้ผู้ที่ต้องการจะทำโครงการต่อ มายื่นแบบแสดง ความจำนงภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ ซึ่งในส่วนนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยกลุ่มแรกที่ไม่มีปัญหาที่ดิน และสายส่งนั้น ล่าสุด กระทรวงได้ตอบ รับซื้อแล้ว 60 โครงการ รวม 600 เมกะวัตต์, กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่มีย้ายสถานที่ เพราะติดปัญหาผังเมือง ซึ่งรัฐบาลเปิดโอกาสให้ ย้ายได้ มีประมาณ 80 โครงการ หลังจากนี้จะมีการตรวจสอบข้อมูลและสายส่งว่าจะสามารถรองรับได้หรือไม่ก่อนจะทำสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้าต่อไป และกลุ่มที่สาม ที่ไม่ได้ติดต่อเข้ามามีราว 4 โครงการ กำลังผลิตรวมกว่า 4 เมกะวัตต์

"คาดหวังว่าโครงการโซลาร์ค้างท่อจะเข้าระบบทั้งหมดในปีนี้...ที่เราเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมายื่นก็จบเท่านี้ 31 มีนาคมนี้ก็จะเห็นภาพว่าเขาจะย้ายไปไหน เดินได้หรือเปล่า"นายทวารัฐ กล่าว

นายทวารัฐ กล่าวอีกว่า นสำหรับโซลาร์รูฟคงเหลือ 70 เมกะวัตต์นั้น ได้เปิดรับซื้อใหม่เมื่อเดือน ก.พ.และจะปิด รับซื้อในเดือน มิ.ย.ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์ในระบบ Adder เดิมได้เปิดโอกาสให้ยื่นความ จำนงเพื่อเดินหน้าโครงการเข้ามาภายในวันที่ 15 ธ.ค.57 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกและเสนอเรื่องเพื่อทำสัญญา จำนวน 100 โครงการ ทั้งชีวมวล ชีวภาพ และขยะรวมๆกันเกือบ 700 เมกะวัตต์ โดยในส่วนนี้จะพิจารณาถึงศักยภาพแต่ละพื้นที่ว่าจะมีสาย ส่งรองรับหรือไม่ และความชัดเจนของประเภทเชื้อเพลิงในกลุ่มของเชื้อเพลิงชีวมวล

ส่วนโครงการใหม่ที่รัฐบาลเปิดส่งเสริม มี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ FiT biding ซึ่งเป็นโครงการที่มาทดแทน ระบบ Adder เดิมโดยเปิดให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนและขายไฟฟ้าเข้าระบบมายื่นข้อเสนอได้แทนที่ จะใช้รูปแบบเดิมก็มาเป็นการประมูล ซึ่งเบื้องต้นรัฐบาลให้ความสำคัญกับเชื้อเพลิงประเภทขยะมากที่สุด สำหรับอีกโครงการคือ โซ ลาร์ส่วนราชการ 800 เมกะวัตต์ ซึ่งเบื้องต้นมีกำหนดจะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในมิ.ย.59

"กว่าจะตอบรับตามที่การไฟฟ้าเสนอ ก็จะทำให้กำลังความสามารถของสายส่งที่จะรองรับพลังงานทดแทนถูกแบ่งส่วนออก ไป ตามแผนปัจจุบันมีอยู่ 3 โครงการนี้..ส่วน FiT biding ยังบอกไม่ได้ว่าจะ bid กี่เมกะวัตต์ และเป็นเชื้อเพลิงอะไรบอกไม่ได้ เลย รอดูศักยภาพของสายส่ง โซลาร์ส่วนราชการ 800 เมกะวัตต์ ถ้าสายส่งพร้อมทั้ง 800 เมกะวัตต์ก็จะลองดู ถ้าพร้อมก็คงต้องดู โดยรวมๆแล้วปีนี้ก็จะมีประมาณ 1,800 เมกะวัตต์ที่จะเป็นโครงการที่อนุมัติอนุญาตในปีนี้ และทยอยเข้าระบบต่อไป"

นายทวารัฐ กล่าวอีกว่า โครงการที่คาดว่าจะได้รับอนุมัติในปีนี้ราว 1,800 เมกะวัตต์ได้ยื่นข้อเสนอมาก่อนหน้านี้ ส่วน โครงการที่จะเปิดรับซื้อใหม่ในปีนี้จะมีเฉพาะในส่วนของโซลาร์ส่วนราชการและ FiT biding ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุจำนวนการรับ ซื้อไฟฟ้าที่ชัดเจนได้ เพราะต้องรอความชัดเจนจากศักยภาพของสายส่งไฟฟ้าของประเทศก่อน

สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนั้น ตามเป้าหมายในปี 64 จะรับซื้อจำนวน 1,800 เมกะวัตต์ โดยมีผู้ยื่นคำขอผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานลมมาแล้วถึง 1,834 เมกะวัตต์ โดยในส่วนนี้มีการผลิตแล้วกว่า 200 เมกะวัตต์ ทำให้จะไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าใหม่ จากพลังงานลมเพิ่มเติมตามแผนการส่งเสริมพลังงานทดแทนในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP) ปี 58-79 ซึ่งจะมีแผน พัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกใหม่ด้วย โดยมีการเสนอเป้าหมายจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรวม 19,635 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มพลังน้ำขนาดใหญ่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เข้ามาด้วย จากแผนพัฒนา พลังงานทดแทนฯ ฉบับเดิมที่สิ้นสุดปี 2564 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 13,927 เมกะวัตต์

ขณะที่บริษัทจดทะเบียน(บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลายบริษัทที่ให้ความสนใจที่จะเข้าลงทุนในธุรกิจผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่จะสร้างรายได้ที่แน่นอนในระยะยาว ภายใต้ผลตอบแทนการลงทุน(IRR)ที่ เหมาะสม หลายบริษัทคาดว่ารัฐบาลจะประกาศการรับซื้อไฟฟ้าประเภทโซลาร์ฟาร์มในปีนี้มากกว่า 1 พันเมกะวัตต์ ซึ่งจะมาจากโซ ลาร์ฟาร์มค้างท่อส่วนหนึ่ง และโซลาร์ส่วนราชการอีกส่วนหนึ่ง รวมถึงยังมีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทอื่นอีกด้วย อย่าง ไรก็ตาม การประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนใหม่ในปีนี้ ยังมีข้อจำกัดจากศักยภาพของสายส่งและประเภทเชื้อเพลิงด้วย ซึ่ง อาจจะทำให้การเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงาทดแทนใหม่ในปีนี้น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์

    พลังงานไฟฟ้า          เป้าหมายปี 64     *กำลังการผลิตปัจจุบัน     **เป้าหมายปี 79
                         (เมกะวัตต์)         (เมกะวัตต์)           (เมกะวัตต์)

     แสงอาทิตย์              3,000            1,298.51             6,000
     พลังงานลม              1,800              224.47             3,002
     พลังน้ำขนาดเล็ก            324              142.01               376
     พลังน้ำขนาดใหญ่             -                 -                2,906
     ชีวมวล                 4,800            2,451.82             5,570
     ก๊าซชีวภาพ              3,600              311.50             1,280
     ขยะ                     400               74.72               501
     พลังงานรูปแบบใหม่            3                 -                  -
     รวม                   13,927              4,503             19,635
ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) กระทรวงพลังงาน
*กำลังการผลิตล่าสุด ณ เดือนม.ค.58


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ