ทริสฯ คาด GDP ไทยปี 58 โต 2.5% มองปีหน้ากระเตื้องเล็กน้อยลุ้นลงทุนภาครัฐ-ส่งออกฟื้น

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 13, 2015 15:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

น.ส.วัฒนา ถิรานุชิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด แถลงสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยรวมว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่เหลือของของปี 58 หรือในช่วง 3 เดือนนี้ การลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐจะยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็จะช่วยสนับสนุนให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีให้ดีขึ้น เนื่องจากขณะนี้จะเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวของประเทศต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 59

ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวอาจทำให้อัตรการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 58 เติบโตได้ 2.5% ได้ ท่ามกลางแรงกดดันด้านการส่งออกจาการ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจจีน

สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของไทยในปี 59 นั้น ทริสฯ คาดว่า เศรษฐกิจน่าจะเติบโตอยู่ในระดับ 2.5-3% บนสมมติฐานที่โครงการขนาดใหญ่ภาครัฐสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ และไม่เกิดปัญหาทางการเมืองภายในประเทศปะทุขึ้นมากอีก วึ่งจะยิ่งส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น

"เชื่อว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐจะเป็นปัจจัยหลักที่จะกำหนดว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้หรือไม่เพียงใด ส่วนราคาพืชผลทางการเกษตรก็น่าจะปรับตัวดีขึ้นบ้างจากปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจในประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรหลักที่เป็นคู่แข่งของไทย เช่น ประเทศบราซิลที่อาจต้องลดการผลิตและส่งออกสินค้าลง การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าของไทยรายใหญ่เป็นอันดับ 1 (11% ของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 57) ประกอบกับความล่าช้าในการปรับตัวของผู้ส่งออกสินค้าขั้นต้นยังน่าจะเป้นปัญหาของการส่งออกของไทยไปอีกในระยะปานกลางถึงระยะยาว"น.ส.วัฒนา กล่าว

ในขณะเดียวกัน โครงสร้างตลาดการส่งออกของไทยก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คือ สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาอาจเพิ่มขึ้นในปี 59 เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกของไทยก็ยังคงต้องเผชิยกับมาตรการกีดกันทางการค้าและข้อจำกัดทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้าต่างๆ รวมทั้งการลดลงของสทิธิประโยชน์ทางการค้าที่ผู้ส่งออกไทยเคยได้รับก็ทยอยลดลง ทำให้เชื่อว่าในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ายังเป็นปีที่ท้าทายสำหรับประเทศไทย

นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งสรุปภาพรวมของกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญๆ ประกอบด้วย กลุ่มที่มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางสถานการณืเศรษฐกิจที่ผันผวน เช่น อุตสาหกรรมโรงพยาบาลและบริการด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว รับเหมาก่อสร้าง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ทั้งนี้ ธุรกิจโรงพยาบาลและบริการด้านสุขภาพ ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 58-59 โดยมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริม ได้แก่ สัดส่วนของประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนกว่า 10% ของประชากรทั้งหมดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)คาดว่าสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 18% ในปี 63 และ 25% ในปี 73 นอกจากนี้ ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนระดับแนวหน้าของไทยก็ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนเช่นกัน เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ในขณะที่มาตรฐานบริการก็เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ธุรกิจการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของไทยมีศักยภาพในการเติบโตที่ดีเนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพในขณะที่ค่าครองชีพไม่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศรอบข้าง การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียโดยเฉพาะจีนกระตุ้นให้ความต้องการท่องเที่ยวเติบโตสูงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยลดทอนผลกระทบบางส่วนจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และภัยธรรมชาติในประเทศ รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวอย่างรวดเร็วจากที่เคยคิดเป็นสัดส่วน 5% ของ GDP ในปี 53 เพิ่มเป็น 9% ตั้งแต่ปี 56 จนถึงปัจจุบัน จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วง 8 เดือนแรกของปี 58 อยู่ที่ 20 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวเอเชีย ได้แก่ จีน (5.5 ล้านคน) และมาเลเซีย (2.3 ล้านคน)

รายได้ของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมส่วนมากขยายตัวขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 57 ที่ได้รับผลกระทบในเชิงลบจากปัญหาการเมือง โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่วนมากมีรายได้ที่ขยายตัวขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ในขณะที่อัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 20.6% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 เทียบกับ 19.6% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ในขณะที่อัตราหนี้ต่อทุนอยู่ที่ระดับ 0.80 เท่า

ขณะที่ธุรกิจบริการรับเหมาก่อสร้างในปี 58 ค่อนข้างชะลอตัวลงจากปีก่อนและขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม เนื่องจากความล่าช้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล ในขณะการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชนและจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยชะลอตัวจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวลง แต่แม้ว่าจะเผชิญกับปัจจัยลบที่กล่าวข้างต้น ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ยังคงมีรายได้ที่ต่อเนื่องมาจากมูลค่างานคงเหลือของโครงการก่อสร้างเดิม ประกอบกับราคาวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันที่ลดลง อัตราค่าแรงงานที่ไม่ได้ปรับสูงขึ้นมาก ตลอดจนต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้สถานะทางการเงินยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดีจากสภาพตลาดภายในประเทศที่ค่อนข้างตึงตัวทำให้ผู้ประกอบการบางรายมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศ

แนวโน้มในปี 59 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างน่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่จะทยอยออกมา เพราะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 สัดส่วนการก่อสร้างจากภาครัฐคิดเป็นประมาณ 54% ของมูลค่าการก่อสร้างในประเทศรวม ส่วนโครงการก่อสร้างภาคเอกชนและโครงการที่อยู่อาศัยคาดว่าจะไม่ขยายตัวมากนัก ตามทิศทางการลงทุนภาคเอกชนต่างๆ และตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังคงชะลอตัว

ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนซึ่งอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อนถยนต์ รวมทั้งการเกษตร โดยอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ทริสเรทติ้ง คาดว่า ในช่วงปี 58-59 จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 57 โดยในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้งในด้ำนลบ อาทิ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าคาด ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจนทำให้อัตราการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารลดลง และจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยด้ำนบวก ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับต่ำ ต้นทุนค่าแรงและวัสดุก่อสร้างที่ทรงตัว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าจะออกมาในไม่ช้า

ในส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ในปี 58-59 คาดว่าอุตสาหกรมนี้จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 57 จากผลกระทบของโครงการรถยนต์คันแรกในช่วงเดือน ก.ย.54-ธ.ค.55(1.25 ล้านคัน) ที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อรถยนต์เกินอัตราที่แท้จริง เกิดเป็นการก่อหนี้ภาคครัวเรือนในระดับสูงและเกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินในรถยนต์มือสองจนกระทั่งราคารถยนต์มือสองลดลงอย่างต่อเนื่องนานถึง 2 ปีตั้งแต่กลางปี 56 และราคาลดลงมากถึง 30-35% ในช่วงดังกล่าว เมื่อรวมกับผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 56 แล้วส่งผลให้เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

แม้ว่าการหดตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 57 และครึ่งแรกของปี 58 จะมีอัตราต่ำกว่าที่เคยติดลบถึง 9% ในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 51 แต่การหดตัวในรอบนี้มีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าและยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในระยะสั้นโดยเฉพาะเมื่อราคารถยนต์มือสองยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนเมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อไปในปี 59 ทริสเรทติ้งจึงมองว่าทิศทางการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จะยังคงจำกัด ในขณะที่คุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์น่าจะมีทิศทางที่ทรงตัว ถึงลดลงหลังจากที่ผู้ประกอบการได้ตัดหนี้สูญออกไปจำนวนมากและมีภาระทางต้นทุนทาเครดิตในการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ในช่วงปี 57-58 ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่เอื้ออำนวยในปี 59 จะทำให้การถดถอยลงของคุณภาพสินทรัพยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อไป

ด้านภาคการเกษตร ปี 58 ยังคงเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้โดยในส่วนของธุรกิจน้ำตาลนั้น ในปีการผลิต 2557/2558 ยังคงเป็นปีที่ทั่วโลกมีอุปทานส่วนเกินเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน ทั้งนี้ United States Department of Agriculture (USDA) ประเมินว่า อุปทานน้ำตาลส่วนเกิน 3.7 ล้านตันทำให้ราคาน้ำตาลทั่วโลกยังคงตกต่ำต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ผลประกอบการของผู้ผลิตน้ำตาลจึงมีแนวโน้มลดลงในปี 58 แต่กำไรอาจลดลลงไม่มากเหมือนผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เพราะโครงสร้างต้นทุนการผลิตน้ำตาลยืดหยุ่นกว่าจากระบบแบ่งปันรายได้และการขยายตัวผู้ประกอบสู่ธุรกิจเก่ยวเนื่อง เช่น เอทอนอล และไฟฟ้า

ในส่วนของธุรกิจไก่และหมูนั้น ปี 58 เป็นช่วงตกต่ำตามวัฏจักรจากปัญหาอุปทานล้นตลาดหลังจากที่ผู้ผลิตหลายรายขยายกำลังการผลิตจำนวนมากในปี 57 และอุตสาหกรรมไก่ยังมีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บจก.สหฟาร์ม กลับมาดำเนินการหลังจากหยุดกำรผลิตไป ในขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับตัวลงมาก ความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการจึงลดลงตามราคาเนื้อสัตว์

กำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย(EBITDA) จึงลดลงกว่า 30% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 58 ทำให้กระแสเงินสดของกลุ่มปรับตัวลงตามวัฏจักร อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกยังคงมีอยู่สำหรับธุรกิจไก่จากความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้นหลังจากประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปได้อนุญาตให้นำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 58 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่รวม 324,657 ตัน เติบโต 24.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ใมนขณะที่ไม่มีแรงกดดันเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์ จึงคาดว่าธุรกิจสัตว์บกจะฟื้นตัวตามวัฏจักรโดยดำลับในปี 59


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ