บาทปิด 35.49/50 แนวโน้มยังแข็งค่า หากตัวเลขศก.สหรัฐฯ ออกมาไม่ดี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 5, 2016 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวันนี้ที่ระดับ 35.49/50 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากตอนเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.60/62 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทค่อนแข็งค่าไปทางเดียว ทำ Low ที่ 35.49 ตอนปิดตลาด และทำ High 35.62 ตอนเปิดตลาดเมื่อเช้า
"วันนี้เงินบาทค่อนข้างเรื่อยๆ เนือยๆ ไปทางแข็งค่า คงรอตัวเลข Non Farm คืนนี้ ถ้าออกมาไม่ดีก็น่าจะลงต่อ ประเมินกรอบไว้ที่ 35.35-35.70 บาท/ดอลลาร์"นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 116.85 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 116.87 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1188 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1200 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,306.29 จุด เพิ่มขึ้น 9.18 จุด, +0.71% มูลค่าการซื้อขาย 40,034.87 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 956.37 ลบ.(SET+MAI)
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 1 และ ไตรมาส 2 ปี 59 รัฐบาลยังคงเน้นการสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อช่วยทำให้ประคับประคองเศรษฐกิจผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน National e-Payment ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ได้วางเป้าหมายในการขับเคลื่อนการใช้ระบบ National e-Payment ให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 1 ปีครึ่ง
  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนไปสู่การขยายตัวที่ชะลอตัวลงและยั่งยืนมากขึ้น โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจจะไม่เผชิญกับภาวะหดตัวอย่างรุนแรงหรือ hard landing
  • นายดักลาส ฟลินท์ ประธานธนาคารเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำของอังกฤษ ได้แสดงความไม่เห็นด้วยต่อกระแสคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจจีนจะย่ำแย่ลง โดยเขาระบุว่า จีนมีศักยภาพที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะหนุนเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยรายงานเบื้องต้นในวันนี้ว่า ดัชนีเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น ปรับตัวลดลงในเดือนธ.ค.

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (index of coincident indicators) อาทิ ผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และการจ้างงานใหม่ ลดลง 0.7 จุด จากเดือนก่อนหน้านี้ สู่ระดับ 111.2 เมื่อเทียบกับระดับฐาน 100 ในปี 2553


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ