ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.37/39 ยังแข็งค่าต่อหลังดอลล์อ่อน ตลาดรอดูตัวเลขศก.สหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 12, 2017 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.37/39 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.40 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ เนื่องจากตลาดค่อนข้างเซอร์ไพร์สที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ไม่ได้ออกมาให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยว กับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในการแถลงข่าวครั้งแรกต่อสื่อมวลชน

"บาทแข็งค่าต่อ หลังจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เพราะตลาดผิดคาดที่ไม่ได้เห็นทรัมป์ ออกมาพูดถึงนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจในการแถลงข่าวครั้งแรกกับสื่อ" นักบริหารเงิน ระบุ

อย่างไรก็ดี พรุ่งนี้เงินบาทอาจจะมีโอกาสกลับไปอ่อนค่า โดยต้องติดตามการรายงานข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของ สหรัฐฯ ในคืนนี้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.30 - 35.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.35/37 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 115.01 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.0627/0659 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0588 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,568.84 จุด ลดลง 4.09 จุด (-0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 48,465 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 362.23 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมร่วม 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ มีมติจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 ที่ 2.9 ล้านล้านบาท
โดยเป็นงบประมาณแบบขาดดุล 4.5 แสนล้านบาท ตั้งเป้าการจัดเก็บรายได้ที่ 2.45 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% จากปีนี้

การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ดังกล่าว อยู่บนสมมติฐานว่าเศรษฐกิจไทยในปี 61 จะขยายตัวได้ 3.8% อัตราเงินเฟ้อที่ 2% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 55 ดอลลาร์/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนที่ 36 บาท/ดอลลาร์

  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายน้ำท่วมภาคใต้ล่าสุดที่ราว
2.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ภาคการเกษตร 8,100 ล้านบาท ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 10,860 ล้านบาท และโครงสร้างพื้น
ฐาน (ถนน ทางรถไฟ สะพาน และบ้านเรือน) 3,405 ล้านบาท ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อ GDP ทั้งปีให้ลดลง
0.1% โดยคาดว่า GDP ปี 60 จะเติบโตได้ 3.5% จากเดิมคาดไว้ 3.6%
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คงคาดการณ์ GDP ของไทยในปีนี้เติบโตได้ 3.3% หลังมองว่าปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ที่
เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เพราะเศรษฐกิจภาคใต้มีสัดส่วนเพียง 8.6% ของผล
ผลิตมววลรวมในประเทศ (GDP) ของไทย อีกทั้งหลังจากน้ำท่วมได้ผ่านพ้นไปคาดว่าจะมีการซ่อมแซมบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
กลับมาเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากน้ำท่วมผ่านพ้นไปแล้ว
  • สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) คาดว่า มูลค่าการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวในปี 60 อยู่ที่ราว 6
แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ 8.12 แสนล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ แถลงข่าวเปิดตัวรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (GEP) ฉบับ
ล่าสุด เมื่อวานนี้ว่า กระบวนการกระบวนการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ของอังกฤษ หรือ Brexit เป็นหนึ่งใน
สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกปีนี้
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัว 0.5% ในช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงจังหวะการขยายตัวที่สมเหตุผลของเศรษฐกิจอังกฤษ ซึ่งได้รับแรงผลักดัน
จากการขยายตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของการใช้จ่ายของผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญ คือการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงิน ปอนด์ โดยการใช้จ่ายผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2558 และ 2559 นั้น จะชะลอตัวลงในปี 2560 และ 2561

  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 29 ในเดือนพ.ย. อันเนื่องมา

จากมูลค่าการนำเข้าที่ลดลงมากกว่ามูลค่าส่งออก หลังจากที่เงินเยนแข็งค่า ประกอบกับราคาน้ำมันดิบลดลง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ