(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.45 มองกรอบวันนี้ 35.40-35.50 กังวล Brexit กระทบศก.รุนแรงกว่าคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 16, 2017 11:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากปิดตลาดเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 35.40 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากตลาดกังวลผลกระทบจาก Brexit จะส่งเสียรุนแรงต่อระบบ เศรษฐกิจกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

"ตลาดกังวลเรื่อง Brexit อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.40-35.50 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 35.4500 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (13 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.36352% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (13 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.54500%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.31 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 114.59 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0625 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0648 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.4180 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ (16-20 ม.ค.)ที่ 35.30-35.50 บาท
ต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของนักลงทุนน่าจะอยู่ในวันที่ 20 ม.ค. ซึ่งเป็นวันสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายทรัมป์
ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ดัชนีกิจกรรมการผลิตของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียและเฟดสาขา
นิวยอร์กเดือนม.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค การผลิตภาคอุตสาหกรรม การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้าง เดือน
ธ.ค. และตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิเดือนพ.ย.

นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามผลการประชุม ECB และตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 4/59 ของจีนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตลาดการเงินสหรัฐฯ จะปิดทำการในวันจันทร์ที่ 16 ม.ค. เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

  • ธนาคารซี ไอเอ็มบี ไทย มองว่าเงินบาทในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.30-35.70 บาทต่อดอลลาร์ โดย
คาดว่าดอลลาร์สหรัฐจะยังมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับบาท รวมทั้งสกุลเงินอื่นๆส่วนใหญ่ จากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจจะผันผวนมากขึ้นก่อนการรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า
ซึ่งความไม่มั่นใจต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลต่อการคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ โดยมี
ความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงไปอีกหากความเชื่อมั่นต่อนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯลดลง
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เปิดเผยว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นราว 6% ในช่วงปลายปีที่ผ่าน
มา หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือน พ.ย.2559 เนื่องจากความคาดหวังของตลาดว่านโยบาย
เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดภาษีของทรัมป์ จะส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในสหรัฐ และกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด) ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยตลอดทั้งปี 59 ธุรกรรมเช็คในระบบเกือบ 70 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 37
กว่าล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ปริมาณและมูลค่าการใช้ลดลงผลเศรษฐกิจและหันใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ชี้แนวโน้มใช้เช็คลดลงต่อ
เนื่อง
  • เงินปอนด์ร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า 1.20 ดอลลาร์ในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้วที่เงินปอนด์
ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับดังกล่าว ก่อนที่นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะเปิดเผยรายละเอียดของแผนการแยกตัวออกจาก
สหภาพยุโรป (Brexit ) ในวันพรุ่งนี้
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ เปิดเผยว่า กระบวนการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพ
ยุโรป (EU) ของอังกฤษจะขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบเงินเยน และปรับตัวขึ้นลงแตกต่างกันเมื่อเทียบสกุลเงินหลักอื่นๆ เมื่อวันศุกร์
(13 ม.ค.) หลังจากนักลงทุนซึมซับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อคืน โดยดอลลาร์แข็งค่าเทียบเยน แตะที่ 114.46 เยน จาก
114.27 เยน ส่วนยูโรแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐ แตะที่ 1.0640 ดอลลาร์ จาก 1.0638 ดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อวันศุกร์ (13 ม.ค.) เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
ซึ่งการแข็งค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาแพงขึ้นและไม่น่าดึงดูดใจ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.6% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น

0.2% ในเดือนพ.ย. ยอดค้าปลีกในเดือนธ.ค.ได้รับผลบวกจากอุปสงค์รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ