ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.98 ทรงตัวใกล้เคียงช่วงเย็นวานนี้ นลท.จับตาดูถ้อยแถลง"ทรัมป์"เช้านี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 1, 2017 09:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว ใกล้เคียงกับช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ โดยนักลงทุนรอฟังการแถลงนโยบายของประธานาธิบดีในช่วงเช้านี้

"บาททรงตัวใกล้เคียงกับช่วงเย็นวานนี้ โดยรอดูทรัมป์แถลงช่วงเช้านี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.95-35.05 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 113.11 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 112.34 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0566 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.0594 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.8960 บาท/
ดอลลาร์
  • - รัฐบาลเปิดตัวโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอก ระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี จะกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน พร้อมกันนี้ นายกฯ จะเป็นสักขี
พยานในการมอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้กำกับ หรือสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.มีแนวคิดจัด
ระเบียบการเสนอขายตั๋วแลกเงิน (บี/อี) โดยให้บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุนเสนอขายได้เฉพาะนักลงทุนสถาบันและนักลงทุน
เฉพาะเจาะจง 10 ราย (พีพี 10) ที่รู้จักบริษัทผู้ออกเป็นอย่างดีเท่านั้น ขณะที่นักลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง (เอไอ) ไม่สามารถซื้อตั๋ว
บี/อีได้แต่ยังสามารถซื้อหุ้นกู้ได้ตามปกติ ซึ่งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแนวคิดจะมีความชัดเจนใน 2-3 เดือน และจะเริ่มใช้
ได้จริง ปี 2561 เนื่องจากต้องรอให้บริษัทจดทะเบียนปรับตัว และต้องคำนึงถึงการประชุมผู้ถือหุ้น เนื่องจากการออกหุ้นกู้จะต้องขอมติ
ที่ประชุม ผู้ถือหุ้น ต่อจากก่อนหน้านี้ ก.ล.ต.ได้ออกเกณฑ์ปรับเกณฑ์ดูแลตัวกลางและการเปิดเผยการขายต่อ ก.ล.ต.แล้ว เช่น
กำหนดให้บริษัท หลักทรัพย์ขายตราสารหนี้ที่ออกใหม่
  • หอการค้าไทย เผยนโยบายการค้า "ทรัมป์" ทำให้ไทยส่งออกไปสหรัฐฯเพิ่ม กว่า 2,500 ล้านบาท คาด "จีน"
กระอัก จากนโยบายสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 45% เผยสหรัฐฯ ต้องขึ้นภาษีนำเข้า เพื่อลดขาดดุลการค้าแนะไทย-อาเซียน เร่ง
ผลักดันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว อยู่ที่ระดับ 1.9% โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการเบื้องต้น
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) ด้วย
แรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะตัวเลขประมาณการการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวล
รวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 4 ของสหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อขายก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสสหรัฐใน ช่วงเช้าวันนี้เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย โดยดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 112.02 เยน จากระดับ 112.83 เยน ส่วนยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0604 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0582 ดอลลาร์

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (28 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำปิด
บวกติดต่อกัน 3 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะกล่าว
สุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสสหรัฐในช่วงเช้าวันนี้เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้เดินทางมาถึงยังสภาคองเกรสแล้วในวันนี้ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภา
คองเกรส โดยมีรองประธานาธิบดี โฆษกทำเนียบประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรีสหรัฐ พร้อมด้วยแขกรับเชิญ ซึ่งรวมถึงสมาชิกใน
ครอบครัวของประธานาธิบดีทรัมป์ได้เดินทางมาถึงยังสภาคองเกรสก่อนหน้าที่ทรัมป์จะกล่าวสุนทรพจน์เช่นกัน

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในการแถลงต่อสภาคองเกรสซึ่งถือเป็นครั้งแรกของนายทรัมป์ นับตั้งแต่ที่เขาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีนั้น ทรัมป์จะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลในการ แถลงต่อสภาคองเกรส

  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.
พ.โดยมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.พ.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนม.
ค. และรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ