ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.02 กลับมาแข็งค่าหลังมีแรงขายดอลล์ ตลาดจับตาถ้อยแถลงประธานเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 12, 2017 09:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.11 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังมีแรงเทขายดอลลาร์ ออกจากมีปัจจัยการเมืองของสหรัฐ

"บาทตีกลับมาแข็งค่าจากเย็นวานนี้ หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาจากปัญหาการเมืองสหรัฐ กรณีลูกชายทรัมป์ติดต่อกับ ทางการรัสเซียเพื่อช่วยเรื่องเลือกตั้ง เป็นปัจจัยที่เข้ามาแทรกก่อนที่จะมีถ้อยแถลงของเยเลนคืนนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.95-34.05 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 113.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 114.32 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1471 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1393 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.1090 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า แนะจับตานักลงทุนปรับพอร์ตตราสารหนี้ หลังธนาคารกลาง
หลายแห่งส่งสัญญาณลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • TISCO เผยผลประกอบการครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 2,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.7% พร้อมเดินหน้ารับโอนพอร์ตจาก
SCBT ครึ่งปีหลัง สำหรับภาวะหุ้นไทยวันที่ 11 ก.ค. ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ (ก.
ค.-ธ.ค. 60) มีแนวโน้มปรับขึ้นประมาณ 7-8 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมคาดการณ์ว่า จะปรับขึ้นกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจาก
ทิศทางค่าเงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้น
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรช่วงครึ่งปีแรก 2560 เพิ่มขึ้น 15.01%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 จากดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.68% ส่วนดัชนีราคาปรับเพิ่ม 4.86%
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยถึงแผนการตลาดท่องเที่ยวปี 61 ว่า ททท.วางแผน 3 กลยุทธ์
หลัก ได้แก่ เลือกเจาะตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ ทำแผนการตลาดด้วยการใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์ และการทำงานแบบบูรณาการร่วม
กันในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม มาใช้ในการผลักดันรายได้ด้านการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่ง
สูงกว่ารายได้ในปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 2.74 ล้านล้านบาทอยู่ 10%
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนพ.ค. โดยการปรับตัว
ขึ้นของสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งในเดือนพ.ค. ถือเป็นการพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 ก.ค.) จาก
แรงกดดันของข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐที่ไม่สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่
ระดับ 1.1475 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1408 ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่ระดับ 113.83 เยน จากระดับ
114.07 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (11 ก.ค.) โดยสัญญาทองคำปิดในแดนบวกติดต่อกัน 2 วันทำการ
เพราะได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายที่ซบเซาในตลาดหุ้นสหรัฐยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุน
แรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  • นักลงทุนจับตานางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดจะแถลงนโยบายการเงินรอบ
ครึ่งปีต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันพุธที่ 12 ก.ค. และจากนั้นจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินแห่งวุฒิสภาสหรัฐในวัน
พฤหัสบดีที่ 13 ก.ค.นี้

นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นางเยเลนจะแสดงมุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐและแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดใน อนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับตลาดแรงงานสหรัฐ หลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐขยายตัวอย่าง แข็งแกร่งเกินคาดในเดือนมิ.ย.

  • นักลงทุนจับตารายงานผลประกอบการของธนาคารรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงเจพีมอร์แกน และซิตี้กรุ๊ป ในสัปดาห์นี้ นอกจาก
นี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด),
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย., ยอดค้า
ปลีกเดือนมิ.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.
จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • นักลงทุนจับตาดูถ้อยแถลงของนายเบน บรอดเบนท์ รองผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เพื่อจับสัญญาณว่า

กรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ BoE มีแนวโน้มที่จจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้หรือไม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ