ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 33.71 แข็งค่าต่อเนื่อง เหตุ นลท.ไม่มั่นใจเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยตามกำหนดเดิม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 17, 2017 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.71 บาท/ดอลลาร์ จากเปิด ตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.73 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากปัจจัยต่างประเทศเรื่องตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 33.70-33.74 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อสหรัฐที่ทำให้ตลาดไม่มั่นใจเรื่องเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด ไว้" นักบริหารเงิน กล่าว

สัปดาห์นี้มีปัจจัยที่นักลงทุนจับตามอง คือ การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางยุโรป (ECB)

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.65-33.75 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ยังไม่หลุดแนวรับ 33.70 ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 25 เดือน ไม่แน่ใจว่าทางการเข้ามาดูแลหรือไม่" นัก

บริหารเงิน กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ 112.41 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 112.53 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1455 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1465 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,574.09 จุด ลดลง 3.70 จุด, -0.23% มูลค่าการซื้อขาย 31,690.08 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 562.55 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เผยยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พ.ค.60 มีจำนวน
6,347,824.38 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.90% ของ GDP แบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,912,277.61 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ
971,707.95 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 446,277.21 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ
17,561.61 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 79,903.50 ล้านบาท
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(GDP) ของไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเดิม 3.3% หลังประเมินการส่งออกในปีนี้จะฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเศรษฐกิจ
ของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป จีน และกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออก
ของไทยปีนี้จะเติบโตได้ 3.5% จากเดิมที่คาดไว้ 1.5%
  • "นิด้าโพล" เผยประชาชนส่วนใหญ่ 45.15% มีรายได้พอๆ กับรายจ่าย โดยประชาชนมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย
26,469.91 บาท ขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,606.75 บาท ทั้งนี้ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อย หรือ 51.65% มีเงินออมไว้
ใช้ โดยส่วนใหญ่ 48.79% ออมเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ 38.33% ออมเพื่อสำรอง
ไว้ใช้ในอนาคต 26.91% ออมไว้ให้บุตรหลานตลอดจนการศึกษาของบุตรหลาน 12.58% ออมเพื่อใช้ในระยะยาวช่วงหลังเกษียณอายุ
ขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่ 68.10% ระบุว่ามีหนี้สิน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนี้สินโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 565,302.88 บาท 59.47%
เกิดจากการซื้อ/ผ่อน/ชำระสินค้า การบริการ สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมา 35.46% เกิดจากการลงทุนในการประกอบอาชีพ
ดำเนินธุรกิจ กิจการ การเกษตร การค้าขาย ส่วนอีก 14.24% เกิดจากการเลี้ยงดูบุตรหลาน อีก 11.89% เกิดจากการเลี้ยงดู
บุคคลในครอบครัว และอีก 6.17% เกิดจากการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
  • บรรดานักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังไม่มีมติปรับลดวงเงินตามมาตรการผ่อนคลาย
เชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ โดยคาดว่าทางธนาคารกลางจะเริ่มปรับลดวงเงินดังกล่าวในการประชุมเดือนม.ค.ปี
หน้า และมีแนวโน้มว่าจะทยอยปรับลดในช่วงระยะเวลา 9 เดือน

ทั้งนี้ นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการประชุมของ ECB ในวันพฤหัสบดีนี้ โดยนักลงทุนต้องการหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ECB มีแนวโน้มที่จะปรับนโยบายการเงินในอนาคตหรือไม่

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2560 ขยายตัว 6.9%
ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับการขยายตัวในไตรมาสแรก ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัว 8.6% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
ส่วนการลงทุนด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากตลาดส่งสัญญาณชะลอความร้อน
แรง โดยขยายตัว 8.5% ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.ลดลงจากที่ขยายตัว 8.8% ในช่วง 5 เดือนแรก สำหรับยอดค้าปลีกขยายตัว
10.4% ในช่วงครึ่งปีแรก
  • ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดอินเตอร์แบงก์ มูลค่า 1.40 แสนล้านหยวน หรือ 2.06 หมื่นล้านดอลลาร์ใน
วันนี้ นับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องที่มากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยหลังจากแบงก์ชาติจีนได้อัดฉีดสภาพคล่องไปแล้วส่งผล
ให้ตลาดหุ้นจีนได้ปรับตัวลงในทันทีช่วงเปิดทำการซื้อขายเช้านี้
  • องค์การวิสาหกิจระหว่างประเทศของสิงคโปร์ (International Enterprise Singapore) เผยยอดส่งออก
สินค้าที่ผลิตในประเทศยกเว้นน้ำมัน พุ่งขึ้น 8.2% ในเดือน มิ.ย.เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า
จะขยายตัวเพียง 4.1% โดยยอดส่งออกสินค้าของสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือนในเดือน มิ.ย.ด้วยแรงขับ
เคลื่อนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก ซึ่งช่วยหนุนยอดส่งออกสินค้าหมวดดังกล่าวขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่
5.4% ในเดือน มิ.ย.เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่หากคำนวณโดยกำจัดปัจจัยฤดูกาลออกแล้วยอดส่งออกของสิงคโปร์เดือน มิ.ย.ปรับตัว
ลง 2.7% หลังจากขยายตัว 9.4% ในเดือน พ.ค.ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดส่งออกจะหดตัวลง 2.1% ในเดือน มิ.ย.
  • อังกฤษ และสหภาพยุโรป (EU) จัดการเจรจารอบที่ 2 ในประเด็นที่อังกฤษแยกตัวออกจากการเป็นสมาชิกของ EU
ที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ โดยนายเดวิด เดวิส รัฐมนตรีฝ่ายกิจการ Brexit จะเจรจาร่วมกับนายมิเชล บาร์นิเยร์ ตัวแทนเจรจา
ฝ่าย EU เป็นเวลา 4 วัน เพื่อหาข้อยุติประเด็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับ Brexit ทั้งนี้ในช่วง 1 เดือนหลังจากการเจรจารอบแรกนั้น ทั้ง
สองฝ่ายได้พยายามผลักดันแผน Brexit ที่ลงรายละเอียดให้มีความคืบหน้า เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และลดความเสียหายที่
อาจจะเกิดขึ้นทั้งกับอังกฤษและ EU หลังจาก Brexit

โดยการเจรจาครั้งนี้มุ่งเน้นในประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถอนตัวของอังกฤษ ซึ่งรวมถึงสิทธิของพลเมือง, ร่าง กฎหมายการออกจากการเป็นสมาชิก EU ของอังกฤษ และประเด็นชายแดนในไอร์แลนด์เหนือ โดยทาง EU เรียกร้องให้อังกฤษจ่าย เงิน 6 หมื่นล้านยูโร หรือ 7 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นค่าธรรมเนียมในการถอนตัวออกจาก EU

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยยอดการส่งออกสินค้าในเดือน มิ.ย.แตะ 1.164 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบ
กับสถิติเดือน มิ.ย.ปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 1.292 หมื่นล้านดอลลาร์
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผยการจ้างงานของจีนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยได้
รับแรงหนุนจากภาคบริการและการผลิตที่ขยายตัวขึ้น โดยในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.ปีนี้ การจ้างงานในเขตเมืองของจีนอยู่ที่ 7.35
ล้านตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบรายปี ขณะที่อัตราว่างงานในเขตเมืองทั่วประเทศและอัตราว่างงานใน 31
เมืองหลักยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 5% ในเดือน มิ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ