ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.24/26 อ่อนค่าหลังธปท.ออกมาปรามเรื่องการเก็งกำไร มองกรอบพรุ่งนี้ 33.17-33.32

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 21, 2017 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.24/26 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่ระดับ 33.20/23 บาท/ดอลลาร์

ช่วงบ่ายเงินบาทปรับลงไปแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 33.17/18 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก มาระบุว่าหากพบพฤติกรรมการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจโยงกับการ เก็งกำไร ก็อาจจะอาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเพื่อจำกัดโอกาสการเก็งกำไรค่าเงินบาท จึงทำให้เงินบาทปรับอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ ระดับปิดตลาด

"ช่วงบ่ายๆ บาทแข็งค่าไปที่ระดับ 33.17/18 แต่พอแบงก์ชาติออกมาปรามๆ ว่าถ้าพบเห็นการทำธุรกรรมที่ผิดปกติของ Non-resident ที่เกี่ยวกับการเก็งกำไร ก็อาจจะออกมาตรการดูแลเพิ่มเติม จึงทำให้เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง" นักบริหารเงิน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.17 - 33.32 บาท/ดอลลาร์ พร้อมมองว่าในช่วง ปลายสัปดาห์นี้คงต้องจับตาการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล วันที่ 24-26 ส.ค.นี้ ว่าประธานเฟดจะให้มุมมองในการดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.02/07 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1741/1744 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,569.62 จุด เพิ่มขึ้น 3.09 จุด (+0.20%) มูลค่าการซื้อขาย 36,270 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,032.91 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 60 เป็นขยายตัว 3.5-4.0% จากเดิมที่คาดไว้ในช่วง 3.3-3.8% หลังจากไตรมาส 2/60
เศรษฐกิจขยายตัวถึง 3.7%

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ได้ปรับสมมติฐานในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยทั้งปีนี้มาเป็นระดับ 34-35 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า ขึ้นจากเดิมที่เคยมองไว้ที่ระดับ 35-36 บาท/ดอลลาร์ แต่เชื่อว่าปัจจัยเรื่องเงินบาทที่แข็งค่านั้น จะไม่ส่งผลกระทบอย่างเป็นอันตราย ต่อการส่งออกของไทยในปีนี้

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ขยายตัว 3.7% เทียบกับระยะเดียว
กันปีก่อน หรือ 1.3% จากไตรมาสก่อนที่ สศช.แถลงสูงกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกสินค้าและ
บริการที่ขยายตัวเร่งขึ้น สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้น และการใช้จ่ายภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่
ขยายตัวดีกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้
  • ธปท. เห็นสัญญาณการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่หนาแน่นกว่าปกติในบางช่วง จึงขอให้สถาบันการเงินรายงาน
ข้อมูลเพิ่มเติม หาก ธปท.พบพฤติกรรมการโอนเงินบาทระหว่างบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ที่ผิดปกติซึ่งอาจ
โยงกับการเก็งกำไร ก็อาจจะอาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเพื่อจำกัดโอกาสการเก็งกำไรค่าเงินบาท
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2560 เติบโต
3.6% จากเดิมที่ 3.4% ตามมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยหนุนการส่งออกสินค้าให้ฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2560 GDP ไว้ที่ 3.4% ถึงแม้ตัวเลข GDP ของไทยในช่วง
ครึ่งปีแรกขยายตัวดีกว่าที่คาด ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้ GDP ตลอดทั้งปี 2560 ขยับเข้าใกล้กรอบบนของประมาณการ (3.0-3.6%) แต่
เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการส่งออกที่ได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ผลกระทบจาก
ภาวะน้ำท่วมที่อาจจะเป็นแรงกดดันกำลังซื้อเพิ่มเติม
  • กระทรวงพาณิชย์จีน ออกแถลงการณ์แสดงความไม่พอใจ หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ได้สั่งการ
ผู้แทนการค้าสหรัฐดำเนินการตรวจสอบนโยบายการค้าจีน โดยแถลงการณ์จากกระทรวงพาณิชย์จีน ระบุว่าทางการจีนจะใช้มาตรการ
ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศตามความเหมาะสม และหวังว่าสหรัฐจะเคารพข้อเท็จจริงและดำเนินการอย่างรอบคอบ
  • สำนักงานศุลกากรเกาหลีใต้ (KCS) รายงานว่า มูลค่าการส่งออกระหว่างวันที่ 1-20 ส.ค. เพิ่มขึ้น 11.6% เทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว สู่ระดับ 2.51 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีปัจจัยหนุนได้แก่อุปสงค์เซมิคอนดักเตอร์ และผลิตภัณฑ์น้ำมันที่เพิ่ม
ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
  • สัปดาห์นี้มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้ สหรัฐฯ รายงานราคาบ้านเดือนมิ.ย., ดัชนีราคาบ้านเดือนมิ.

ย., สหภาพยุโรปรายงานความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซนเดือนส.ค., สหภาพยุโรป รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.,

อังกฤษ รายงาน GDP ไตรมาส 2, ญี่ปุ่นรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.ค. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ