ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.36/38 อ่อนค่า กังวลไทยขาดดุลการค้าต่อเนื่อง คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.35-33.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 23, 2017 17:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.36/38 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.23 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า หลังกระทรวงพาณิชย์ประกาศภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยใน เดือน ก.ค.60 แล้วพบว่ากลับมาขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และยังมีแนวโน้มว่าจะขาดดุลการค้าต่อเนื่องไปอีก 2- 3 เดือนต่อจากนี้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35-33.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.33/35 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.69 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1781/1782 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1754 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,573.38 จุด เพิ่มขึ้น 0.19 จุด (+0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 35,734 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,024.77 ล้านบาท(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ก.ค.60 พบว่า การส่งออกมีมูลค่า
18,852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.5% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,040 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 18.5% ส่งผลให้ใน
เดือน ก.ค.60 ขาดดุล 188 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ใหม่เป็นระดับ 6% เพราะเชื่อว่าการส่งออกในช่วงที่ เหลือของปีนี้จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญ แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยนโยบาย ดอกเบี้ยและมาตรการ QE ของประเทศใหญ่ ส่วนกรณีเงินบาทแข็งค่าเชื่อว่าเป็นปัจจัยระยะสั้น และไม่น่าจะมีผลต่อมูลค่าการส่ง ออกอย่างมีนัยสำคัญ

  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค.60 อยู่ที่
ระดับ 83.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 84.7 ในเดือน มิ.ย.60 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยมีหลายปัจจัยที่ส่ง
ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้แก่ ความกังวลต่อการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ขณะที่ภาครัฐยัง
ไม่มีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ประกอบกับในเดือนก.ค.มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ เป็นอุปสรรคต่อภาคการผลิตและการขนส่งสินค้า รวมทั้งความกังวลต่อปัญหาต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนแรง
งาน และการแข็งค่าของเงินบาทที่กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออกโดยเฉพาะรายเล็ก
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการมูลค่าการส่งออกทั้งปี 2560 เป็น
ขยายตัว 5.5% จากเดิมที่ 3.5% เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งสหรัฐฯ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตลอด
ปีนี้ ประกอบกับความกังวลทางการเมืองในยุโรปที่ลดลง ซึ่งจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับการค้าและการลงทุน และส่งผลต่อเนื่องถึง
ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจากไทยให้ฟื้นตัวได้ต่อในช่วงที่เหลือของปี
  • นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมเศรษฐกิจว่า นโยบายการเงิน
ที่ดีต้องเป็นโยบายที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ พร้อมระบุว่างานวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของมาตรการผ่อน
คลายเชิงปริมาณ (QE) และสัญญาณชี้นำล่วงหน้า (Forward Guidance) ที่ทางธนาคารได้นำมาใช้
  • ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาค
การผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน อยู่ที่ 55.8 ในเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 55.7 ในเดือนก.ค. และยังทำสถิติ
สูงสุดในรอบ 2 เดือน ทั้งนี้ เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีปัจจัยกระตุ้นในเดือนส.ค. โดยมียอดผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับเดือนที่
ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการผลิตในภาคการผลิตด้วย ขณะที่กิจกรรมภาคบริการแผ่วลง
  • นักลงทุนจับตาการประชุมเศรษฐกิจประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวัน
ที่ 24-26 ส.ค.นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อดูว่านางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟด จะส่งสัญญาณอะไรเกี่ยวกับนโยบายการเงินในระหว่าง
การกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมครั้งนี้หรือไม่ เช่นเดียวกับนายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) และนายฮารุฮิโกะ
คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งจะเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกเช่นกัน
  • สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต

เบื้องต้นเดือน ส.ค.โดยมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือน ส.ค.โดยมาร์กิต, ยอดขายบ้านใหม่

เดือน ก.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือน ก.ค. และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ