ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 33.12 คาดพรุ่งนี้ Sideway มองกรอบ 33.08-33.15

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 21, 2017 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.12 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.13 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเริ่มปรับมาเป็นอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ออกมาส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในปีนี้ ซึ่งทำให้ดอลลาร์สหรัฐปรับ ตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ เงินบาทจึงเริ่มกลับมายืนอยู่เหนือระดับ 33.10 บาท/ดอลลาร์ได้

สำหรับวันพรุ่งนี้คาดว่าเงินบาทคงจะยัง sideway แต่ sentiment ปรับดีขึ้น ทั้งนี้ ตลาดคงรอดูปัจจัยสัปดาห์หน้าที่ โฆษกรัฐบาลสหรัฐจะออกมาเปิดเผยแผนการปฏิรูปด้านภาษี ว่าจะมีความก้าวหน้าจริงหรือไม่ หากมีความก้าวหน้าก็มีโอกาสที่ดอลลาร์ สหรัฐจะแข็งค่าไปได้ต่อ ประกอบกับสัปดาห์หน้าเป็นช่วงสิ้นเดือนที่มักจะมีความต้องการสกุลดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.08-33.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.46 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.48 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1911 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1873 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,670.49 จุด ลดลง 0.16 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 54,494 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 122.96 ล้านบาท(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ส.ค.60 โดยการส่งออกมีมูลค่า 21,224
ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.2% สูงสุดในรอบ 55 เดือน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,134 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.9% ส่ง
ผลให้ดุลการค้าการเดินราว 2,090 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปี 60 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า
153,623 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.9% นำเข้ามีมูลค่า 144,750 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 15.4% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุ
ลา 8,873 ล้านเหรียญสหรัฐ

พร้อมมั่นใจว่าการส่งออกทั้งปีนี้ จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 7% อย่างแน่นอน ในขณะที่ภาวะเงินบาทแข็งค่าไม่ได้ส่งผล กระทบต่อการส่งออกโดยรวมในปีนี้มากนัก เนื่องจากผู้ส่งออกมีคำสั่งซื้อ และการ Quote ราคาไว้ล่วงหน้าแล้ว

  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กล่าวว่า กรณีที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติ
คงอัตราดอกเบี้ย Fed funds ไว้ในช่วง 1.00-1.25% ตามความคาดหมาย โดยเฟดคาดว่าจะเริ่มปรับลดการถือครองพันธบัตร
สหรัฐฯ และหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกันวงเงิน 4.2 ล้านล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม ท่าทีล่าสุดของเฟดจะช่วยชะลอการแข็ง
ค่าของเงินบาทได้บ้าง การไหลเข้าของเงินทุนสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทยจึงน่าจะมีแนวโน้มลดลง

สำหรับปัจจัยชี้นำสำคัญถัดไป ตลาดจะให้ความสนใจกับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยใน วันที่ 27 ก.ย. รวมทั้งความคืบหน้าของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสำคัญจากรัฐบาลทรัมป์ อาทิ การปฏิรูปภาษี และการลงทุนขนาด ใหญ่ การเจรจา Brexit ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ส่วนความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี ในระยะหลังส่งผล กระทบต่อตลาดอย่างจำกัด แต่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม

  • TMB Analytics คาดการณ์ว่า ในไตรมาส 3/60 สัดส่วน NPL จะแตะจุดสูงสุดที่ 3% ของสินเชื่อคงค้าง คิดเป็น
มูลค่ากว่า 4.3 แสนล้านบาท โดยกว่า 80% ของ NPL มาจากลูกค้า SME ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายและการเกษตรเป็น
หลัก รวมไปถึงสินเชื่อรายย่อย นำโดยสินเชื่อบ้าน ขณะที่ในไตรมาส 4/60 นี้ NPL จะลดลงมาใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 2.83% จาก
ปัจจัยการจัดการของธนาคารพาณิชย์ซึ่งเร่งแก้ไขปัญหา NPL โดยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ ขายหนี้เสียให้บริษัทบริหารสินทรัพย์
หรือตัดหนี้สูญทางบัญชี

สำหรับในปี 61 ด้วยมุมมองเศรษฐกิจที่เติบโตได้ 3.8% เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่ทำให้สินเชื่อกลับมาเติบโตด้วยคุณภาพที่ ดีขึ้นอีกครั้งโดยเฉพาะในธุรกิจขนาดใหญ่ จากการที่สัญญาณการลงทุนกลับมาดีขึ้นจากภาคการส่งออกฟื้นตัวต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วน ช่วยผลักดันให้ NPL ของธุรกิจขนาดใหญ่ลดลงได้ ในส่วนของ SME และรายย่อย ยังต้องรอจังหวะการฟื้นตัวจากการบริโภคภาค เอกชน ด้วยปัจจัยราคาสินค้าเกษตรเป็นตัวแปรสำคัญ กอปรกับมาตรการของ ธปท.ที่ออกมาควบคุมการก่อหนี้ใหม่ สำหรับบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยจำกัดรายได้ขั้นต่ำ ซึ่งจะช่วยให้การก่อตัวของ NPL มีแนวโน้มลดลง

  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงรุก ในการประชุมวันนี้ พร้อมประกาศว่าจะเดินหน้า
ความพยายามในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% พร้อมกันนี้ BOJ จะยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาล โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตรา
ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระยะยาวให้เคลื่อนไหวใกล้ระดับ 0% นอกจากนี้ BOJ ยังมีมติมติคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1%
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) รายงานว่า เกาหลีใต้อาจจะเผชิญกับความไม่แน่นอนของกระแสเงินทุนต่างประเทศ
หมุนเวียนทั้งขาเข้าและขาออกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์การเมืองเหนือคาบสมุทรเกาหลี ท่ามกลางความ
เปลี่ยนแปลงที่สามารถคาดการณ์ได้เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักๆ พร้อมระบุว่า หนี้ภาคครัวเรือนที่ขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วถูกชดเชยด้วยรายได้ของบริษัทที่ปรับตัวสูงขึ้น และความมั่นคงทางการคลังของสถาบันการเงิน ซึ่งบ่งชี้ถึงความยืดหยุ่น
ของระบบการเงินเกาหลีใต้
  • บริษัท S&P Global Ratings ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศปรับลดอันดับความ
น่าเชื่อถือระยะยาวของจีนลง 1 ขั้น จาก "AA-" สู่ "A+" โดยระบุถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการปล่อยสินเชิ่อที่มากขึ้นของจีน โดย
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนถึงการประเมินที่ว่าการขยายตัวด้านสินเชื่อที่แข็งแกร่งของจีน ได้เพิ่มความเสี่ยงทาง
ด้านเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ อย่างไรก็ดี S&P ระบุว่า แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของจีนยังคงมีเสถียรภาพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ