(เพิ่มเติม) สบน. แจงแผนบริหารหนี้สาธารณะปีงบฯ 61 วงเงิน 1.5 ล้านลบ. คาดหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 42.7%

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 29, 2017 13:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานข่าวจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ได้มีมติ อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2561วงเงินรวม 1,502,977.06 ลบ. ได้แก่ แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 582,026.28 ลบ. และแผนการบริหารหนี้เดิม วงเงิน 920,950.78 ลบ. และรับทราบแผนการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้อง ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบแผนฯ วงเงิน 161,433.45 ลบ.ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

          รายการ                    ในประเทศ          วงเงินต่างประเทศ          รวม
1.การก่อหนี้ใหม่                       632,182.28           19,755.99         651,938.27
  1.1 รัฐบาล                        507,250.69            8,304.00         515,554.69
  1.2 รัฐวิสาหกิจ                      66,471.59                0.00          66,471.59
  1.3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติครม.
      ภายใต้กรอบแผนฯ                 58,460.00           11,451.99          69,911.99
  1.4 หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ต้องขออนุมัติ
      ครม.ภายใต้กรอบแผนฯ                  0.00                0.00               0.00
2.การบริหารหนี้เดิม                    843,776.63          168,695.61       1,012,472.24
  2.1 รัฐบาล                        596,755.98           96,819.79         693,575.77
      - การปรับโครงสร้างหนี้           596,755.98            5,250.00         602,005.98
      - การบริหารความเสี่ยง                 0.00           91,569.79          91,569.79
  2.2 รัฐวิสาหกิจ                     204,076.65           23,298.36         227,375.01
      - การปรับโครงสร้างหนี้           204,076.55              646.90         204,723.55
      - การบริหารความเสี่ยง                 0.00           22,651.46          22,651.46
  2.3 รัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติ ครม.
      ภายใต้กรอบแผนฯ                 42,944.00           48,577.46          91,521.46
      - การปรับโครงสร้างหนี้            14,250.00                0.00          14,250.00
      - การบริหารความเสี่ยง            28,694.00           48,577.46          77,271.46
          รวม                    1,475,958.91          188,451.60       1,664,410.51

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณ พบว่ายังคงอยู่ภายใต้กรอบ ความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้ไม่เกิน 60% และไม่เกิน 15% ตามลำดับ โดยระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบ ประมาณ ณ สิ้นปี 2561 - 2565 เป็นดังนี้

                                                            ปีงบประมาณ
          สัดส่วน (%)                              2561     2562     2563     2564     2565
หนี้สาธารณะคงค้าง / GDP                             42.7     44.8     46.9     48.6     49.6
ภาระหนี้ / งบประมาณ                                 9.0      9.3      9.7     10.3     10.7

นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สบน.กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้ สาธารณะได้เห็นชอบกลยุทธ์การบริหารหนี้ระยะกลางโดยกำหนดเป้าหมายสัดส่วนหนี้ระยะกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ 2561-2565) และตัวชี้วัด 1 ปี คือปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้สามารถระดมทุนได้ครบเต็มจำนวน มีต้นทุนการกู้เงินต่ำในระยะยาวและอยู่ภายใต้ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีตัวชี้วัดความเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การกู้ใหม่ควรปิดความ เสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทันที, ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เช่น คงสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่ต่ำกว่า 85 % ของหนี้ทั้ง หมด และความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายอายุเฉลี่ยของหนี้รัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 14 ปี คงสัดส่วนหนี้ที่ครบ กำหนดชำระใน 1 ปี ให้อยู่ในกรอบ 10-14 % และคงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 3 ปี ให้อยู่ในกรอบ 25-30 % ของหนี้ทั้งหมด

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารหนี้รัฐวิสาหกิจภายใต้หลักการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset-Liability Management : ALM) โดยบริหารกระแสเงินสดจากสินทรัพย์และหนี้สินให้สอดคล้องกัน เนื่องจากความเสี่ยง ด้านหนี้ของรัฐวิสาหกิจอาจส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งรวมถึงภาระในการชำระหนี้แทนและการให้เงินอุด หนุนแก่รัฐวิสาหกิจ การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมจะช่วยลดความผันผวนของภาระหนี้และลดความเสี่ยงต่อภาระทางการคลังของ รัฐบาล โดยรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งควรมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ด้านอัตราดอกเบี้ยและการปรับ โครงสร้างหนี้

“แนวทางดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการชัดเจนในปีหน้า และที่ผ่านมา สบน.ได้เริ่มมีการประสานกับรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ในการเข้าไปให้คำแนะนำ ประชุม หารือ ชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การพัฒนาแนวทางการบริหารหนี้รัฐ วิสาหกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนการบริหารหนี้ของรัฐบาลนั้น ที่ผ่านมาได้มีการบริหารจัดการไปเยอะแล้ว ทำให้พอร์ตของรัฐบาลค่อนข้างปลอดภัย” นายธีรัชย์ กล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ