ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.61 แข็งค่าจากช่วงเช้า รับเม็ดเงินไหลเข้า ตลาดรอตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 6, 2017 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.61 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.64 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้าประเทศ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวตามภูมิภาคในกรอบ 32.57-32.67 บาท/ดอลลาร์

"บาทปิดตลาดแข็งค่าต่อเนื่อง โดยมี flow ทั้งสองด้าน ระหว่างวันลงไปแข็งค่าที่ 32.57 ก่อนที่จะมีแรงซื้อบาทเข้ามา ทำให้บาทอ่อนค่ากลับมายืนเหนือ 32.60 แต่ไม่แน่ใจว่าทางการเข้าไปแทรกแซงหรือไม่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.60-32.70 บาท/ดอลลาร์

คืนนี้จะมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐฯ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ 112.12 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.43 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1825 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1821 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,694.39 จุด ลดลง 3.22 จุด, -0.19% มูลค่าการซื้อขาย 65,468.38 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,319.55 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุภาคเอกชนหวังว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะ
เข้ามาดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป โดยขณะนี้เงินบาทแข็งค่าสูงกว่า Dollar Index น่าจะเป็นผลจากการไหลเข้าของเงิน
ทุนต่างประเทศในระยะสั้นซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลดี
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) คาดเงินบาทจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินจะไหลออก
จากนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนโยบายการปฏิรูปภาษีของทรัมป์ ส่วนสาเหุตที่เงินบาทใน
ระยะนี้แข็งค่าขึ้นนั้นคาดว่าเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวจากความไม่มั่นใจนโยบายลดภาษีของทรัมป์เป็นสำคัญที่ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐ
อ่อนค่าลง
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 61 น่าจะเร่งตัวขึ้นจากปีนี้ จากภาคการ
ส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนน่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องหลังจากอ่อนแอมาหลายปี จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนจาก
เสถียรภาพทางการเมือง โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 61 จะเติบโต 4% จากปี 60 ที่คาดว่าจะโต 3.9% ส่วนการส่งออกไทย
ในปี 61 คาดว่าจะเห็นการเติบโตในระดับฐานที่ต่ำ ซึ่งคาดว่าจะเติบโตได้ 4.5% จากปีนี้ที่การส่งออกไทยจะเติบโต 8-9%

ขณะที่มองว่า ปีทองที่แท้จริงของประเทศไทยน่าจะเป็นปี 2562 เนื่องจากเป็นปีที่ได้ผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว ซึ่งน่าจะทำ ให้ประชาชนกลับมามีการจับจ่ายใช้สอย บริโภค หรือลงทุนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศสามารถขับเคลื่อนงานไปได้ จากสิ่งที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้วางโครงการไว้

  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดว่า มีความเป็นไปได้ที่การส่งออกของไทยในปี 60 จะขยาย
ตัวได้ประมาณ 9% หลังจากที่ 10 เดือนแรกของปี 60 (ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกขยายตัวสูงถึง 9.7% โดย กกร.มีความเป็นห่วง
ว่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วเกินไป อาจจะไม่เป็นผลดีต่อภาคการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป
  • ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก คาดการณ์ว่า การส่งออกของไทยในปี
2560 จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 8.5-9% ขณะที่ปี 61 คาดว่าการส่งออกจะโตได้ราว 5%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%
จากระดับ 1.00-1.25% เป็น 1.25-1.50% ในการประชุมนโยบายการเงินรอบสุดท้ายของปีนี้ แต่สำหรับผลต่อประเทศไทย การ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในครั้งนี้ไม่น่าจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่อท่าทีในการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ตลอดจน
สร้างแรงกดดันต่อตลาดการเงินไทยมากนัก เนื่องจากตลาดการเงินได้รับรู้ข้อมูลที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ไปมาก
แล้ว
  • เจ้าหน้าที่กำกับดูแลภาคธนาคารจีนเปิดเผยว่า จีนจะเพิ่มความเข้มงวดในตลาดการเงินมากขึ้นและเอาจริงกับ
กิจกรรมทางการเงินต่างๆที่ผิดกฎหมาย
  • คณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาสหรัฐให้การอนุมัตินายเจอโรม พาวเวล ดำรงตำแหน่งประธานธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวานนี้ และจะมีการจัดการประชุมเพื่อลงมติให้การรับรองนายพาวเวลโดยวุฒิสภาเต็มคณะอย่างเป็นทางการ
ต่อไป
  • ตลาดการเงินต่างจับตาการประชุมของสภาคองเกรสสหรัฐในวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค.นี้ว่า จะอนุมัติงบประมาณการใช้จ่าย

เพื่อให้รัฐบาลมีงบประมาณในการบริหารประเทศหลังจากวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค.นี้หรือไม่ ซึ่งหากสภาคองเกรสให้การอนุมัติ ก็จะช่วยให้

รัฐบาลสามารถหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐ หรือชัตดาวน์ได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ