ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.47 ระหว่างวันผันผวน หลังกนง.คงดอกเบี้ย ตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 14, 2018 17:49 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 31.47 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.44 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันค่อนข้างผันผวน วิ่งในกรอบ 31.37-31.47 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันผันผวน และมีทิศทางจะผันผวนมากขึ้นหลังผลกนง.ออกมา โดยคาดว่าแรงซื้อและแรงขายดอลลาร์ในตลาด โลกน่าจะสลับกัน อย่างไรก็ตาม คืนนี้จะมีปัจจัยสำคัญคือตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งดีขึ้นและแย่ลง ซึ่งไม่ว่าจะออกมา ทางไหนปฏิกิริยาของตลาดน่าจะแรง"นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.40 - 31.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.45 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.66 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2346 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.2355 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,792.09 จุด ลดลง 7.94 จุด, -0.44% มูลค่าการซื้อขาย 49,557.06 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,902.40 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ
1.50 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบัน มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
และเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ แม้อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่ง
หลังของปี 2561 โดยรูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยภาคส่งออกเป็นหลักในปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มจะก้าว
ไปสู่การขยายตัวที่กระจายในทุกภาคส่วนมากขึ้นในปีนี้
  • นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานอีก 1
ชุด ทำหน้าที่ในการวางกรอบกฏหมายใหม่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมดิจิทัลในอนาคต โดยมีตนเป็นประธานคณะกรรมการ
และมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษา ซึ่งคณะกรรมการจะ
ประกอบด้วย ตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • บริษัท PwC ประเทศไทย เผย "ผลสำรวจความเชื่อมั่นซีอีโอโลก" พบผู้นำธุรกิจทั่วโลกเกินกว่าครึ่ง หรือ 57% มี
ความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (Global economic growth) ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปี หลังแนว
โน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศหลักเริ่มสดใส แต่เป็นห่วงว่างานในสายธนาคารและตลาดทุนมีทีท่าว่าจะสูญหายไปด้วย สืบเนื่องจากการ
เข้ามาของเทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติ
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ภาพรวมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในปี 2560 ชะลอลงมาอยู่ที่ 6.0% จาก
ในปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ 7.6% สำหรับในปี 2561 แม้ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคงฟื้นตัวขึ้นตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวและแรง
ผลักจากการทำตลาดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราการขยายตัวของสินเชื่อยังคาดว่าอยู่ในกรอบจำกัดประมาณ 6.0-
7.0% เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน โดยหนึ่งในปัจจัยกดดันที่สำคัญ คือ ประเด็นด้านคุณภาพหนี้ ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการใช้
นโยบายการปล่อยสินเชื่อที่ระมัดระวังต่อเนื่อง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ สถาบันการเงินจะให้บริการเรียกเก็บเงิน (Request to Pay) ผ่าน
ระบบพร้อมเพย์ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป
  • นักลงทุนจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนม.ค.ในวันนี้ เวลา
20.30 น.ตามเวลาไทย ขณะที่นายทอม เอสเซย์ ผู้ก่อตั้งเดอะ เซเวนส์ รีพอร์ท กล่าวว่า ตัวเลข CPI ที่จะมีการเปิดเผยในนี้ จะ
เป็นตัวเลข CPI ที่มีความสำคัญที่สุดในรอบ 10 ปี โดยหากดัชนี CPI ปรับตัวมากขึ้นกว่าการคาดการณ์ ก็จะเป็นปัจจัยทำให้ธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อการทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายปีของ
ตลาดหุ้นในขณะนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ