ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.33 กลับมาแข็งค่าในรอบ 51 เดือน หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 15, 2018 09:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.33 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงปิดตลาดวานนี้ที่ระดับ 31.47 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร และเงินทุนต่างประเทศไหลกลับเข้ามาใน ตลาดเกิดใหม่อีกครั้ง

"บาทกลับมาแข็งค่าในรอบ 51 เดือน เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ทำกำไร หลังกลับมาฟื้นตัวแข็งค่าในช่วงสั้นๆ ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหลกลับเข้ามาในตลาดเกิดใหม่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.25-31.35 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ต้องจับตาดูทิศทางของ fund flow ถ้ามีแรงไหลกลับเข้ามาก็จะส่งผลให้บาทแข็งค่าได้อีก" นักบริหารเงิน กล่าว

THAI BAHT FIX 3M (14 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 0.82688% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (14 ก.พ.) อยู่ที่ระดับ 1.01844%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.63 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.45 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2464 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2346 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.4130 บาท/
ดอลลาร์
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ก.
พ.) เนื่องจากนักลงทุนซึมซับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค. โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนี
ราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวน ซึ่งส่ง
ผลให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย โดยทางการสหรัฐระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน
ม.ค. แต่ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.ร่วงลงหนักสุดในรอบเกือบ 1 ปี นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อ
เทียบกับสกุลเงินหลัก โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 27.6 ดอลลาร์ หรือ
2.1% ปิดที่ 1,358.00 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐ
เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานในตลาดโลก โดยสัญญาน้ำมันดิบ
WTI ส่งมอบเดือนมี.ค. พุ่งขึ้น 1.41 ดอลลาร์ หรือ 2.4% ปิดที่ 60.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน
เม.ย. เพิ่มขึ้น 1.64 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 64.36 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการจำนองลดลง
4.1% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ โดยได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุด
ในรอบ 4 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยเพื่อการจำนองแบบคงที่ระยะเวลา 30 ปี สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 453,100 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น
สู่ระดับ 4.57% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2557

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการจำนองได้ดีดตัวขึ้นตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จาก ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้น และจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะถอนตัวจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่าม กลางภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

  • เจพีมอร์แกน รายงานว่า ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสแรก สู่ระดับ 2.5%
จากเดิมที่คาดไว้ที่ระดับ 3.0% หลังการเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ซบเซา พร้อมคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนม.ค.
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พุ่งขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 0.3% ก่อนหน้านี้ ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI
ทรงตัวที่ระดับ 2.1% ในเดือนม.ค. โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1.9% การพุ่งขึ้นของดัชนี CPI ได้แรงหนุนจากการดีด
ตัวของราคาอาหาร, น้ำมันเบนซิน, ค่าเช่า และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสุขภาพ

แต่หากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดัชนี CPI พื้นฐานพุ่งขึ้น 0.3% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็น การดีดตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีที่แล้ว และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 0.2%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ